การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยใช้แหล่งเรียนรู้บึงกระโตน อำเภอประทาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2)เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยใช้แหล่งเรียนรู้ บึงกระโตนอำเภอประทาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยใช้แหล่งเรียนรู้บึงกระโตน อำเภอประทาย เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนประทาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ก่อนและหลังการใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยใช้แหล่งเรียนรู้บึงกระโตน อำเภอประทาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยใช้แหล่งเรียนรู้บึงกระโตน อำเภอประทาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ที่มีกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มเดียวและมีการทดสอบก่อนและหลังเรียน (One Group Pretest Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยใช้แหล่งเรียนรู้บึงกระโตน อำเภอประทาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ 4) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาชุมชน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยใช้แหล่งเรียนรู้บึงกระโตน อำเภอประทาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2) หาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ (P) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที t – test (Dependent Samples) การวิเคราะห์ข้อมูลความเหมะสมสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง (IOC)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เน้นกระบวนการทำงานกลุ่ม การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การปฏิบัติงานที่ได้มาจากกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน เพื่อให้ได้กิจกรรมที่มีคุณภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ต่อการพัฒนาชุมชน โดยใช้แหล่งเรียนรู้บึงกระโตน อำเภอประทาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยใช้แหล่งเรียนรู้บึงกระโตน อำเภอประทาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระหลัก ระบบสังคม หลักการมีส่วนร่วม สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และเงื่อนไขในการนำไปใช้ โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การสร้างแรงบันดาลใจ 2. การแสวงหาความรู้ 3. การวิเคราะห์และออกแบบกิจกรรม 4. การร่วมทำกิจกรรม 5. การนำเสนอและวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ และ 6. การประเมินและส่งเสริม เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.40/83.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด
สร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยใช้แหล่งเรียนรู้บึงกระโตน อำเภอประทาย สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อ
ส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยใช้แหล่งเรียนรู้บึงกระโตน
อำเภอประทาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด