บทที่ 1
บทนำ
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ยาเสพติดจัดว่าเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วน ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อกำลังคน ยาเสพติดมีการแพร่ระบาดใน ทุกพื้นที่ของประเทศไทย และได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทางด้านการเมือง และความมั่นคงของประเทศ จากสภาพสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในปัจจุบันการสื่อสารเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อประชาชน ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดอันนำมาซึ่งปัญหาครอบครัวที่เกิดความทุกข์ความวิตกกังวล ความเครียด ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรืออื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ อยากทดลอง และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ตนเอง ซึ่งอาจพลั้งพลาดและตกเป็นเหยื่อของยาเสพติดและอบายมุขในหลากหลายลักษณะ ประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหายาเสพติดที่ผลิตมาจากแหล่งผลิตในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคํา โดยพื้นที่ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงถูกใช้เป็นช่องทางในการลักลอบนําเข้ายาเสพติด 3.2 ยาบ้า ยังเป็นตัวยาหลักที่มีการแพร่ระบาดในประเทศไทย และในขณะเดียวกันประเทศไทยถูกใช้เป็น แหล่งพักยาเสพติดและเส้นทางลําเลียงผ่าน เพื่อส่งไอซ์เฮโรอีน และกัญชา ไปยังประเทศ ที่สาม 3.3 เฮโรอีน มีแนวโน้มการแพร่ระบาดเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่ 3.4 กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดมีแนวโน้มใช้คีตามีนมากขึ้น เห็นได้จากสถิติการจับกุมและผู้เข้าบําบัดรักษา ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ( แผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม และบําบัดรักษายาเสพติด ปี 2562 (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด,หน้า 2-4) ผลกระทบจากปัญหาสารเสพติด ทำให้เกิดความเสียหายทั้งต่อตัวผู้เสพ ครอบครัว สังคม เศรษฐกิจและประเทศชาติ การแก้ไขปัญหาสารเสพติดต้องเริ่มต้นจากครอบครัวซึ่งใกล้ชิดกับเด็กและเยาวชนมากที่สุด โดยการให้เวลากับบุตรหลานและร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น นอกจากนี้สังคมและสถานศึกษาต้องมีการติดตาม สังเกตพฤติกรรมนักเรียนที่เข้าข่ายเกี่ยวข้องกับสารเสพติด การมุ่งให้ความรู้ในเรื่องอันตราย ผลกระทบที่เกิดจากการใช้สารเสพติด สร้างการรับรู้ ความตระหนักถึงภัยอันตรายน่าจะการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด และเป็นหน้าที่ของทุกคนจะต้องร่วมมือกันการดำเนินการแก้ปัญหายาเสพติดของไทย จึงต้องทำควบคู่กันไปทั้งในด้านการรณรงค์และการปราบปรามอย่างเข้มข้น กลยุทธ์การดำเนินงานของรัฐบาลในทุกยุคทุกสมัย ได้ตระหนักในการแก้ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เป็นยุทธศาสตร์หลัก กำหนดกลยุทธ์สำคัญ ที่จะดำเนินการ คือ 7 แผน 4 ปรับ 3 หลัก 6 เร่ง เพื่อเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดเป็นหลักในการขับเคลื่อนงานยาเสพติด นั่นคือ 7 แผน ประกอบด้วย แผนที่ 1 แผนสร้างพลังสังคมและพลังชุมชนเอาชนะยาเสพติด แผนที่ 2 แผนการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) แผนที่ 3 แผนการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด (Potential Demand) แผนที่ 4 แผนการปราบปรามยาเสพติดและบังคับใช้กฎหมาย แผนที่ 5 แผนความร่วมมือระหว่างประเทศ แผนที่ 6 แผนสกัดกั้นยาเสพติด แผนที่ 7 แผนบริหารจัดการแบบบูรณาการ 4 ปรับ ประกอบด้วยปรับที่ 1 ปรับปรุงข้อมูล การข่าวให้ถูกต้อง ทันสมัย ปรับที่ 2 ปรับบทบาท พฤติกรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปรับที่ 3 ปรับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ปรับที่ 4 ปรับทัศนคติของสังคมและชุมชนมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด 3 หลัก ประกอบด้วย หลักที่ 1 หลักการแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักเมตตา ความรักในเพื่อนมนุษย์ อยากเห็นคนผิดกลับตัวเป็นคนดี คืนความรักให้ครอบครัว คืนสุขให้ชุมชน หลักที่ 2 ยึดหลัก นิติธรรม ใช้การบำบัด ป้องกัน ควบคู่การปราบราม หลักที่ 3 หลักแก้ปัญหาโดยยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง หรือ Area Approach 6 เร่ง ประกอบด้วย เร่งที่ 1 เร่งดำเนินการในด้านข้อมูล ปัญหา เร่งที่ 2 เร่งลดจำนวนผู้เสพยาจากหมู่บ้าน/ชุมชน เร่งที่ 3 เร่งแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศและการสกัดกั้นยาเสพติด เร่งที่ 4 เร่งปราบปรามผู้ค้า ลดความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหายาเสพติด เร่งที่ 5 เร่งแก้ไขปัญหาเยาวชนกลุ่มเสี่ยงทั้งในและนอกสถานศึกษา ที่เป็นความห่วงใยของพ่อแม่ผู้ปกครองทั้งประเทศ จะเร่งให้ทุกจังหวัดเข้มงวด กวดขันพื้นที่เสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับชุมชนและสังคม ที่สำคัญ ได้แก่ สถานบันเทิง แหล่งมั่วสุมของเยาวชน การรวมกลุ่มรถซึ่งตามท้องถนน การก่อเหตุทะเลาะวิวาทของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง และมีผลต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ นอกจากนี้ จะเร่งสร้างระบบป้องกัน และเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษาในทุกจังหวัดเพื่อสร้างความสบายใจให้กับผู้ปกครอง เร่งที่ 6 เร่งสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนให้มีความเข้มแข็งรัฐบาล ได้มอบนโยบายให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา ตามแผนงานที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด กำหนดมาตรการป้องกันนักเรียน นักศึกษา และเยาวชนก่อนวัยเสี่ยง และในวัยเสี่ยงไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รู้จักวิธีปฏิเสธหลีกเลี่ยงยาเสพติดและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อหลีกเลี่ยงการมั่วสุมกับยาเสพติดและอบายมุข ตลอดจนดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้คืนสู่สังคมได้อย่างปกติศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะ ยาเสพติด จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวข้างต้น กระทรวง ศึกษาธิการได้กำหนดมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนก่อนวัยเสี่ยงและในวัยเสี่ยง ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รู้จักวิธีปฏิเสธหลีกเลี่ยงยาเสพติดและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นมั่วสุมกับยาเสพติดและอบายมุข ตลอดจนดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงได้กำหนดนโยบายให้ผู้บริหารองค์กรหลัก หน่วยงานและโรงเรียนดำเนินการโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ในการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายหรือความสำเร็จนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะ บุคลากรทางการศึกษาทุกคนในโรงเรียน ซึ่งมีครู อาจารย์ เป็นหลักสำคัญในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ นักเรียนให้เติบโตงดงามและเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมการพัฒนานักเรียนนักศึกษาให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกายจิตใจและสติปัญญามีความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรมดำเนินวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวังโดยผ่านกระบวน การทางการศึกษาที่โรงเรียนทุกแห่งต้องดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการให้เยาวชนเป็นคนเก่ง คนดี สามารถดำรงตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียน ได้รับกระบวนการเรียนรู้แล้ว การป้องกันและการ ช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยง รอบโรงเรียนที่มีพฤติกรรมไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ร้านเกม การพนัน หนีเรียน ทะเลาะวิวาท ก่ออาชญากรรม เป็นปัญหาสังคมที่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ต้องเข้าไป ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งมาจากปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบจากแหล่งอบายมุข
ที่ผ่านมาโรงเรียนบ้านแม่สะแมงได้ประสบกับปัญหา นักเรียนขาดเรียนบ่อย สาเหตุหนึ่งก็มาจากการ ที่นักเรียนเริ่มใช้เทคโนโลยี เริ่มมีโทรศัพท์มือถือส่วนตัว ทำให้นักเรียนหลงเมามัวไปกับการเล่นโทรศัพท์ และ ติดเกมส์จนไม่อยากมาโรงเรียน ส่งผลกระทบต่อการเรียนในห้องเรียน ทำให้เรียนไม่สนใจการเรียนและเรียนไม่ทันเพื่อน อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่คล่อง คิดเลขไม่เป็น ทำให้การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับต่าง ๆ ทั้งในระดับชาติ NT,O-Net ในภาพรวมระดับโรงเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับระดับจังหวัดและระดับประเทศ ดังนั้นทางโรงเรียนจึงได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนานักเรียน อันได้แก่ การยกระดับผลสุมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โครงการสถานศึกษาสีขาวเป็นอีกโครงการหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ สร้างความตระหนักในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในสถานศึกษา รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันในการเสริมสร้างทักษะชีวิตให้ห่างไกลจากยาเสพติด ทำให้ผู้เรียนมีภูมิคุ้มกันที่ดีและเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข ดังนั้นเพื่อสนองนโยบายดังกล่าว โรงเรียนบ้านแม่สะแมง จึงได้ดำเนินงานตามโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีการศึกษา 2562 โดยได้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 5 ด้าน คือ 1.ด้านการป้องกัน 2.ด้านค้นหา 3.ด้านรักษา 4.ด้านเฝ้าระวัง และ5.ด้านบริหารจัดการ ภายใต้กลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ แผนปฏิบัติการของศูนย์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดนำกลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ มาใช้ในสถานศึกษา คือ 1.ต้องมียุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่สอดคล้องกับสภาพปัญหายาเสพติดและบริบทในพื้นที่ 2.ต้องมีแผนงานยาเสพติดในสถานศึกษาที่ชัดเจน 3.ต้องพัฒนาระบบงานรองรับยุทธศาสตร์ 4 ระบบ ได้แก่ ป้องกัน เฝ้าระวัง ดูแลช่วยเหลือ และบริหารจัดการ 4.ต้องมีเครือข่ายการทำงานระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน 5.ไม่ปกปิดข้อมูล กลุ่มเสพ กลุ่มติด และกลุ่มค้ายาเสพติด และไม่ผลักปัญหา 6.ไม่ไล่นักเรียนออกจากสถานศึกษา แต่ให้นำไปบำบัดรักษา เมื่อหายแล้วให้กลับมาเรียนตามปกติ ทั้งนี้การป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเดียวคงไม่สามารถจะทำให้พัฒนาทางด้านจิตใจ ร่างกาย สังคม สติปัญญาของนักเรียนตามแนวการจัดการศึกษาของชาติให้ก้าวทันต่อเหตุการณ์ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้นทางโรงเรียนจึงนำเอาการจัดการความรู้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ หรือสังคมอุดมปัญญา เนื่องจากสังคมไทยจำเป็นต้องขับเคลื่อนทุกภาคส่วนของสังคมสู่สังคมอุดมปัญญา จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานสร้างขีดความสามารถด้านการจัดการความรู้ขึ้นในสังคม ดังนั้น เมื่อองค์กรใดมีการจัดการความรู้ ย่อมจะทำให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กล่าวคือ องค์กรจะมีลักษณะเด่นในการสนับสนุนให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ สร้างความรู้มีความคิดสร้างสรรค์ ต้องการที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต มีการเปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร สนับสนุนให้มีการนำความรู้ฝังลึกของบุคลากรออกมาใช้ประโยชน์และมีการเพิ่มคุณค่าให้แก่ความรู้ขององค์กรตลอดเวลา องค์กรจำนวนมากให้ความเห็นว่า เมื่อได้นำการจัดการความรู้เข้าไปใช้ในองค์กรแล้วได้รับประโยชน์เด่นชัด ทำให้มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาประโยชน์ของการนำการจัดการความรู้มาใช้ในองค์กรจะเกิดประโยชน์หลายประการ การตอบสนองต่อปัญหาขององค์กรเร็วขึ้น องค์กรปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นความสามารถในการแข่งขันขององค์กรดีขึ้นรวมทั้งการสื่อสารภายในองค์กรดีขึ้นด้วย ส่วนประโยชน์ที่มีต่อบุคลากร ได้แก่ บุคลากรมีการปรับตัวและมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น มีแรงจูงใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญคือ บุคลากรจะมีความสุขในการทำงาน มีความรักเพื่อนร่วมงานและองค์กรมากขึ้นด้วย สำหรับประเทศไทย มี 3 หน่วยงานที่มีองค์ความรู้และการดำเนินงานด้าน การจัดการความรู้อย่างกว้างขวาง คือ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) สำหรับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ ก.พ.ร. เน้นความสำคัญของผลประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับโดยได้ให้คำนิยามว่า การจัดการความรู้เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่หรือเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การสร้าง รวบรวม แลกเปลี่ยน และใช้ความรู้เป็นต้นแต่สำหรับ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เน้นประโยชน์ที่ทั้งบุคคลและองค์กรจะได้รับจากการจัดการความรู้ โดยนิยามว่า การจัดการความรู้คือกระบวนการที่ดำเนินการร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือหน่วยย่อยขององค์กร เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิม โดยมีเป้าหมายการพัฒนางานและพัฒนาคน (ประพนธ์ ผาสุขยืด, 2547) การปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนบ้านแม่สะแมง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขาดการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของการจัด การความรู้ ส่งผลให้การทำงานเป็นระบบและมีความต่อเนื่องค่อนข้างน้อย รวมถึงมีการนำเอาการจัดการความรู้หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management) มาเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานน้อย จึงทำให้องค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ไม่ได้ถูกนำมาใช้แลกเปลี่ยน ต่อยอดความรู้ใหม่แต่เป็น การทำงานซ้ำซ้อนกับคนอื่นที่ทำมาแล้ว ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ ให้ได้รับ การยอมรับในวงการศึกษามากขึ้น อาจจำเป็นต้องทำความชัดเจนกับสองประเด็น ประเด็นแรก คือ การจัดการความรู้คืออะไร ประเด็นที่สอง การจัดการความรู้จะให้อะไรกับการศึกษา ปัจจุบันเราพบกับสภาพการณ์ที่งบประมาณทางการศึกษามีอย่างจำกัด แต่โรงเรียนทุกแห่งก็ได้รับแรงกดดันที่จะต้องปรับปรุงคุณภาพ รวมไปถึงการจะต้องได้รับการประเมินภายนอกที่จะต้องมีหลักฐานร่องรอยของความก้าวหน้าที่ชัดเจน ความคาดหวังและแรงกดดันในด้านคุณภาพเกิดขึ้นในทุกระดับ ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา เมื่อมีแรงกดดันจากภายนอก สถานศึกษาทุกแห่งก็ต้องตรวจตรากันภายในให้เข้มขึ้น เพื่อทบทวนว่า การดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ สอดคล้องกับภารกิจหรือไม่ สถานศึกษาจะดำเนินการอย่างไรเพื่อสนองความต้องการของผู้เรียน กิจกรรมใดที่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนได้ผลสูงสุด คำถามเหล่านี้เป็นภาระและความรับผิดชอบของสถานศึกษาในการที่จะปรับปรุงคุณภาพผู้เรียนในบรรยากาศที่เพิ่มความเข้มข้นของการประกันคุณภาพภายในและภายนอก ทำให้ความต้องการข้อมูลและสารสนเทศสูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ผู้บริหารโรงเรียนมีหน้าที่เตรียมการในการรับการประเมินภายนอก และจะต้องรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ แต่ก็มักจะประสบปัญหาว่า ระบบข้อมูลที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองได้ เช่น ข้อมูลที่แสดงว่า คุณภาพครูเป็นอย่างไร ครูควรได้รับการพัฒนามากน้อยเพียงใด เพื่อจะสามารถก้าวได้ทันการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านมาตรฐานการศึกษา