ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต
โรงเรียนบ้านใสถิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวปิลันธนา ขวัญทองยิ้ม
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนบ้านใสถิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPPเModel)เประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตเโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเ1) ประเมินบริบท (ContextเEvaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2)เประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ระบบบริหารจัดการ งบประมาณและทรัพยากร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์และด้านหน่วยงานสนับสนุนเ3)เประเมินกระบวนการเ(ProcessเEvaluation)เเกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินการในแต่ละกิจกรรม การนิเทศกำกับติดตามผล การประเมินผล การสรุปและรายงานผล 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับคุณลักษณะนิสัยรักการอ่าน นิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนและการนำความรู้และทักษะด้านการอ่านไปใช้ในการพัฒนาตนเอง รวมทั้งประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านใสถิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ในปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น จำนวน 89 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (PurposiveเRandom Sampling) จำนวน 43 คน ได้แก่ ครู จำนวน 4 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 16 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 16 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมตัวแทนครูและผู้บริหารโรงเรียน) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินบริบท ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ จำแนกเป็น 5 ตัวชี้วัด มีข้อคำถาม จำนวน 37 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.88 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ จำแนกเป็น 5 ตัวชี้วัด มีข้อคำถาม จำนวน 36 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.84 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินกระบวนการ ประเมินระหว่างดำเนินงานโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด ข้อคำถาม จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินผลผลิต ประเมินหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานโครงการ มีจำนวน 3 ตัวชี้วัด มีข้อคำถาม จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 ประเมินโดยครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ มีข้อคำถาม จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ประเมินโดยนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถามตามประเด็นการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows 16.0
ผลการประเมิน
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความเป็นไปได้ของโครงการและการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ มีความเหมาะสมมากที่สุดเรองลงมาคือด้านความพร้อมของบุคลากร ด้านระบบบริหารจัดการ ด้านหน่วยงานสนับสนุนและด้านงบประมาณและทรัพยากร ตามลำดับ
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า การวางแผนดำเนินงานมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประเมินผล ด้านการสรุปและรายงานผล ด้านการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมและด้านการนิเทศกำกับติดตามผล ตามลำดับ
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนบ้านใสถิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านคุณลักษณะนิสัยรักการอ่าน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนและด้านการนำความรู้และทักษะด้านการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตามลำดับ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด