ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะการปฏิบัติวงเครื่องสายไทยเบื้องต้นร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PDCA (Deming Cycle) สำหรับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ดนตรีไทยของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค)
ผู้ศึกษา นายอนุรักษ์ บุญพยนต์
สถาบัน โรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค)
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดฝึกทักษะการปฏิบัติวงเครื่องสายไทยเบื้องต้นร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PDCA (Deming Cycle) สำหรับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ดนตรีไทยของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการปฏิบัติวงเครื่องสายไทยเบื้องต้นร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PDCA (Deming Cycle) สำหรับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ดนตรีไทยของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติวงเครื่องสายไทยเบื้องต้นร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PDCA (Deming Cycle) สำหรับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ดนตรีไทยของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ได้แก่ เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับวงเครื่องสายไทยเบื้องต้นของนักเรียน หลังเรียนกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติวงเครื่องสายไทยเบื้องต้นของนักเรียน หลังเรียนกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการปฏิบัติวงเครื่องสายไทยเบื้องต้นร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PDCA (Deming Cycle) สำหรับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ดนตรีไทยของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ดนตรีไทย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติวงเครื่องสายไทยเบื้องต้น สำหรับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ดนตรีไทยของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) 2) แผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PDCA (Deming Cycle) สำหรับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ดนตรีไทย แบ่งเป็น 6 เรื่อง 3) แบบทดสอบวัดความรู้เรื่องวงเครื่องสายไทยเบื้องต้นภายหลังการใช้ชุดฝึกทักษะฯ 4) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติวงเครื่องสายไทยเบื้องต้นหลังการใช้ชุดฝึก 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า
1. ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติวงเครื่องสายไทยเบื้องต้นร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PDCA (Deming Cycle) สำหรับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ดนตรีไทยของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.43/84.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลการทดลองใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติวงเครื่องสายไทยเบื้องต้นร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PDCA (Deming Cycle) สำหรับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ดนตรีไทยของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
2.1 นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับวงเครื่องสายไทยเบื้องต้นของนักเรียน หลังเรียนกับ 87.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม
2.2 ทักษะการปฏิบัติวงเครื่องสายไทยเบื้องต้นของนักเรียน หลังเรียนกับ 79.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการปฏิบัติวงเครื่องสายไทยเบื้องต้นร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ PDCA (Deming Cycle) สำหรับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ดนตรีไทยของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด