บทคัดย่อ
ชื่อเรื่องงานวิจัย การประเมินโครงการผู้ปกครองพบครูเพื่อลูกรัก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
จังหวัดจันทบุรี
ชื่อผู้วิจัย นางณัฏฐวรรณ ศรีวิจารณ์
ปีที่พิมพ์ 2564
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงประเมิน (evaluation research) โดยศึกษาเพื่อประเมินโครงการผู้ปกครองพบครูเพื่อลูกรัก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการผู้ปกครองพบครูเพื่อลูกรัก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี
2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการผู้ปกครองพบครูเพื่อลูกรัก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการผู้ปกครองพบครูเพื่อลูกรัก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการผู้ปกครองพบครูเพื่อลูกรัก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษามี 3 กลุ่ม ได้แก่ ครูที่ปรึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 5,856 คน กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้เป็นตัวแทนของครูที่ปรึกษา ผู้ปกครองและนักเรียน จำนวน 795 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างเชิง ช่วงชั้นอย่างมีสัดส่วน (proportional stratified sampling) ผู้ศึกษาใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้น จำนวน 8 ฉบับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (X ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านบริบท การประเมินเกี่ยวกับบริบททั่วไป จากการประเมินของครูที่ปรึกษา เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยโดยรวมแล้ว พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
การประเมินบริบทเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จากการประเมินของครูที่ปรึกษา เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยโดยรวมแล้ว พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า จากการประเมินของครูที่ปรึกษา
เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยโดยรวมแล้ว พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการ จากการประเมินของครูที่ปรึกษา
เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยโดยรวมแล้ว พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด จากการประเมินของผู้ปกครองและนักเรียน เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยโดยรวมแล้ว พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก
4. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านผลผลิต จากการประเมินของครูที่ปรึกษา เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยโดยรวมแล้ว พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด จากการประเมินของผู้ปกครองและนักเรียน เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยโดยรวมแล้ว พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมาก