ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ
เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
ผู้วิจัย นางจันทิพย์ ทิพยสิริโชค บิ๊กเกโลว์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน สังกัดเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของรูปแบบการพัฒนาครู โดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน 2. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน 3. เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครู โดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน 4. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครู โดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน จํานวน 12 คน เครื่องมือประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ในการจัดเพื่อการอ่านออกเขียนได้ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.90 แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของครูผู้สอน มีค่า IOC 1.00 ทุกข้อ แบบประเมินความสามารถในการจัดเพื่อการอ่านออกเขียนได้ มีค่า IOC ระหว่าง 0.80 - 1.00 และ แบบสอบถามความพึงพอใจของรูปแบบการพัฒนาครู โดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน มีค่าอำนาจจำแนก 0.26 - 0.93 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.93 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) บุคคล 2) งบประมาณ 3) วัสดุอุปกรณ์ องค์ประกอบหลักที่ 2 กระบวนการ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) การเตรียมการจัดโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ 2) การจัดโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ และ 3) ประเมินผลการจัดโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ องค์ประกอบหลักที่ 3 ผลผลิต (Outputs) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) ครูมีความสามารถในพัฒนาหลักสูตร 2) ครูมีความสามารถในการออกแบบการจัด 3) ครูมีความสามารถในการจัดกิจกรรม 4) ครูมีความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยี 5) ครูมีความสามารถในการวัดผลประเมินผลการจัดกิจกรรม องค์ประกอบหลักที่ 4 ผลลัพธ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
2) นักเรียนมีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ องค์ประกอบหลักที่ 5 ข้อมูลป้อนกลับประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) การรายงานผล 2) ปรับปรุง แก้ไขและพัฒนามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. สภาพปัจจุบันในการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 ระบบย่อย 1) การเตรียมการจัดโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ 2) การจัดโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ และ 3) การประเมินผลการจัดโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ผลการประเมินมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน เป็นดังนี้
4.1 ครูมีความสามารถในการจัด ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ครูมีความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน อยู่ในระดับมากที่สุด