ชื่อผู้วิจัย นางสิริกาญจน์ ตันติมาภรณ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านาตาล่วง)
สังกัดเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง
ปีที่รายงาน 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ SIRI MODEL ส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการสังเคราะห์ร่างต้นแบบรูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การพัฒนาและหาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน และระยะที่ 3 การขยายผลและยืนยันประสิทธิผลรูปแบบการเรียนการสอน ผลการวิจัยพบว่า
ระยะที่ 1 การสังเคราะห์ร่างต้นแบบรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า
1) ผลการศึกษาปัญหาในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา โดยนักเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ ด้านผู้เรียน ปัญหาอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านหลักสูตร/แบบเรียน/สื่อการเรียนการสอน ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ด้านผู้สอน ปัญหาอยู่ในระดับน้อย ส่วนด้านที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหาร ปัญหาอยู่ในระดับน้อย
2) ผลการสังเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) เพื่อจัดทำเอกสารร่างต้นแบบรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า ร่างรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ SIRI MODEL ส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) จุดมุ่งหมาย (3) กิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ อ่านเฉพาะจุด (Skim: S) ตีความ (Interpret: I) อ่านอีกครั้ง (Reread: R) รายงาน (Inform: I) (4) ระบบสังคม (5) ระบบสนับสนุน และ (6) การวัดและประเมินผล
3) ผลการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ร่างต้นแบบรูปแบบการเรียนการสอน โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด คือ กิจกรรมการเรียนการสอน มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ระบบสนับสนุน มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านที่มีความเป็นไปได้น้อยที่สุด คือ ระบบสังคม มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
ระยะที่ 2 การพัฒนาและหาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน
พัฒนาและหาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านนาตาล่วง) สังกัดเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง พบว่า
1) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ SIRI MODEL ส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 81.45/80.59 สูงกว่าเกณฑ์ 80 ที่กำหนดไว้
2) ดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.7422 แสดงว่าการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ SIRI MODEL ส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 74.22
3) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนโดยใช้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ SIRI MODEL สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) ความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ SIRI MODEL ส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นมากที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านเนื้อหา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
ระยะที่ 3 การขยายผลและยืนยันประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน
การขยายผลและยืนยันประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน แก่นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดกะพังสุรินทร์) สังกัดเทศบาลนครตรัง พบว่า
1) ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ SIRI MODEL ส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ มีค่าเท่ากับ 0.7496 แสดงว่าการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ SIRI MODEL ส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 74.96
2) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนโดยใช้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ SIRI MODEL สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01