รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองเขียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 3 ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเขียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (Context Input Process Product Evaluation Model : CIPP Model) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจ การดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเขียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อรายงานผลคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ครู จำนวน 28 คน ผู้เรียน จำนวน 248 คน ผู้ปกครอง จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านหนองเขียวสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ปีการศึกษา 2563 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPP Model สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านหนองเขียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( x̄=4.24, SD.=3.16) และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผลผลิต (Product) ตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามโดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากสูงสุด ( x̄=4.26, SD.=3.19) รองลงมา คือ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ( x̄=4.25, SD.=3.17) และด้านกระบวนการ (Process) ( x̄=4.23, SD.=3.16) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ( x̄=4.21, SD.=3.13)ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อปรากฏว่า ในการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบดูแลนักเรียน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 และสภาวการณ์ปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด ( x̄=4.27, SD.=3.19) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อปรากฏว่าในการดำเนินงานด้านมีคณะกรรมการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากสูงสุด ( x̄=4.32, SD.=3.23) ด้านกระบวนการ (Process) โดยภาพรวมมีระดับการดำเนินงานตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อปรากฏว่า การนำผลการติดตามและประเมินผลมาเป็นแนวทางการปรับปรุงการดำเนินการกิจกรรมต่างๆอย่างเหมาะสม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับสูงสุด ( x̄=4.30, SD.=3.22) ด้านผลผลิต (Product) โดยภาพรวมมีระดับการดำเนินงานตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อปรากฏว่า โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างรอบด้าน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากสูงสุด ( x̄=4.35, SD.=3.27)
2. ผลของความพึงพอใจเกี่ยวกับโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้าน หนองเขียวสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ปีการศึกษา 2563 สรุปประเด็นได้ดังนี้
โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄=4.23, SD.=3.15) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าความ พึงพอใจในการออกเยี่ยมบ้านของครูที่ปรึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄=4.38, SD.=3.29) รองลงมาคือ ความพึงพอใจในการที่ทางโรงเรียนมีโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ( x̄=4.37, SD.=3.27) และความพึงพอใจที่จะให้ทางโรงเรียนดำเนินการตามโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนนี้ต่อไป ( x̄=4.36, SD.=3.27) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมแนะแนว ( x̄=4.07, SD.=3.01)
จากการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเขียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (Context Input Process Product Evaluation Model : CIPP Model) ประกอบด้วย ด้านการประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) และ ผลสำรวจความพึงพอใจ จะเห็นได้ว่าการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเขียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ปีการศึกษา 2563 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียนและผู้ปกครอง ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก การดำเนินการโครงการตามการประเมินทั้ง 4 ด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน ทั้งนี้น่าจะเนื่องมาจาก ทุกขั้นตอนดำเนินการอย่างเป็นระบบ ผลการประเมินจึงมีความเชื่อมั่นและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนั้นจึงเห็นสมควรให้ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาต่อไป