การประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านขุนทะเล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมเกี่ยวกับ ความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสม ของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานและความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับ ความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ สื่อวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่และความพร้อมในการบริหารจัดการโครงการ ประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับ การวางแผน การดำเนินการ การติดตามประเมินผล และการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับ คุณภาพการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู พฤติกรรมการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการดำเนินโครงการ รูปแบบที่ใช้ในการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการในปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 25 คน ครู จำนวน 6 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 25 คน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย แบบสอบถามจำนวน 7 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือ (Content Validity) ใช้สูตร IOC หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยการหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (ConbachsAlpha Coefficient) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 4 ตัวชี้วัดคือ ตัวชี้วัดด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ ตัวชี้วัดด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดด้าน ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน ตัวชี้วัดด้านความเป็นไปได้ของโครงการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการตามความคิดเห็นของครู โดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดด้านบุคลากร ตัวชี้วัดด้านงบประมาณ ตัวชี้วัดด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ ตัวชี้วัดด้านอาคารสถานที่
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ ตัวชี้วัดด้านการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการตามการบริหารด้วยวงจรคุณภาพ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ทุกกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู ตามความคิดเห็นของนักเรียนครู และผู้ปกครอง โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก รองลงมา ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ทุกกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก รองลงมา ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ทุกกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ทุกกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. ผลการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ ใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน ตามประเด็น ตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ผลการประเมินเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ผลการประเมิน เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ ที่กำหนด ด้านกระบวนการของโครงการ ผลการประเมินเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยรวม ทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ด้านผลผลิตของโครงการ ผลการประเมิน เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัด ที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน