การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ (4) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจ และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนระยองวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 19 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 560 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนระยองวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เนื่องจากโรงเรียนจัดห้องแบบคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี ดังนี้ (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน12 กิจกรรม (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ (3) แบบแสดงความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ (4) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม โดยวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที t test (dependent) และหาค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ฯ (E1/ E2)
ผลการวิจัยและพัฒนาปรากฏ ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เป็นการออกแบบและการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนใช้ความสามารถด้านพหุปัญญาของแต่ละคนมาปรับใช้ประกอบการทำกิจกรรมและฝึกปฏิบัติตามที่ปรากฏในเรื่องที่เรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ โดยครูจัดสถานการณ์สื่อและกิจกรรมใบงานที่เอื้อให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความสามารถทางปัญญาด้านต่าง ๆ ในลักษณะของการเรียนทั้งรายบุคคลและเป็นแบบกลุ่มย่อย และผลการสอบถามความคิดเห็น และความต้องการของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า มีความคิดเห็น และต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1. คำนำ 2. คำชี้แจง 3. คำแนะนำ การใช้ 4. สาระ และมาตรฐานการเรียนรู้ 5. แบบทดสอบก่อนเรียน 6. ใบความรู้ 7. แบบฝึก 8. แบบทดสอบหลังเรียน 9. เฉลย 10. แบบบันทึกคะแนน และ 11. บรรณานุกรม รูปแบบการจัด การเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบ่งออกเป็น 12 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 Standing up For Oneself กิจกรรม ที่ 2 Overcoming Chaallenges กิจกรรมที่ 3 Fighting For Your Right กิจกรรมที่ 4 Chasing Your Dreams กิจกรรมที่ 5 Making a Change กิจกรรมที่ 6 Unity in Diversity กิจกรรมที่ 7 Going Green กิจกรรมที่ 8 Preserving Culture กิจกรรมที่ 9 Tracing your Roots กิจกรรมที่ 10 Mamaging Finacesกิจกรรมที่ 11 Valuing Ralationship และกิจกรรมที่ 12 Moving Forward ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) ขั้นสร้างความสนใจและตรวจสอบความรู้พื้นฐาน (2) ขั้นเรียนรู้เนื้อหาใหม่ (3) ขั้นอธิบายและสรุปความรู้ (4) ขั้นฝึกทักษะและการนำความรู้ไปใช้ และ (5) ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพ(E1/E2) แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 64.24/65.56 ค่าประสิทธิภาพแบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 67.31/67.41 และค่าประสิทธิภาพแบบภาคสนาม (Field Tryout) เท่ากับ 81.26/82.44 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า รูปแบบการจัด การเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.66/87.42 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 และนักเรียนมีความกระตือรือร้นให้ความสนใจกับการเรียนรู้ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี กล้าแสดงความคิดเห็น และปฏิบัติกิจกรรมได้เสร็จตามเวลาที่กำหนด
4. ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.71
4.3 พฤติกรรมการทำงานกลุ่มโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนทุกกลุ่ม โดยรวมกันทุกรายการมีค่าเฉลี่ย ( = 2.69) อยู่ในระดับดี