ชื่อผลงานวิชาการ รายงานการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านรับร่อ
ผู้รายงาน นายกันตพงศ์ สีบัว
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านรับร่อ มีวัตถุประสงค์ 1 ) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) เกี่ยวกับความต้องการ ความจำเป็น ความเหมาะสม ของวัตถุประสงค์ และความเป็นไปได้ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับความพร้อมและทรัพยากรในการดำเนินโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับวิธีการดำเนินการจัดกิจกรรมของโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับ 4.1 ความพึงพอใจของนักเรียนในการดำเนินโครงการ 4.2 ความพึงพอใจของผู้ปกครองในการดำเนินโครงการ 4.3 ความพึงพอใจของกรรมการสถานศึกษาในการดำเนินโครงการ 4.4 ความพึงพอใจของครูในการดำเนินโครงการ โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model) ประชากรทั้งหมด 64 คน สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย x̄ = 4.25, S.D.= 0.55 เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่าโครงการสามารถสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ x̄ = 4.86, S.D.= 0.36 ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดที่ x̄ = 3.93, S.D.= 0.73 โครงการมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าแก่การลงทุน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ที่ ค่าเฉลี่ย x̄ = 4.04, S.D.= 0.12 เมื่อพิจารณารายละเอียดตัวชี้วัดพบว่า โรงเรียนมีสถานที่และอุปกรณ์ส่งเสริมการจัดกิจกรรมต่างๆ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนอย่างเพียงพอมีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ x̄ = 4.43, S.D.= 0.65 ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด x̄ = 3.79, S.D.= 0.43 โรงเรียนจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ตลอดจนสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงครบถ้วนเพียงพอ
3. ด้านกระบวนการ ภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ที่ x̄ = 4.06, S.D.= 0.11 และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า โรงเรียนมีกิจกรรมการเลี้ยงปลา หรือเลี้ยงสัตว์อื่นๆ อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ x̄ = 4.57, S.D.= 0.51 ตัวชี้วัดทีมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดที่ x̄ = 3.71, S.D.= 0.47 โรงเรียนมีการจัดหาวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสถานศึกษา
4. ด้านผลผลิต
4.1 ผลการประเมินความความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก x̄= 4.19 SD = 0.12 และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า การจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนปฏิบัติจริงมีค่าเฉลี่ยสูงสุด x̄ = 4.45 SD = 0.52 ตัวชี้วัดทีมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด x̄ = 3.86 SD = 0.67 ปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการอย่างมีความสุข
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยที่ x̄ = 4.18 SD = 0.12 และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า การจัดกิจกรรมการเลี้ยงปลา เพื่อบริโภค มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ที่ = 4.51 SD = 0.53 ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดที่ x̄ = 4.75 SD = 0.69 การรู้จักการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนมีหลักการ
4.3. ผลการประเมินความพึงพอใจของกรรมการสถานศึกษา พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยที่ x̄ = 4.31 SD = 0.1 และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า การจัดกิจกรรม การปลูกผักปลอดสารพิษ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด x̄= 4.71 SD = 0.49 ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด x̄ = 3.86 SD = 0.69 การรู้จักการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนมีหลักการ
4.4. ผลการประเมินความพึงพอใจของครู พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยที่ x̄= 4.17 SD =0.17 และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า การจัดกิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ที่ x̄ = 4.57 SD =0.5 ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดx̄ = 3.86 SD =0.38 การประชาสัมพันธ์โครงการเศรษฐกิจเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน