หัวข้อวิจัยในชั้นเรียน ผลการใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดที่มีต่อ
ผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์
ชื่อ-สกุล นางสาวจิรวดี ทวีโชติ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดและเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 หลังจากใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวนนักเรียน 31 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ซึ่งได้มาโดยการ
สุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด วิชาคณิตศาสตร์ ค31202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ค31202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชันจำนวน 20 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค31202 เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 หลังจากใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดและแบบสัมภาษณ์นักเรียนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค31202 เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 หลังจากใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่า t-test แบบ dependent โดยสมมติฐานการวิจัย คือ 1) ผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 หลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด
สูงกว่าก่อนเรียน 2) นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ที่ใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด อยู่ในระดับมาก
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด มีผลการเรียนรู้
ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชันหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชันหลังจากใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50
สำคัญ : วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่