การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียน
โรงเรียนสุขไพบูลย์วิริยะวิทยา
ผู้ประเมินโครงการ : นายวีระศักดิ์ คำแก้ว ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนสุขไพบูลย์วิริยะวิทยา อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ : 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสุขไพบูลย์วิริยะวิทยา มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) ของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ ประกอบด้วย 4.1) ประเมินคุณลักษณะตามทักษะชีวิตและอาชีพ สำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 และ 4.2) การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ แหล่งข้อมูลในการประเมินโครงการ ได้แก่ 1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ศึกษากับประชากรทั้งหมด 2) ครูที่สอนในปีการศึกษา 2561 จำนวน 18 คน ศึกษากับประชากรทั้งหมด 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 243 คน ศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 238 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie. และ Morgan และใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 42 - 46) และ 4) ผู้ปกครอง จำนวน 236 คน ศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 148 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie. และ Morgan และใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 42-46) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบประเมินที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น จำนวน 5 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) ของโครงการ ผู้ตอบแบบประเมิน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ ผู้ตอบแบบประเมิน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ ผู้ตอบแบบประเมิน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู ฉบับที่ 4 แบบประเมินคุณลักษณะตามทักษะชีวิตและอาชีพ สำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ ผู้ตอบแบบประเมิน ได้แก่ นักเรียน ฉบับที่ 5 แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ ผู้ตอบแบบประเมิน ได้แก่ 1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ครูผู้สอน 3) นักเรียน และ 4) ผู้ปกครอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ
1. การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู มีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.45, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.36)
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู มีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.41, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.39)
3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู มีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.27, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.41)
4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ
4.1 การประเมินคุณลักษณะตามทักษะชีวิตและอาชีพ สำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21
พบว่า นักเรียนมีคุณลักษณะตามทักษะชีวิตและอาชีพ สำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.40, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.19)
4.2 การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ พบว่า ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.40,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.39) ความพึงพอใจของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.58, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.19) ความพึงพอใจของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย = 4.50, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.24 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.43,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.27) และความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.47, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.25)