ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน
โรงเรียนบ้านท่าข่อย ปีการศึกษา ๒๕๖๒
ผู้ประเมิน : นายติณณพัศ กล่ำจีน
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านท่าข่อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓
ปีที่ประเมิน :ปีการศึกษา ๒๕๖๒
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่าข่อย ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ครั้งนี้ เป็นการประเมินโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าข่อย ในองค์ประกอบ 4 ด้าน ประกอบด้วย ๑.ความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อม (Context) ๒.ความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ๓.กระบวนการดำเนินงาน (Process) และ ๔.ผลผลิต (Product) ของโครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าข่อย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านท่าข่อย จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 107 คน และนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าข่อย จำนวน 107 คน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านท่าข่อย จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าข่อย จำนวน 28 คน และนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าข่อย จำนวน 28 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบปลายเปิด ซึ่งผู้ประเมินสร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ด้านความเที่ยงตรง เชิงโครงสร้าง และเนื้อหา สำนวนภาษาที่ใช้จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา (α-coefficient) ของ Cronbach เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ด้วยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าข่อย ปีการศึกษา 2562 โดยการประเมินของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน สรุปได้ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมของโครงการ
ผลการประเมินความเหมาะสมสภาพแวดล้อมของโครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าข่อย ของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.78, S.D. = 0.22) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ข้อที่ 4 เป้าหมายของโครงการสอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของสถานศึกษา ข้อที่ 6 การจัดโครงการสอดคล้องกับความต้องการของครู และนักเรียน ข้อที่ 7 โครงการสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ข้อที่ 8 โครงการมีความสำคัญในการสนับสนุนการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ข้อที่ 10 จัดบรรยากาศในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการดำเนิน โครงการ ( =5.00, S.D. = 0.00) รองลงมาได้แก่ ข้อ1 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายการ ( =4.88, S.D. = 0.32) และข้อที่น้อยที่สุดคือ ข้อ 2 โครงการมีความสอคล้องกับนโยบายการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อ 3 การดำเนินงานโครงการสอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ( =4.34, S.D. = 0.48)
2. ปัจจัยในการดำเนินงานตามโครงการ
ผลการประเมินความเหมาะสมปัจจัยในการดำเนินงานของโครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าข่อย ของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, S.D. =0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ข้อ 2 จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ ข้อ 3 ความพร้อมของคณะกรรมการดำเนินโครงการ ข้อ 6 ความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนโครงการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ( = 4.76, S.D. = 0.42) รองลงมาได้แก่ ข้อ 1 ความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการ ข้อ 4 วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินโครงการ ข้อ 5 ความพร้อมในด้านงบประมาณสนับสนุนโครงการ ( = 4.25, S.D. = 0.44)
3. กระบวนการการดำเนินงานตามโครงการ
ผลการประเมินความเหมาะสม ด้านกระบวนการดำเนินงานจากตารางที่ 8 แสดงว่าโครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าข่อย ของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.56, S.D. =0.50) โดยการนำผลการประเมินมาปรับปรุง/พัฒนา (A) มีความเหมาะสมอยู่ในอันดับสูงสุด ( = 4.74, S.D. =0.44) และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านการประเมินได้ดังนี้
3.1 ขั้นการวางแผนดำเนินงาน พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. = 0.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ข้อที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ข้อที่ 6 บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานโครงการ ( = 4.74, S.D. = 0.44) รองลงมาได้แก่ ข้อ 4 กำหนดกิจกรรมได้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสถานศึกษา และข้อ 5 การจัดทำแผนประเมินผลโครงการควบคู่กับการวางแผนกำหนดกิจกรรมโครงการ ( = 4.48, S.D. = 0.50) ข้อที่น้อยที่สุดคือ ข้อ 2 การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และข้อ 3 การจัดระบบการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสอดคล้องกับสภาพของสถานศึกษา ( = 4.23, S.D. = 0.84)
3.2 ขั้นดำเนินงานตามแผน พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ข้อ 7 แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบโครงการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเข้าใจโครงการอย่างชัดเจน ข้อ 8 ประชุมชี้แจงบุคลากรที่มีส่วนร่วมทุก ๆ ฝ่ายที่เข้าใจวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการ และข้อ 13 ผู้บริหารให้การสนับสนุนและให้ขวัญกำลังใจแก่ผู้รับผิดชอบโครงการอย่างสม่ำเสมอ ( = 4.74, S.D. = 0.44) รองลงมาได้แก่ ข้อ 10 จัดกิจกรรมโครงการแต่ละกิจกรรมตามขั้นตอนที่กำหนด ข้อที่ 11 จัดทำเครื่องมือติดตามประเมินผลให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่กำหนด ข้อที่ 12 มีการบันทึกผลการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจุบัน และข้อ 14 การประสานงานให้ความร่วมมือของบุคลากรในการดำเนินโครงการ ( = 4.48, S.D. = 0.50) ข้อที่น้อยที่สุดคือ ข้อที่ 9 จัดทำปฏิทินปฏิบัติงานโครงการไว้อย่างชัดเจน ( = 4.23, S.D. = 0.84)
3.3 ขั้นติดตามและประเมินผล พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ข้อ 16 มีการประเมินโครงการระหว่างดำเนินงานและสิ้นสุดโครงการ และข้อ 17 บุคลากรมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลกิจกรรม แต่ละกิจกรรมตามโครงการ ( = 4.74, S.D. = 0.44) ข้อที่น้อยที่สุด คือ ข้อที่ 15 มีการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ( = 4.48, S.D. = 0.50)
3.4 ขั้นการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ข้อ 18 มีการสรุปผลและรายงานผลการประเมินโครงการให้บุคลากรในสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และข้อ 19 มีการนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง ( = 4.74, S.D. = 0.44)
4. ผลผลิตของการดำเนินงานตามโครงการ สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าข่อย ในด้านผลผลิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายด้านอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1. โรงเรียนบ้านท่าข่อย ควรดำเนินโครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนอย่างต่อเนื่องโดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งนี้จะต้องสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนและผู้ปกครอง
2. โครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน ควรกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ มีการประชาสัมพันธ์ การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ โดยให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมและมีการเตรียมการในระยะยาว
3. ในการจัดกิจกรรมโครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน ควรส่งเสริมกิจกรรมที่มีลักษณะการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
4. โรงเรียนบ้านท่าข่อย ควรมีการจัดระบบการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินโครงการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และใช้กระบวนการนิเทศ ที่หลากหลาย