บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Intensive English Program : IEP) เพื่อพัฒนาทักษะ และส่งเสริมความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
ผู้ศึกษา นางจิราวรรณ หัตถกิจ
ปีการศึกษา 2564
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม(Intensive English Program : IEP) เพื่อพัฒนาทักษะและส่งเสริมความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ(Quantitative and Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม(Intensive English Program : IEP) ทั้งระบบโดยใช้รูป แบบการประเมิน CIPP Model ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม(Daniel L. Stufflebeam) 2) พัฒนาทักษะและส่งเสริมความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Intensive English Program : IEP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม(Intensive English Program : IEP) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยมีกลุ่มประชากร จำนวน 177 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ/คณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 15 คน ครูผู้สอนภาษาอังกฤษแบบเข้ม (IEP) เป็นครูชาวต่างชาติและครูไทย จำนวน 6 คน ครูประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จำนวน 16 คน ผู้ปกครองนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ จำนวน 24 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนวัฒนานครที่อยู่นอกโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม (IEP) จำนวน 101 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ โดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 24 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 ปีการศึกษา 2563 เป็นนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม (IEP) ของโรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย(Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) จากเครื่องมือที่ทำ การวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจ ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนกับสิ้นสุดการเรียน ด้านการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา(Content analysis) เมื่อสิ้นสุดโครงการเป็นเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็น แบบสัมภาษณ์กลุ่ม(Group Interview)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิจัยเชิงปริมาณ
1.1 โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม(Intensive English Program : IEP) ทั้งระบบโดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) โดยรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.34 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.69 พิจารณารายด้าน ดังนี้
ด้านบริบท (Context : C) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.33 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.68 อยู่ในระดับ มากที่สุด
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input : I) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.43 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.68 อยู่ในระดับ มากที่สุด
ด้านกระบวนการ (Process : P) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.26 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.73 อยู่ในระดับ มากที่สุด
ด้านผลผลิต (Product : P) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.33 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.65 อยู่ในระดับ มากที่สุด
1.2 พัฒนาทักษะ และส่งเสริมความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษแบบเข้ม (IEP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำนวน 24 คน มีผลการประเมินด้านการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนที่มีเกรด 4 จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 37.50 เกรด 3.5 จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 29.16 และเกรด 3 จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33
1.3 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม(Intensive English Program : IEP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.48 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.59 พิจารณารายด้าน ดังนี้
ด้านบริบท (Context : C) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.52 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.57 อยู่ในระดับ มากที่สุด
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input : I) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.47 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.59 อยู่ในระดับ มากที่สุด
ด้านกระบวนการ (Process : P) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.46 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.60 อยู่ในระดับ มากที่สุด
ด้านผลผลิต (Product : P) มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 4.46 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.61 อยู่ในระดับ มากที่สุด
2. ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ
สรุปผลจากการสัมภาษณ์ครูชาวต่างขาติ จำนวน 3 คน ครูไทย จำนวน 10 คน และ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 จำนวน 24 คน พบว่า
ด้านบริบท (Context : C) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน
วัฒนานคร และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 ให้การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน
สนับสนุนงบประมาณ สื่อการสอน สื่อมัลติมีเดียเป็นอย่างดี
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input : I) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 จำนวน 24 คน ปีการศึกษา2563 เป็นนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม (IEP) โดยการคัดเลือก และ ความสมัครใจของผู้ปกครอง เมื่อผ่านโครงการนี้ ได้พัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะในการใช้ภาษา และมีประสบการณ์ด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
ด้านกระบวนการ (Process : P) การใช้กลยุทธ์การสอน Learn and do to be success สามารถพัฒนาทักษะ และส่งเสริมความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีและความรู้สึกชอบภาษาอังกฤษมากขึ้น
ด้านผลผลิต (Product : P) ผลการวัดผลและประเมินผลระหว่างการเรียน และสิ้นสุด การเรียนการสอนของนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม (IEP) สามารถพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษต่อยอดต่อไปในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และสามารถเป็นห้องเรียนนำร่องโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้ม (Intensive English Program : IEP) ต่อเนื่องถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษาต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเกณฑ์