5.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ข้อมูลด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านภาษาอังกฤษของประเทศไทยในภาพรวมที่ผ่านมานับเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อดูผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) มีค่าเฉลี่ยต่ำมากเมื่อเทียบกับผลสัมฤทธิ์กลุ่มสาระอื่น ๆ ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมี ข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี (ปีพ.ศ. 2560 2562) พบว่า ผลการทดสอบทางการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของระดับประเทศต่ำมาอย่างต่อเนื่อง มีคะแนนไม่เกินร้อยละ 40 ทุกปี และวิชาภาษาไทยผลการทดสอบทางการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของระดับประเทศต่ำ มาอย่างต่อเนื่อง
โรงเรียนวัดงิ้วราย(พินพิทยาคาร) เห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหาแนวทาง ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อจะได้ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษและภาษาไทยให้สูงขึ้น และให้สอดคล้องกับการที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายการปฏิรูปการเรียน การสอนภาษาอังกฤษและภาษาไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและคณะครูจึงร่วมกันสร้างรูปแบบการนิเทศ Nguirai Coaching Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนของครู แบบActive Learning ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ให้มีผลการทดสอบระดับชาติ NTและ O-net ให้มีพัฒนาการสูงขึ้น
6. วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมครูให้จัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning
2. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ NT และ O-NET ให้สูงขึ้น
3. เพื่อส่งเสริมกระบวนการนิเทศของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
7. กลุ่มเป้าหมาย
ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มตัวอย่างที่ใช้โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ครูผู้สอน โรงเรียนวัดงิ้วราย(พินพิทยาคาร) อำเภอนครชัยศรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต2 จำนวน 12 คน
8. หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้
การใช้รูปแบบการนิเทศ Nguirai Coaching Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนของครู แบบActive Learning ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โรงเรียนวัดงิ้วราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
รูปแบบกระบวนการนิเทศ Nguirai Coaching Model
9. การออกแบบนวัตกรรม
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์บริบท ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ
ขั้นที่ 2 การวางแผน
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการนิเทศ การปฏิบัติการนิเทศ
ขั้นที่ 4 การประเมินผล ปรับปรุงพัฒนา
ขั้นที่ 5 สรุปรายงานผลการดำเนินการ/นิเทศ
10. วิธีดำเนินการ
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์บริบท ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ
1.1 วิเคราะห์บริบท วิเคราะห์ข้อมูลจากตัวบ่งชี้คุณภาพต่าง ๆ
1.2 สำรวจความต้องการ
1.3 ลำดับความสำคัญของปัญหา ความต้องการ
1.4 วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา จัดลำดับความสำคัญของปัญหา กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา ดำเนินงานตามความต้องการ
ขั้นที่ 2 การวางแผน
2.1 ประชุม วางแผนร่วมกับคณะครู
2.2 การจัดทำโครงการนิเทศภายในสถานศึกษา
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการนิเทศ การปฏิบัติการนิเทศ
ขั้นที่ 4 การประเมินผล ปรับปรุงพัฒนา
4.1 ประเมินการดำเนินงานทุกขั้นตอน/ปรับปรุงพัฒนา
4.2 ประเมินกระบวนการ/ปรับปรุงพัฒนา
4.3 ประเมินความพึงพอใจของครู
ขั้นที่ 5 สรุปรายงานผลการดำเนินการ/นิเทศ
ระยะเวลาการดำเนินการ
ปีการศึกษา 2562 ถึงปัจจุบัน
งบประมาณ
งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 8,000 บาท
11. ผลการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม
1) ผลที่เกิดต่อผู้บริหาร
1. ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดActive Learning
2. ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดActive Learning ทุกกลุ่มสาระผ่านกระบวนการชุมชนวิชาชีพ PLC
3. ผู้บริหารนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลได้อย่างมีประสิทธิผล
2) ผลที่เกิดต่อครู
1. ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดActive Learning
2. ครูมีเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดActive Learning ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ครูมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดActive Learning ทุกกลุ่มสาระผ่านกระบวนการชุมชนวิชาชีพ PLC
3) ผลที่เกิดต่อนักเรียน
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ(NT,O-NET)ที่สูงขึ้น
2. นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนที่ดีขึ้น
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้