1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก (= 4.33,  = 0.78) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความคิดเห็นในระดับ มากที่สุด 2 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ กิจกรรมของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับนโยบาย ( = 4.87,  = 0.51) รองลงมา คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบาย ของหน่วยงานต้นสังกัด (= 4.73,  = 0.45) และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบาย ของโรงเรียน โครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียนและชุมชน และการประสานงานสามารถ ทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการ มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก (= 4.40,  = 0.82) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (= 3.80,  = 0.94) มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80,  = 0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การสนับสนุนจากหน่วยงาน ต้นสังกัด ( = 5.00,  = 0.00) รองลงมา ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นในการดำเนินโครงการ และระบบการบริหารภายในโรงเรียนเอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรม ( = 4.88,  = 0.35) และ ครูและบุคลากรมีความรู้ ความสามารถพร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรเพื่อการดำเนินโครงการ วัสดุอุปกรณ์ มีความเหมาะสมและเพียงพอสำหรับดำเนินโครงการ อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น ( = 4.75,  = 0.46) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ มีการติดตาม ประเมิน และรายงานผลอย่างเป็นระบบ ( = 4.63,  = 0.51) มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย โดยภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.78,  = 0.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุด ทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การประสานงานและการสร้างความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้อง และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ( = 4.95,  = 0.21) รองลงมา คือ การกำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ( = 4.88,  = 0.32) และมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ ( = 4.87,  = 0.32) ส่วนรายการที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเข้าใจโครงการอย่างชัดเจน ( = 4.63,  = 0.54) มีระดับ การปฏิบัติในระดับมากที่สุด
4. ผลการวิเคราะห์การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย หลังเสร็จสิ้นโครงการ ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.79, = 0.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียง จากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ นักเรียนใฝ่เรียนใฝ่รู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ ( = 4.97, = 0.20) รองลงมา คือ จัดให้มีบอร์ด ป้ายนิเทศ มุมหนังสือภายในห้องเรียนเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้และมีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ ( = 4.96 , = 0.20) และห้องคอมพิวเตอร์มีความพร้อมในการสืบค้นข้อมูลและมีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ ( = 4.88, = 0.32) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นในระดับต่ำสุด คือ ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมผู้เรียน เพื่อให้เห็นคุณค่าและเกิดความภูมิใจจากแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา ( = 4.61,  = 0.54)
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครู โดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในท้องถิ่น ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน โดยภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.81, = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือท้องถิ่น และมีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ( = 4.97, = 0.16) รองลงมา คือ มีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ( = 4.91 , = 0.29) และมีการนำข้อมูลนักเรียนรายบุคคลไปใช้ ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา มีการจัดแหล่งเรียนรู้ ในชั้นเรียนเหมาะสมตามความต้องการของนักเรียน ( = 4.88 , = 0.33) ส่วนรายการที่มีระดับ ความคิดเห็นในระดับต่ำสุด คือ มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับนักเรียน ( = 4.62,  = 0.54)
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมระดับ ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.75,  = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับ ความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ นักเรียน มีการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น (= 4.97,  = 0.18) รองลงมา คือ นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่สำคัญของชุมชน ( = 4.87,  = 0.33) และนักเรียนศึกษาด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และนักเรียนมีความยินดี และเต็มใจต่อ การจัดกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาและเพื่อน (= 4.84,  = 0.39) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นในระดับต่ำสุด คือ นักเรียนให้ความสำคัญและใช้เวลาว่าง ให้เกิดประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (= 4.57,  = 0.65)
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนา แหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย โดยรวม มีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.75,  = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับ ความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ได้รับ การถ่ายทอดความรู้ที่ศึกษาเพิ่มพูนทักษะประสบการณ์เป็นการเรียนที่สนุกมีความสุข และมีครูและบุคลากรทางการศึกษาเอาใส่ใจเป็นอย่างดี และแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงนำมาประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวันได้ (= 4.96,  = 0.24) รองลงมา คือ ได้ค้นคว้าหาความรู้นอกห้องเรียน เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับนักนักเรียน (= 4.88,  = 0.32) และการนำวิทยากรจากภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมจัดการเรียนรู้ (= 4.86,  = 0.37) ส่วนรายการที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด คือ การที่ได้รวมกลุ่มตามความสมัครใจและได้ศึกษาในหัวข้อที่นักเรียนสนใจ ทำให้มีความ กระตือรือร้น มีความตั้งใจที่จะศึกษา และอยากทำผลงานออกมาให้ดีที่สุด ( = 4.61,  = 0.53)