ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดเพลง
(หรีดศรัทธาประชานุกูล) อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน นางสาวนิภารัตน์ จันทอน
สาขา สายงานการบริหารการศึกษา
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดเพลง (หรีดศรัทธาประชานุกูล) อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดเพลง (หรีดศรัทธาประชานุกูล) 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดเพลง(หรีดศรัทธาประชานุกูล) 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดเพลง (หรีดศรัทธาประชานุกูล) 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตและความพึงพอใจของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดเพลง (หรีดศรัทธาประชานุกูล) ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ครู จำนวน 16 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน นักเรียน จำนวน 112 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 112 คน เป็นประชากรและกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 255 คน การประเมินในครั้งนี้ใช้รูปแบบประยุกต์การประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบประเมินจำนวน 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (μ , ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ, S.D.)
ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดเพลง (หรีดศรัทธาประชานุกูล) อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ในภาพรวม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( =4.46 , S.D=0.21) เมื่อพิจารณาผลการประเมินแยกเป็นรายด้าน สรุปได้ดังนี้
1. ด้านบริบท (Context) โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดเพลง(หรีดศรัทธาประชานุกูล) อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.50 , σ=0.25) พบว่า ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินโครงการ วัตถุประสงค์โครงการสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม วัตถุประสงค์โครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ โครงการมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดเพลง (หรีดศรัทธาประชานุกูล) อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.21 , σ=0.23) พบว่า ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหาร ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูให้ความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถานที่ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความเหมาะสม รูปแบบกิจกรรมตรงกับสภาพปัญหาของนักเรียน
3. ด้านกระบวนการ (Process) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดเพลง (หรีดศรัทธาประชานุกูล) อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.47 , σ=0.19) พบว่า มีการจัดครูที่ปรึกษาดูแลนักเรียนทุกชั้นเรียน มีการติดต่อประสานงานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครูประจำชั้นออกเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคน มีการใช้ระเบียนสะสมและผลการประเมินพฤติกรรมเด็กและผลการศึกษานักเรียนในวิธีการและเครื่องมืออื่น ๆ หรือการคัดกรองนักเรียน มีการจัดทำระเบียนสะสมของนักเรียนทุกคนเป็นปัจจุบัน
4. ด้านผลผลิต (Product) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดเพลง (หรีดศรัทธาประชานุกูล) อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ตามความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.65 , S.D =0.18) พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตรทุกรายวิชา นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการทำงาน นักเรียนมีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและได้ผลงานที่มีคุณภาพ นักเรียนมีความเป็นอยู่ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับตนเอง
5. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดเพลง (หรีดศรัทธาประชานุกูล) ตามความคิดเห็นของครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55 , S.D =0.14) พบว่า นักเรียนนำประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักเรียนมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น ทำการบ้าน กิจกรรมของโครงการมุ่งส่งเสริมการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างแท้จริง โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนได้ กิจกรรมของโครงการเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน กิจกรรมของโครงการส่งผลให้นักเรียนเป็นคนเก่ง ดีและมีความสุข แสดงให้เห็นว่านักเรียนและผู้ปกครองพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน