ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนวัดกาฬสินธุ์
ผู้จัดทำ : นายชาตรี ปี้บ้านท่า
หน่วยงาน : โรงเรียนวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต
2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา : 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของ โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนวัดกาฬสินธุ์ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนวัดกาฬสินธุ์ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะ
การคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มเป้าหมายใน
การประเมินครั้งนี้ เป็นบุคลากรของโรงเรียนวัดกาฬสินธุ์ ในปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย ครู จำนวน 19 คน ผู้ปกครอง จำนวน 55 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 55 คนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ได้มาโดยการใช้ประชากรแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมิน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และร้อยละ (%)
ผลการศึกษา
1.ผลการประเมินด้านบริบท พบว่าผลการดำเนินโครงการด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด (4.87) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัด
ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ (4.79) ตัวชี้วัดความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบายต้นสังกัด (4.91) และตัวชี้วัดความสอดคล้องของกิจกรรมที่ระบุไว้ในโครงการ (4.91)
2.ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีผลการดำเนินโครงการด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมากที่สุด (4.88) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ บุคลากรในการดำเนินโครงการ (4.96) ตัวชี้วัดงบประมาณในการดำเนินโครงการ (4.84) และตัวชี้วัดวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ (4.85)
3.ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่าผลการดำเนินโครงการด้านกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด (4.78) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ การวางแผนของโครงการ (4.88) การจัดกิจกรรมดำเนินงานตามโครงการ (4.76) และตัวชี้วัดด้านการประเมินผลโครงการและการปรับปรุง (4.69)
4.ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผลการดำเนินโครงการด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด (4.78) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัด ทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาด้าน
การคิดพอประมาณ การคิดมีเหตุผล การคิดอย่างมีภูมิคุ้มกัน การคิดอย่างมีองค์ความรู้ การคิดอย่างมีคุณธรรม และการคิดตัดสินใจอย่างเหมาะสม (4.82) ตัวชี้วัดความสำเร็จผลของการจัดกิจกรรม โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียน (4.79) ตัวชี้วัด ความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (4.69) และตัวชี้วัดคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับ (4.83)