รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านหุบกะพง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน ดังนี้
1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) กระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) และผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านหุบกะพง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านหุบกะพง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) ครูโรงเรียนบ้านหุบกะพง จำนวน 15 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 89 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 89 คน 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านหุบกะพง จำนวน 7 คน (โดยที่ทั้ง 7 คน ไม่ได้เป็นผู้แทนครู หรือผู้บริหารสถานศึกษา) รวมทั้งสิ้น จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านหุบกะพง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ดังนี้คือ 1) ค่าเฉลี่ย (X-bar) 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) 3) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbachs Coefficient Alpha) และ 4) หาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามโดยใช้เทคนิค IOC (Index of Item Objective Congruence)
ผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านหุบกะพงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 มีดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
5. ความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้าน
หุบกะพง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด
ข้อค้นพบ คุณธรรมจริยธรรม เป็นสิ่งที่สำคัญและมีคุณค่า การพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสามารถทำได้ด้วยการปลูกฝัง อบรม ส่งเสริมโดยใช้กิจกรรมที่หลากหลายและควรคำนึงถึงเหมาะสม โดยความร่วมมือของทุกฝ่าย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อคิดเห็นประสบการณ์ตลอดจนวิธีการดำเนินงานการส่งเสริมจริยธรรมระหว่างโรงเรียนหรือหน่วยงานอื่นอย่างต่อเนื่อง สามารถนำไปสู่การพัฒนางานได้ดียิ่งขึ้น