หลักสูตร และวิธีการเรียนการสอน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลข้างเคียงที่ครูและผู้บริหารจะต้องรู้ ในด้านความมั่นคงปลอดภัยของสถานศึกษา และข้อมูลด้านสุขภาพอนามัยของโรงเรียน จากสภาพการณ์ที่โรงเรียนจะต้องรับผิดชอบในการปรับปรุงคุณภาพ และภาวะในการที่ครู ผู้บริหารจะต้องเสียเวลาไปกับการเก็บรวบรวมข้อมูล เผยแพร่ข้อมูล และใช้ข้อมูลร่วมกัน สถานศึกษาต่าง ๆ จึงมีความเห็นพ้องกันว่า ความรู้เป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์กรซึ่งสถานศึกษาจะต้องหาทางที่จะเชื่อมความรู้ไปสู่การตัดสินใจและการดำเนินงานที่มีประสิทธิผลโดยการจัดการความรู้ การดำเนินงานการจัดการความรู้ในโรงเรียน ผู้บริหารได้เห็นความสำคัญของการจัดการความรู้มากขึ้นโดยให้คณะครูที่ได้รับการอบรมสัมมนาจะต้องนำความรู้ มาเผยแพร่ให้กับบุคลากรคนอื่น ๆ แต่ทุกคนจำกัดด้วยความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่แต่ละด้านของตนเองจึงไม่สามารถที่จะให้คนอื่นทดแทนงานด้านกันได้ เพราะขาดความรู้ที่แท้จริงในเรื่องที่ตนเองไม่ได้อบรมมาและไม่ได้รับผิดชอบงานนั้นและการเผยแพร่ความรู้ เป็นเพียงการนำเสนอแค่ภาพรวมสิ่งที่ได้อบรมหรือสัมมนาในรูปแบบไม่เป็นทางการในที่ประชุมเท่านั้น มีการจดบันทึกอยู่ ในเฉพาะสมุดบันทึกการประชุม ไม่ได้มี การเผยแพร่ความรู้อย่างละเอียดลึกซึ้งรวมถึงการไม่เปิดใจกว้างรับความรู้ จากบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ให้จึงส่งผลให้งานนั้นขาดประสิทธิภาพเพราะบุคลากรยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการความรู้ และบุคลากรของโรงเรียนมีอัตราการโยกย้ายหรือลาออกทุกภาคเรียน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมเป็นที่ราบเชิงเขาการเดินทางลำบาก และอยู่ห่างไกลจึงทำให้โรงเรียน ไม่สามารถรักษาองค์ความรู้ในตัวของแต่ละคนให้คงอยู่ได้ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนบ้านแม่สะแมงจึงมีความสนใจที่จะบูรณาการโครงการสถานศึกษาสีขาวกับการจัดการความรู้สู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพต่อไป
การปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน บ้านแม่สะแมง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขาดการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของการจัด การความรู้ ส่งผลให้การทำงานเป็นระบบและมีความต่อเนื่องค่อนข้างน้อย รวมถึงมีการนำเอา การจัดการความรู้หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management) มาเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานน้อย จึงทำให้องค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ไม่ได้ถูกนำมาใช้แลกเปลี่ยน ต่อยอดความรู้ใหม่แต่เป็น การทำงานซ้ำซ้อนกับคนอื่นที่ทำมาแล้ว ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ ให้ได้รับ การยอมรับในวงการศึกษามากขึ้น อาจจำเป็นต้องทำความชัดเจนกับสองประเด็น ประเด็นแรก คือ การจัดการความรู้คืออะไร ประเด็นที่สอง การจัดการความรู้จะให้อะไรกับการศึกษา ปัจจุบันเราพบกับสภาพการณ์ที่งบประมาณทางการศึกษามีอย่างจำกัด แต่โรงเรียนทุกแห่งก็ได้รับแรงกดดันที่จะต้องปรับปรุงคุณภาพ รวมไปถึงการจะต้องได้รับการประเมินภายนอกที่จะต้องมีหลักฐานร่องรอยของความก้าวหน้าที่ชัดเจน ความคาดหวังและแรงกดดันในด้านคุณภาพเกิดขึ้นในทุกระดับ ทั้งการศึกษา ขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา เมื่อมีแรงกดดันจากภายนอก สถานศึกษาทุกแห่งก็ต้องตรวจตรากันภายในให้เข้มขึ้น เพื่อทบทวนว่า การดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ สอดคล้องกับภารกิจหรือไม่ สถานศึกษาจะดำเนินการอย่างไรเพื่อสนองความต้องการของผู้เรียน กิจกรรมใดที่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนได้ผลสูงสุด คำถามเหล่านี้เป็นภาระและความรับผิดชอบของสถานศึกษาในการที่จะปรับปรุงคุณภาพผู้เรียนในบรรยากาศที่เพิ่มความเข้มข้นของการประกันคุณภาพภายในและภายนอก ทำให้ความต้องการข้อมูลและสารสนเทศสูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ผู้บริหารโรงเรียนมีหน้าที่เตรียมการ ในการรับการประเมินภายนอก และจะต้องรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ แต่ก็มักจะประสบปัญหาว่า ระบบข้อมูลที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองได้ เช่น ข้อมูลที่แสดงว่า คุณภาพครูเป็นอย่างไร ครูควรได้รับการพัฒนามากน้อยเพียงใด เพื่อจะสามารถก้าวได้ทันการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านมาตรฐานการศึกษา หลักสูตร และวิธีการเรียนการสอน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลข้างเคียงที่ครูและผู้บริหารจะต้องรู้ ในด้านความมั่นคงปลอดภัยของสถานศึกษา และข้อมูลด้านสุขภาพอนามัยของโรงเรียน จากสภาพการณ์ที่โรงเรียนจะต้องรับผิดชอบในการปรับปรุงคุณภาพ และภาวะในการที่ครู ผู้บริหารจะต้องเสียเวลาไปกับการเก็บรวบรวมข้อมูล เผยแพร่ข้อมูล และใช้ข้อมูลร่วมกัน สถานศึกษาต่าง ๆ จึงมีความเห็นพ้องกันว่า ความรู้เป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์กรซึ่งสถานศึกษาจะต้องหาทางที่จะเชื่อมความรู้ไปสู่การตัดสินใจและการดำเนินงานที่มีประสิทธิผลโดยการจัดการความรู้ การดำเนินงานการจัดการความรู้ในโรงเรียน ผู้บริหารได้เห็นความสำคัญของการจัดการความรู้มากขึ้นโดยให้คณะครูที่ได้รับการอบรมสัมมนาจะต้องนำความรู้ มาเผยแพร่ให้กับบุคลากรคนอื่น ๆ แต่ทุกคนจำกัดด้วยความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่แต่ละด้านของตนเองจึงไม่สามารถที่จะให้คนอื่นทดแทนงานด้านกันได้ เพราะขาดความรู้ที่แท้จริงในเรื่องที่ตนเองไม่ได้อบรมมาและไม่ได้รับผิดชอบงานนั้นและการเผยแพร่ความรู้ เป็นเพียงการนำเสนอแค่ภาพรวมสิ่งที่ได้อบรมหรือสัมมนาในรูปแบบไม่เป็นทางการในที่ประชุมเท่านั้น มีการจดบันทึกอยู่ ในเฉพาะสมุดบันทึกการประชุม ไม่ได้มี การเผยแพร่ความรู้ อย่างละเอียดลึกซึ้งรวมถึงการไม่เปิดใจกว้างรับความรู้ จากบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ให้จึงส่งผลให้งานนั้นขาดประสิทธิภาพเพราะบุคลากรยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการความรู้ และบุคลากรของโรงเรียน มีอัตราการโยกย้ายหรือลาออกทุกภาคเรียน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมเป็นที่ราบเชิงเขาการเดินทางลำบาก และอยู่ห่างไกลจึงทำให้โรงเรียน ไม่สามารถรักษาองค์ความรู้ในตัวของแต่ละคนให้คงอยู่ได้ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนบ้านแม่สะแมงจึงมีความสนใจที่จะบูรณาการโครงการสถานศึกษาสีขาวกับการจัดการความรู้สู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด บุหรี่ แอลกอฮอล์ โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การติดเกมส์และอบายมุขในสถานศึกษา
2) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
3) เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) ผู้เรียนปลอดภัย ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2) เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
3) ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
4. ขอบเขตการศึกษา
ขอบเขตด้านเนื้อหา
บูรณาการโครงการสถานศึกษาสีขาวกับการจัดการความรู้สู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการจัดการความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) (2548, หน้า 5 - 6) ประกอบด้วยกิจกรรม 7 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 - 6 เป็นขั้นตอนการจัดการความรู้ และขั้นตอนที่ 7 เป็นการเรียนรู้ ดังนี้
1) การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)
2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge creation and Acquisition)
3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
4) การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
5) การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
7) การเรียนรู้ (Learning)
แผนภาพ การจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน (กพร.)
5. นิยามศัพท์เฉพาะ
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้นิยามศัพท์เฉพาะ ดังต่อไปนี้
ผู้อำนวยการสถานศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านแม่สะแมง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลัก ด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ของโรงเรียนบ้านแม่สะแมง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่กำกับการดำเนินกิจการของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น ร่วมไปถึงส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการกิจการด้านต่าง ๆ ของของโรงเรียนบ้านแม่สะแมง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
หัวหน้าช่วงชั้น มีหน้าที่ ช่วยเหลืองานในทุก ๆ ด้านของฝ่ายการเรียน ฝ่ายการงาน ฝ่ายกิจกรรม ฝ่ายสารวัตรนักเรียน และให้คำแนะนำ คำอธิบาย ชี้แนะ และนำเสนอเป็นภาพรวมของโรงเรียน
ฝ่ายการเรียน มีหน้าที่ ช่วยเหลือในด้านวิชาการเกี่ยวกับการเรียน การบ้าน โครงงาน หรือปัญหาการเรียนในห้องเรียน ต้องรับผิดชอบแก้ไขช่วยเหลือ และให้คำแนะนำ คำอธิบาย ชี้แนะ แหล่งเรียนรู้ และนำเสนอครูที่ปรึกษา
ฝ่ายการงาน มีหน้าที่ ดูแลความสะอาดเรียบร้อยในห้องเรียน รักษาของมีค่าและทรัพย์สมบัติของห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุด ป้องกันอุบัติเหตุภายในห้องเรียน จัดสภาพสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนให้น่าเรียน และป้องกันไม่ให้มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นในห้องเรียน
ฝ่ายกิจกรรม มีหน้าที่ จัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ทั้งในห้องเรียน และกิจกรรมในทุกระดับชั้น เช่น การเล่นดนตรี กีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม และจัดกิจกรรมในกลุ่มสนใจของเพื่อนๆ เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่ไปมั่วสุมหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ฝ่ายสารวัตรนักเรียน มีหน้าที่ สอดส่องดูแลความเรียบร้อยทั้งในห้องเรียนและมุมอับ เช่น ห้องน้ำ หรือที่บริเวณอาคาร แหล่งที่ไปมั่วสุมสูบบุหรี่ ดูแลเพื่อน หากมีพฤติกรรมที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือพฤติกรรมเสี่ยง รวมทั้งปัญหาส่วนตัวในด้านต่าง ๆ ให้คณะกรรมการห้องเรียนแก้ไข แต่หากไม่สามารถแก้ไขได้ ให้นักเรียนบอกครูที่ปรึกษาเพื่อแก้ไขต่อไป
การจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการในการเรียนรู้คนในองค์กรโดยอาศัยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีปฏิสัมพันธ์กันของคนในองค์กรเดียวกัน และนำความรู้ที่ได้มาโดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร รูปแบบการจัดการความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ประกอบด้วยกิจกรรม 7 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 - 6 เป็นขั้นตอนการจัดการความรู้ และขั้นตอนที่ 7 เป็นการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge creation and Acquisition) 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) 5) การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) และ 7) การเรียนรู้ (Learning) ของโรงเรียนบ้านแม่สะแมง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) หมายถึง การพิจารณา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายขององค์กรเป็นอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เราจำเป็นต้องรู้อะไร ขณะนี้เรารู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร ของโรงเรียนบ้านแม่สะแมง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge creation and Acquisition) หมายถึง การทำให้เกิดความรู้ใหม่ อาจจะเป็นการแสวงหาความรู้จากภายนอก การรักษาความรู้เก่า และการกำจัดความรู้ที่ไม่ใช่แล้ว ของโรงเรียนบ้านแม่สะแมง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) หมายถึง เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคตของโรงเรียนบ้านแม่สะแมง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) หมายถึง การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ทำให้เนื้อหาถูกต้องสมบูรณ์ ของโรงเรียน บ้านแม่สะแมง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) หมายถึง การทำให้ผู้ที่ต้องใช้ความรู้ สามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายและสะดวก เช่น การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือรูปแบบอื่น ๆ ที่ของโรงเรียนบ้านแม่สะแมง อำเภอ แม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) หมายถึงการนำความรู้มาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนซึ่งถ้าเป็นความรู้แบบชัดแจ้งอาจจะทำเป็นเอกสาร หรืออยู่ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือถ้าเป็นความรู้ฝังลึก อาจจะใช้เครื่องมือจัดการความรู้มาช่วยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การตั้งชุมชน ผู้ปฏิบัติ เพื่อนช่วยเพื่อน ของโรงเรียนบ้านแม่สะแมง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง การทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงานที่ทำ และมีงาน ทำให้วงจรการจัดการความรู้หมุนต่อเนื่องไป ขยายไปสู่ทุกหน่วยในองค์กรและในกระบวนการทำงานทุกอย่างขององค์กร ของโรงเรียนบ้านแม่สะแมง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (อังกฤษ: Ordinary National Educational Test) เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์รวบยอดของผู้เรียนที่ต้องการวัดผ่านการจัดการทดสอบในระดับชาติ โดยมีสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นผู้ดำเนินการออกข้อสอบและจัดสอบทั่วประเทศ
O-NET หรือ มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Ordinary National Education Test คือ การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานที่ถูกจัดสอบขึ้นโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. ซึ่งเป็นการจัดสอบสำหรับนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 เพื่อชี้วัดคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษานักเรียนและโรงเรียน