โครงการเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสีหยัง มี
วัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบท 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า 3) เพื่อประเมินกระบวนการ
และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตโครงการ โดยผู้ประเมินใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีมมาใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประชากร จำนวน 154 คน ได้แก่ ครู และบุคลาการทางการศึกษา จำนวน 7คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน และผู้ปกครอง จำนวน 69 คน นักเรียน จำนวน 69 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 63 คน ได้แก่ ครู และบุคลาการทางการศึกษา จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 4 คน และผู้ปกครอง จำนวน 26 คน นักเรียน จำนวน 26 คนคนซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถาม 4 ฉบับ แบบประเมินความพึงพอใจ 3 ฉบับ แบบเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการประเมินบริบท (Context Evaluation) ต่อโครงการเกษตรพอเพียงตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสีหยัง อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ต่อโครงการเกษตรพอเพียงตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสีหยัง อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ต่อโครงการเกษตรพอเพียงตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสีหยัง อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ
เกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสีหยัง มี
4.1 ผลการประเมินกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรมตามโครงการ ต่อโครงการเกษตร
พอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสีหยัง กิจกรรมการปลูกพืชผัก มีความ
คิดเห็นอยู่ในระดับมาก และกิจกรรมการเลี้ยงปลาในบ่อ อยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลังการดำเนินงาน
โครงการ ของครู นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด