บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
-----------
1. ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาล
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
ชื่อผู้วิจัย นางสาวศิริญาพร เวียงสมุทรช์
2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
​ในการจัดการศึกษา 4.0 ที่เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ ที่มีอยู่ทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมหรือผลงานนั้น ต้องพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและทักษะที่เหมาะสมกับประเทศไทย 4.0 ซึ่งไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2559 : 8) ได้เสนอว่า การจัดการศึกษาจำเป็นต้องเน้นที่การคิดสร้างสรรค์ แล้วแปรความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นผลผลิตออกมา แต่การที่จะมีความคิดสร้างสรรค์ได้จะต้องคิดวิเคราะห์ก่อน และเมื่อมีผลผลิตแล้วจะต้องรับผิดชอบตามมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาไทย 4.0 จึงต้องจัดการศึกษาให้เด็กไทยมีคุณลักษณะ 4 ประการ คือ คิดวิเคราะห์ (Critical) คิดสร้างสรรค์ (Creative) คิดผลิตภาพ (Productivity) และคิดรับผิดชอบ (Responsible) หรือ CCPR Model เป็นคุณลักษณะและทักษะของผู้เรียนในยุค 4.0 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1) คิดวิเคราะห์ ผู้ที่มีจิตคิดวิเคราะห์จะมองสังคมอย่างรอบด้าน รู้ที่มาที่ไปของปัญหา
ในสังคมและเข้าใจเหตุผลที่มาที่ไปของสิ่งนั้นอย่างชัดเจน 2) คิดสร้างสรรค์ ผู้ที่มีจิตสร้างสรรค์นั้น จะคำนึงถึงความคิดใหม่และการต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ มองเห็นประโยชน์และการใช้สอย และการมองของใหม่เพิ่มเติม 3) คิดผลิตภาพ ผู้ที่มีจิตผลิตภาพจะคำนึงถึงผลผลิตเป็นหลัก จะมีวิธีการในการสร้างผลผลิต สร้างค่าของงานอยู่เสมอ และมีสำนึกที่จะสร้างผลงานขึ้นมาใหม่ ๆ 4) คิดรับผิดชอบ ผู้ที่มีจิตรับผิดชอบจะมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกสาธารณะรับผิดชอบต่อวิชาชีพ นึกถึงสังคมประเทศชาติ
​โครงงานเป็นวิธีการเรียนรู้ที่เกิดจากความสนใจใคร่รู้ของนักเรียนที่อยากจะค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลาย ๆ สิ่งที่สงสัยหรืออยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้งชัดเจน หรือต้องการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้ทักษะกระบวนการและปัญญาหลาย ๆ ด้าน มีวิธีศึกษาอย่างเป็นระบบ และมีขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด และลงมือปฏิบัติตามที่วางแผนไว้จนได้ข้อสรุปหรือผลการศึกษาหรือคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน(Project Based Learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นๆไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบโดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่นักเรียนอย่างใกล้ชิดใน 7 ขั้นตอน คือ 1) การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า 2) การวางแผนในการทำโครงงาน 3) การลงมือปฏิบัติทำโครงงาน 4) การบันทึกผลการปฏิบัติงาน 5) การเขียนรายงาน 6) การนำเสนอโครงงาน 7) การประเมิลผลโครงงานซึ่งอาจทำเป็นบุคคลหรือเป็นกลุ่มโครงงาน (ลัดดา ภู่เกียรติ. 2552 : 22) โครงงานจึงเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ดี ซึ่งต่างจากการกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแบบอื่นๆ โดยใช้ข้อเท็จจริงของโครงงานเป็นจุดศูนย์กลางการเรียนรู้ โครงงานที่ดีนั้นต้องสามารถอธิบายข้อเท็จจริงของปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ การเรียนรู้ด้วยซึ่งโครงงานจะต้องใช้แหล่งข้อมูล หรือแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้า สืบสอบแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ พร้อมทั้งผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารเพื่อปรึกษาหารือกันได้ตลอดเวลาลักษณะต่างๆ ของแหล่งข้อมูล หรือแหล่งเรียนรู้ดังกล่าว จะมีอย่างครบถ้วนอยู่บนเว็บ ดังนั้น เมื่อนำเอาวิธีการสอนแบบโครงงานมาจัดการเรียน การสอนบนเว็บ ยิ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของการสอนแบบโครงงานสูงขึ้น
​การพัฒนารูปแบบ วิทยา อารีราษฎร์ (2549 : 69) ได้นำเสนอการดำเนินงานการพัฒนารูปแบบการสอน คือ (1) การวิเคราะห์ เป็นการศึกษาสภาพปัญหาของงานวิจัย ศึกษาเอกสารรายงาน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญญา แล้วรวบรวม สรุปผลและเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย (2) การออกแบบ เป็นการนำกรอบแนวคิดในการวิจัยที่ได้จากการวิเคราะห์มากำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรูปแบบได้แก่ คำจำกัดความ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และเครื่องมือในการประเมินผล (3) การพัฒนา เป็นการสังเคราะห์รูปแบบตามที่ได้ออกแบบไว้ และนำไปประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ (4) การทดลองใช้ เป็นการนำรูปแบบที่ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว มาใช้เป็นแบบในการพัฒนา และ (5) การประเมินผลเป็นการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทดลอง เพื่อสรุปผลจากการศึกษาแนวคิดและกระบวนการของการวิจัยและพัฒนา R and D (Research and Development) ดังกล่าวสรุปได้ว่า การวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนที่สำคัญคือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) : การพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ขั้นตอน ที่ 3 การวิจัย(Research: R2) : การทดลองใช้ และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) : การประเมินและปรับปรุงแก้ไข สำหรับนำไปใช้ในการพัฒนารูปแบบตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยการสร้างเป็นโมเดลเป็น PACE Model ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่ P = การวางแผน เป็นการวางแผนในการดำเนินงาน A = การปฏิบัติ ให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่ได้วางไว้ C = การนำทฤษฎี การสร้างความรู้สู่การพัฒนา และ E = การประเมินผลในการพัฒนาต่อไป
​จากการศึกษาสภาพปัญหา พบว่า ครูขาดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้นักเรียนไม่ได้ฝึกทักษะ นักเรียนขาดในการวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ ไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ เนื่องจากวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูไม่สอดคล้องกับการจัดการศึกษา 4.0 ที่เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ ที่มีอยู่ทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมหรือผลงานนั้น ต้องพัฒนาให้ผู้เรียน มีคุณลักษณะและทักษะที่เหมาะสมกับประเทศไทย 4.0 ที่ต้องการจัดการศึกษาจำเป็นต้องเน้นที่การคิดสร้างสรรค์ แล้วแปรความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นผลผลิตออกมา และสนองตอบต่อแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ ที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 ที่มุ่งหวังให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งหวังให้จัดการเรียนรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่ครูยังยึดรูปแบบการสอนแบบ เดิม ๆ ที่มีครูเป็นศูนย์กลางการสอน ใช้หนังสือและกระดานดำเป็นเครื่องมือในการสอน ครูขาด การวางแผนในการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานไม่เป็นไปตามแนวทางแห่งการจัดการเรียนรู้ และนักเรียนมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสอนของครูเท่านั้น ทำให้การจัดการเรียนรู้ ไม่เป็นไปตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นไปตามข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ครูเน้นทักษะในการคิดวิเคราะห์เป็นหลักการสอนเพื่อให้นักเรียนสร้างนวัตกรรม ต้องสอนให้นักเรียนรู้แบบโครงงาน หรือการสร้างชิ้นงาน โดยในโครงงานหรือชิ้นงานนั้น นักเรียนต้องตอบได้ว่ามีคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไร ในอดีตการสร้างชิ้นงานของนักเรียน เราไม่เคยนำวิชา STEM เข้ามาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
​ผู้วิจัยในฐานะรองผู้อำนวยการสถานศึกษา รับผิดชอบฝ่ายวิชาการ ได้ตระหนักในปัญหาดังกล่าว จึงมีความสนใจที่จะทำการวิจัยการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เพื่อให้เกิดการนำกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานมาใช้จัดการเรียนรู้แก่นักเรียนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านการเรียนรู้แบบโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
​1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
​2. เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือการวิจัยการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
​3. เพื่อดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
​4. เพื่อประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
4. ระเบียบวิธีการวิจัย
​การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีครูผู้สอนและนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2562 เป็นหน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) โดยมีแนวคิดสำคัญที่ผู้วิจัยใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 5 ขั้นตอน
​ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้จากการเปิดตาราง เครจซี่ และ มอร์แกนได้แก่ ครูในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 22 คน และนักเรียน 216 คน โดยการเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
​เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินทักษะ แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียน และการสนทนากลุ่ม
​วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบที แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
5. ผลการวิจัย
​5.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
​การเสนอผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในรูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด โดยตอบคำถามการวิจัยข้อที่ 1 คือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในรูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด มีวิธีการดำเนินการอย่างไร โดยมีรายละเอียดดังนี้
​ ผู้วิจัยได้ดำเนินการประชุมระดมความคิดเห็นกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูเกี่ยวกับปัญหาการบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ที่มีปัญหาที่พบปัญหาจากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันพบว่าโรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามแนวทางแห่งการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานให้แก่นักเรียน โดยให้นักเรียนได้จัดทำโครงงานเพื่อนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดมา โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ให้เป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ตลอดมา และเมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในปีการศึกษา 2558-2559 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมในปีการศึกษา 2558 โดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 71.45 ในปีการศึกษา 2559 โดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 70.45 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนลดลง ควรมีการพัฒนาด้านการบริหาร งานวิชาการเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น และจากการศึกษาสภาพปัญหา พบว่า ครูขาดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้นักเรียนไม่ได้ฝึกทักษะ นักเรียนขาดในการวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ ไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ เนื่องจากวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูไม่สอดคล้องและสนองตอบต่อแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ ที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 ที่มุ่งหวังให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งหวังให้จัดการเรียนรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่ครูยังยึดรูปแบบการสอนแบบเดิม ๆ ที่มีครูเป็นศูนย์กลางการสอน ใช้หนังสือและกระดานดำเป็นเครื่องมือในการสอน ครูขาดการวางแผนในการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานไม่เป็นไปตามแนวทางแห่งการจัดการเรียนรู้ และนักเรียนมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสอนของครูเท่านั้น ทำให้การจัดการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นไปตามข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ครูเน้นทักษะในการคิดวิเคราะห์เป็นหลักการสอนเพื่อให้นักเรียนสร้างนวัตกรรม ต้องสอนให้นักเรียนรู้แบบโครงงาน หรือการสร้างชิ้นงาน โดยในโครงงานหรือชิ้นงานนั้น นักเรียนต้องตอบได้ว่ามีคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไร ในอดีตการสร้างชิ้นงานของนักเรียน เราไม่เคยนำวิชา STEM เข้ามาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
​5.2 การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือการวิจัยการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
​​การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือการวิจัยการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า "PACE Model" ประกอบด้วยขั้นตอน P : Planning = การวางแผน A : Action = การปฏิบัติ C : Constructivist Learning = การสร้างความรู้ และ E : Evaluation = การประเมินผล ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 5 ขั้นตอนให้เกิดประสิทธิภาพต่อการบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ นำไปดำเนินการตามขั้นตอนโดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลการประเมิน ความเหมาะสม ปรากฏว่า รูปแบบนี้มีความเหมาะสมและเป็นไปได้
​5.3 การดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
​การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ได้มีการนำรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายในไปใช้ในการดำเนินงานให้แก่ครูและนักเรียน ผลการทดลองใช้อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.54, S.D. = 0.62) ผลการเปรียบเทียบการทดลองก่อน-หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
​5.4 การประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขการพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
​ การประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบบริหารงานวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียนที่เสริมสร้างคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด โดยการประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครูและนักเรียน ปรากฏว่าครูและนักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52, S.D. = 0.46)
6. ข้อเสนอแนะ
​ผู้วิจัยขอเสนอแนะการวิจัยทั้งเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะจากการวิจัย ดังนี้
​1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
​​1.1 ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนารูปแบบบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียน ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน
​​1.2 ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนารูปแบบบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียน เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอน
ต่อไป
​2. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
​​​​2.1 จากการวิจัย พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานยังขาดความบกพร่องในการเขียนรายงานโครงงาน ควรจัดให้มีการนิเทศภายในให้แก่ครูทุกภาคเรียน เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นไปตามขั้นตอนทุกขั้นตอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
​​​​2.2 ผู้บริหารควรจัดให้มีการนิเทศแบบกำกับ ติดตาม ดูแล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานดำเนินไปตามขั้นตอนของ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
​​​​2.3 ครูผู้สอนควรมีการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับการฝึกปฏิบัติการจัดทำโครงงานให้แก่นักเรียนที่จัดทำโครงงาน เพื่อให้การดำเนินการจัดทำโครงงานดำเนินไปตามขั้นตอนของการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
​​​​2.4 ควรจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่ผู้ปฏิบัติงานตามสภาพการณ์ปัจจุบัน
จะทำให้เกิดการพัฒนาด้านศักยภาพได้มากยิ่งขึ้น
​​​​2.5 ควรจัดให้ผู้มีความรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเข้าร่วมเป็นผู้นิเทศกับผู้บริหารในการนิเทศครูผู้สอน เพื่อจะได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับนำไปปรับปรุงต่อไป
​ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
​​1. ควรศึกษาการพัฒนารูปแบบการวัดและประเมินผล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบโครงงาน โดยใช้หลักการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบหลักการวิจัยปฏิบัติการ
​ 2. ควรมีการศึกษาการปฏิบัติที่ดีในการจัดทำโครงงานและเปรียบเทียบในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
​​3. ควรศึกษาการพัฒนาการบูรณาการโครงงานเข้ากับทุกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้มากกว่า 1 สาระการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย จัดโครงงานที่มีการบูรณาการกลุ่มสาระ การเรียนรู้หลาย ๆ กลุ่มสาระการเรียนรู้
การนำไปใช้ประโยชน์
​1. ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
​2. ทำให้ครูในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ได้มีความรู้ ความเข้าใจและมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้ถูกต้อง เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้
​3. ใช้เป็นข้อสนเทศสำหรับโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด และหน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้
​4. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน สามารถจัดทำ
โครงงานที่เป็นครูต้นแบบด้านโครงงานได้
​5. ทำให้ครูได้มีแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเองได้
​6. โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดได้มีโครงงานเข้าร่วมประกวดผลงานทางด้านวิชาการที่ถูกต้องตามขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
​7. ทำให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์และจัดทำโครงงานได้อย่างถูกต้องตามหลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการให้สอดคล้องกับยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์เป็นไปตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น