ชื่อเรื่อง : เรื่อง การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3
ผู้วิจัย นายอนันต์ มีพจนา
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 3) พัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษาของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3และ 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ระหว่างปีการศึกษา 2563 ได้แก่ 1) คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 133 คน 2) ศึกษานิเทศก์จากเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 5คน 4) ผู้แทนผู้ปกครอง จำนวน 354 คน โดยใช้แบบตรวจสอบและยืนยันองค์ประกอบของเครือข่ายความร่วมมือและตัวชี้วัดโดยผู้ทรงคุณวุฒิและแบบสอบถามระดับการปฏิบัติการจัดการเครือข่าย ความร่วมมือและการจัดการเครือข่ายความร่วมมือที่พึงประสงค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าดัชนีค่าสอดคล้อง (IOC) แลการประเมินความต้องการจำเป็น (Needs Assessment) โดยใช้เทคนิคการจัดลำดับสำหรับข้อมูลแบบการตอบสนองคู่ (Dual - Response Format) ด้วยการวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index : PNI modified)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. องค์ประกอบของการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ประกอบด้วย 8องค์ประกอบ คือ ด้านการปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการมีส่วนร่วมด้านความไว้วางใจ ด้านการสร้างความตระหนักร่วม ด้านการสร้างพันธกรณี ด้านการตัดสินใจร่วม และด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ผลการตรวจสอบและยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า องค์ประกอบ ของการจัดการเครือข่ายความร่วมมือมีความเหมาะสมและสอดคล้องในทุกองค์ประกอบและตัวชี้วัด โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันโดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการสร้างพันธกรณีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ในขณะที่ด้านความไว้วางใจมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนสภาพ ที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ด้านการตัดสินใจร่วม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ในขณะที่ด้านการมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดและความต้องการจำเป็น คือ ด้านการปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน มีค่าสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความไว้วางใจ ด้านการปฏิบัติกิจกรรมร่วม ด้านการสร้างความตระหนักร่วม ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการตัดสินใจร่วม และด้านการสร้างพันธกรณี
3. รูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 มี 4 กระบวนการ คือ 1) การวางแผนและสร้างข้อตกลงร่วม 2) การปฏิบัติงานด้วยความกระตือรือร้น 3) การทบทวนผลการดำเนินงาน และ 4) การประเมินผลการดำเนินงาน ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน พบว่า มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม มีความถูกต้อง และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก
4. ผลการนำรูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ไปใช้ ปรากฏ ดังนี้
1) ผลการประเมินการจัดการเครือข่ายความร่วมมือโดยผู้เข้ารับการพัฒนาประเมินตนเอง พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีระดับการพัฒนาการจัดการเครือข่ายความร่วมมือก่อนการพัฒนาโดยรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง และหลังการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
2) ผลการเปรียบเทียบระดับการบริหารเครือข่ายความร่วมมือกรณีผู้เข้ารับการพัฒนาประเมินตนเองก่อนและหลังการพัฒนา พบว่า หลังการพัฒนาสูงขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา
3) การติดตามผลหลังการพัฒนา โดยทำผลการประเมินระดับการจัดการเครือข่าย ความร่วมมือ โดยทาการประเมิน 4 ระดับ คือ การประเมินระดับปฏิกิริยา (Reaction) ระดับการเรียนรู้(Learning) ระดับพฤติกรรม (Behavior) และระดับผลลัพธ์ (Results) โดยกลุ่มผู้ประเมิน 3 กลุ่ม พบว่า
โดยรวมทุกระดับอยู่ในระดับมากที่สุด