ความเป็นมาและสภาพปัญหา
จากการประเมินผลพัฒนาการด้านสติปัญญา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในมาตรฐานที่ 9 การใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย ตัวบ่งชี้ที่ 1 สนทนาโต้ตอบ และเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งได้กำหนดสภาพที่พึงประสงค์ไว้ว่า เด็กอายุ 5-6 ปี สามารถเล่าเป็นเรื่องราวต่อเนื่องได้ ซึ่งผลจากการประเมินพัฒนาการความสามารถในการสื่อสาร ด้านการพูดเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านลำแพะ จำนวน 5 คน เด็กมีพัฒนาการความสามารถในการสื่อสาร ด้านการพูดเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ อยู่ในเกณฑ์ควรส่งเสริม คือ เด็กไม่สามารถเล่าเรื่องเป็นประโยคต่อเนื่องได้ เด็กพูดโดยมีเนื้อความที่ไม่สมบูรณ์ และไม่ชัดเจนว่าใคร ทำอะไร หรือใครทำอะไรกับใคร คิดเป็นร้อย 68.73 ซึ่งถือเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ขณะที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ เด็กปฏิบัติกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ และกิจกรรมเสรี เด็กยังขาดความมั่นใจในการพูด ขาดทักษะในการสื่อสาร ไม่กล้าพูดหรือไม่กล้าแสดงความคิดเห็น พูดด้วยเสียงที่ขาดความชัดเจนต่อเนื่อง มีจังหวะการพูดที่ไม่เหมาะสม พูดไม่ตรงประเด็น ใช้คำศัพท์ที่เหมาะสมกับวัยได้น้อย ใช้คำพูดเป็นประโยคเชื่อมโยงเป็นเรื่องราวเพื่อสื่อความหมายให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้ไม่ชัดเจน
แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา
จากปัญหาดังที่ได้กล่าวมา ข้าพเจ้าจึงได้ศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวทางแก้ปัญหาพัฒนาการความสามารถในการสื่อสาร ด้านการพูดเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ โดยใช้แนวคิดการบริหารสมอง (BRAIN GYM) และแนวการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคป (Hing Scope) มาออกแบบ และสร้างนวัตกรรมที่สัมพันธ์กับปัญหา และสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย คือนวัตกรรม ‘Story telling of circle’ ซึ่งมีหลักปฏิบัติ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1. เริ่มเรื่องราว (Start the story) 2.การฟังเรื่องราวอย่างตั้งใจ (Lister to the story) 3.การวางแผนสร้างเรื่องราว (Plan to make a story) 4.ลงมือทำเรื่องราวจากการวางแผน (Doing the story) 5.เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง (Story telling of circle) และ 6.ทำเรื่องราวตามขั้นตอนเดิมซ้ำ ในเรื่องใหม่(Repeat the story in a new story) เพื่อพัฒนาให้นักเรียนปฐมวัยมีพัฒนาการการสื่อสาร ด้านการพูดเล่าเรื่องที่เหมาะสมกับวัย
จุดประสงค์ของการดำเนินงาน
1. เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร ด้านการพูดเล่าเรื่องของนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 3 โดยใช้นวัตกรรม ‘story telling of circle’
2. เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร ด้านการพูดเล่าเรื่องของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อน-หลัง การใช้นวัตกรรม ‘story telling of circle’
3. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 เมื่อได้รับการพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร ด้านการพูดเล่าเรื่องของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้นวัตกรรม ‘story telling of circle’
เป้าหมายของการดำเนินงาน
1. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร ด้านการพูดเล่าเรื่อง โดยใช้นวัตกรรม ‘story telling of circle’ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านลำแพะ จำนวน 5 คนมีความสามารถเล่าเป็นเรื่องราวต่อเนื่องได้เหมาะสมกับวัย อยู่ในเกณฑ์การประเมินผลพัฒนาการระดับ ดี คือสามารถแสดงพฤติกรรมได้คล่องแคล่วและมั่นคง ร้อยละ 85
2. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 เมื่อได้รับการพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร ด้านการพูดเล่าเรื่องของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้นวัตกรรม ‘story telling of circle’ มีความพึงพอใจ ในระดับ ดีมาก