ชื่องานวิจัย : การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านพระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ตามแนวคิดการประเมินโครงการแบบ ( CIPP Model )
ผู้วิจัย : นายดรุณ เจนจบ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพระแก้ว
บทคัทย่อ
การศึกษาผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ตามแนวคิด ซิปป์ โมเดล (CIPP MODEL) โรงเรียนบ้านพระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาผลการประเมินโครงโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โรงเรียนบ้านพระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินรายด้านของครูผู้สอน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนโรงเรียนบ้านพระแก้ว ต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โรงเรียนบ้านพระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน มีความพึงพอใจต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านพระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านพระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 28 คน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง มีลักษณะเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ (F- test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านพระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.76, S.D. = 0.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีผลการประเมินงานอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านผลผลิตของโครงการ (Product) ( = 4.85, S.D. = 0.24) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ( = 4.72, S.D. = 0.28) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ( = 4.71, S.D. = 0.29) และด้านกระบวนการ (Process) ( =4.71, S.D.= 0.32) ตามลำดับ
2. การเปรียบเทียบผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านพระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ครูผู้สอน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านพระแก้ว มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านพระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ในด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิตของโครงการ (Product) ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในภาพรวมพบว่า ครูผู้สอนมีผลการประเมินแตกต่างกับกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าผลการประเมินรายด้านทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ศึกษาจึงทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe) จึงพบว่า ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ครูผู้สอนมีผลการประเมินแตกต่าง กับกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ครูผู้สอนมีผลการประเมินแตกต่างกับกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ด้านกระบวนการ (Process) ครูผู้สอนมีผลการประเมินแตกต่างกับกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ด้านผลผลิตของโครงการ (Product) ครูผู้สอนมีผลการประเมินแตกต่างกับกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
3.ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านพระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า ครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านพระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.84, S.D. = 0.34) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 10 ข้อ เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4 ลำดับแรก คือ ข้อ 1 โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็นโครงการที่มีคุณค่าเกิดประโยชน์ต่อโรงเรียนและชุมชน ( = 4.92, S.D. = 0.29) ข้อ 2 นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ( =4.90, S.D. = 0.31) ข้อ ครูมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ( =4.86, S.D. = 0.37) และข้อ 6 นักเรียนมีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตดีและมีสุขนิสัยที่ดี ( =4.86, S.D. = 0.37) ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3 ลำดับแรก คือ ข้อ 5 นักเรียนมีการเจริญเติบโตตามวัยที่เหมาะสม ( = 4.80, S.D. = 0.40) ข้อ 4 มีผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ( = 4.80, S.D. = 0.40) และข้อ 8 นักเรียนได้รับริการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึง ( = 4.82, S.D. = 0.39) ตามลำดับ