แบบการนำเสนอผลงานสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practices )
ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย
ความสำคัญของผลงาน นวัตกรรม หรือแนวปฏิบัติที่นำเสนอจุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัย สรุปได้ว่า การคิดวิจารณญาณเป็นความสามารถของสมองอย่างหนึ่งที่สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย และความสามารถในการคิดวิจารณญาณจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุวัย
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยวิธีโครงการ เป็นการทำภารกิจที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของครู ตั้งแต่การคิดโครงงาน การวางแผนดำเนินการ การออกแบบ การลงมือปฏิบัติ รวมทั้งร่วมกำหนดแนวทางการวัด และประเมินผล (กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๓๓, หน้า ๕) และ เปลว ปุริสาร (๒๕๔๓ หน้า ๔๘) ได้ศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ พบว่า เด็กปฐมวัยทั้งที่มีระดับความสามารถในการแก้ปัญหาสูงและระดับความสามารถในการแก้ปัญหาต่ำ หลังจากได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการแล้วมีระดับความสามารถในการแก้ปัญหาสูงขึ้น
จากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า การสอนแบบโครงการ (Project Approach) เป็น การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับนักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้
จากการที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติการสอนนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๓ /๓ โรงเรียนอนุบาลแม่ฮ่องสอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑ พบว่า นักเรียนมีความสามารถ ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ได้ไม่เหมาะสมตามวัยและไม่สามารถเชื่อมโยงหรือสรุปผลในการทำกิจกรรมนั้น ๆ ได้
ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นครูผู้สอนนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๓ /๓ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และสนใจที่การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณให้กับนักเรียนอนุบาลปีที่ ๓/๓ โรงเรียนอนุบาลแม่ฮ่องสอน เพราะการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการเป็นรูปแบบการสอนวิธีหนึ่งที่ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจของนักเรียน นักเรียนมีโอกาสเลือกหัวข้อ ในการเรียนหรือเรื่องที่ตรงกับความต้องการมีการบูรณาการวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน นักเรียนได้คิด ตัดสินใจ และสืบค้นหาคำตอบด้วยตนเองอย่างเป็นลำดับขั้นตอน จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่หลากหลาย โดยมีครูเป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของนักเรียน การจัดทำโครงการอาจทำเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคลได้ และสามารถยืดหยุ่นได้ตามสนใจและความต้องการของนักเรียน การจัดประสบการณ์แบบโครงการ เรื่อง ผักกาด จึงเป็นวิธีการที่สามารถพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามวัยได้
๔.๑ เพื่อพัฒนาความรู้ในการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ( Project Approach ) เรื่อง ผักกาด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๓ /๓
๔.๒ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๓ /๓
เป้าหมาย
๑. ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๓ /๓ มีความรู้ในการทำกิจกรรมแบบโครงการ ( Project Approach ) เรื่อง ผักกาด
๒. ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๓ /๓ มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
๕. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
๕.๑ กระบวนการผลิตผลงาน
กรอบแนวคิดของการจัดประสบการณ์
๕.๒ ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑. การวางแผน ( Plan )
๑.๑ ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา มาตรฐานที่ ๑๐ มีความสามารถในการคิดเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
๑.๒ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
๑.๓ กำหนดระยะเวลาในการพัฒนาเด็ก จำนวน ๔ สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๔ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
๑.๔ สร้างแบบประเมินความรู้ในการทำกิจกรรมแบบโครงการและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณาญาณโดยศึกษาหลักสูตร ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พัฒนา ปรับปรุงและนำไปใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ ๓/๓ โดยใช้เกณฑ์การประเมิน
ปฏิบัติ ( Do )
๒.๑ จัดประสบการณ์แบบโครงการ นำแผนการจัดประสบการณ์ นำไปสอนนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๓/๓ เป็นระยะเวลา ๔ สัปดาห์ ระหว่างวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๔ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ โดยจัดกิจกรรมดังนี้
๓. ตรวจสอบ ( Check )
๓.๑ สรุปผลการประเมินความรู้ในการทำกิจกรรมแบบโครงการและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข พัฒนาให้ดีขึ้นและนำไปพัฒนาในรูปแบบอื่น ๆ ต่อไป
๔. ปรับปรุง ( Action)
๔.๑ นำผลงานนำเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและรายงานต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานกิจกรรมครั้งต่อไปและเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนระดับชั้นอื่น ๆ เพื่อสามารถนำไปเผยแพร่ได้