บทคัดย่อ
รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียนบ้านคู้คด มีวัตถุประสงค์ เพื่อการประเมินโครงการ 4 ด้าน ตามรูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วย การประเมินด้านบริบท การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า การประเมินด้านกระบวนการ และการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 11 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียน จำนวน 91 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 91 คน รวมทั้งหมดจำนวน 200 คนเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ แบบสอบถามที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านคู้คด โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด 6 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ กิจกรรมและวิธีดำเนินกิจกรรมสามารถปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง รองลงมา คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน และโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียนและชุมชน ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม
และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านคู้คด โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมาก
ไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ พร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการ และอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ รองลงมานักเรียน
ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรเพื่อการดำเนินโครงการ และงบประมาณที่ได้รับ การสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นในการดำเนินโครงการ และมีการติดตาม ประเมิน และรายงานผล อย่างเป็นระบบ การสนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น และการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ระบบการบริหารภายในโรงเรียนเอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรม มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม
และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านคู้คด โดยภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมาก ไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การเปิดโอกาสให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินโครงการ รองลงมา คือ การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสม และจัดทำเครื่องมือติดตามและประเมินผลได้เหมาะสมกับกิจกรรม และมีการนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนา ส่วนรายการที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเข้าใจโครงการอย่างชัดเจน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ มีระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจที่มีต่อ การดำเนินงานโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านคู้คด
หลังเสร็จสิ้นโครงการ ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของนักเรียนจากการดำเนินงานโครงการพัฒนาอาคารสถานที่สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านคู้คด หลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ โรงเรียนมีอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัย รองลงมา คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน รักสามัคคี ยิ้มแย้มแจ่มใส และโรงเรียนมีการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนและท้องถิ่น
ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ โรงเรียนมีการจัดมุมเสริมความรู้ภายในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสำนักงาน โรงอาหาร มุมหนังสือ และโรงเรียนสนามกีฬา สนามเด็กเล่น เพียงพอและปลอดภัยต่อนักเรียน มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านคู้คด โดยรวมมีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ มีระบบการบริหารจัดการขยะที่ดี
รองลงมา คือ สนามกีฬา สนามเด็กเล่น เพียงพอและปลอดภัยต่อนักเรียน และการจัดมุมเสริม
ความรู้ภายในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องสำนักงาน โรงอาหาร มุมหนังสือ ส่วนรายการที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด คือ การส่งเสริมให้นักเรียน ใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง มีระดับความพึงพอใจ ในระดับมากที่สุด