การดำเนินงาน กระบวนการผลิตผลงาน รูปแบบวิธีการในการพัฒนาสถานศึกษา
5.1 สู่ความเป็นเลิศ กระบวนการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) : DC READ Model ปฐมวัย 2 ภาษา เป็นรูปแบบการบริหารที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ที่ใช้ในการบริหารและการจัดการศึกษาตามบริบทของโรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ โดยการสังเคราะห์สภาพของปัญหา ความต้องการพัฒนา จุดแข็ง และจุดอ่อนของโรงเรียน ตลอดจนนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด พร้อมทั้งนำหลักการบริหาร ทฤษฎี และประสบการณ์การบริหารของผู้บริหารมาใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินงานของฝ่ายบริหารที่จูงใจให้โอกาสแก่ คณะกรรมการมูลนิธิฯ คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าฯ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา องค์กร ชุมชน คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง
ผู้นำทางศาสนา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ
ร่วมวางแผน ร่วมทำ ร่วมแก้ไขและพัฒนางานด้วยความเต็มใจ ที่มุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนอย่างสมดุลรอบด้าน เพื่อให้ผู้เรียนที่เป็นผลผลิต เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา ทำให้ได้นวัตกรรม รูปแบบการบริหารที่สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน โดยใช้การบริหารแบบ
มีส่วนร่วม (Participative Management) มาเป็นกลไกหลักในการบริหารงาน ประกอบกับการใช้ทฤษฎีระบบ (system theory) ในการกำหนดรูปแบบการบริหารงาน การใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ P-D-C-A หรือวงจรเดมมิ่ง ในการดูแล ควบคุม และกำกับติดตามการดำเนินงาน โดยยึดหลักการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ส่งผลให้การดำเนินการบริหารจัดการศึกษาบรรลุตามเป้าหมาย มีรายละเอียดของกระบวนการพัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนให้มีคุณภาพ ดังนี้
5.1.1 INPUT (ปัจจัยนำเข้า) การบริหารงานของโรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ มีปัจจัยนำเข้าที่สำคัญ ๔ ประการที่เรียกว่า ๔ Ms ได้แก่
5.1.1.1 Man ในกระบวนการบริหารโรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาได้เข้ามามีส่วนคิด ตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน และตกลงใจร่วมกันในการบริหารโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้
๑) ฝ่ายกำหนดนโยบาย ประกอบด้วย มูลนิธิฯ และสมาคมฯ การบริหารโดยมูลนิธิฯและสมาคมมีส่วนร่วม โดยมีส่วนร่วมและบทบาทในการกำหนดนโยบาย และทิศทางของสถานศึกษา
๒) ฝ่ายปฏิบัติการ ประกอบด้วย หัวหน้างานระดับปฐมวัย ครู และบุคลากรในโรงเรียน การบริหารโดยครูมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้ครูได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมินผล และร่วมพัฒนาผลงานเพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้น โดยให้ครูมีส่วนร่วมในรูปองค์คณะบุคคล ซึ่งมีดังนี้ การจัดให้มีครูเป็นคณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการบริหารวิชาการ เพื่อให้คณะครูมีส่วนร่วมในการบริหาร คณะกรรมการพัฒนาครูและบุคลากร เพื่อให้ครูได้มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อการพัฒนาครู พัฒนางาน เพื่อความก้าวหน้าของครู
๓) บุคคลภายนอก ประกอบด้วย ผู้ปกครอง ชุมชนรอบโรงเรียน องค์กร หน่วยงานราชการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การบริหารโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการประชุมผู้ปกครอง การเป็นวิทยากรพิเศษในห้องเรียนของบุตรหลาน ตลอดจนการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น การบริหารโดยชุมชนรอบโรงเรียน องค์กรมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมภายในสถานศึกษา การบริหารโดยหน่วยงานราชการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมและมีบทบาทในการให้ค าปรึกษา นิเทศด้านการบริหารแก่ผู้บริหาร และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแก่ครูผู้สอน
5.1.1.2 Money งบประมาณที่ใช้ในการบริหาร โรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการบริหาร ดังนั้นจึงเกิดความร่วมมือร่วมใจจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง และประชาชน4 หมู่บ้าน ในการระดมทุนทรัพย์เพื่อใช้พัฒนาการจัดการศึกษาของ โรงเรียนให้มีความเจริญก้าวหน้า
5.1.1.3 Materials จัดสื่อ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี รวมถึงสื่อในท้องถิ่น สื่อจากธรรมชาติที่จำเป็นต่อการจัดการศึกษา ซึ่งมีการจัดซื้อ จัดหาให้มีความเหมาะสม หลากหลาย และเพียงพอกับความต้องการของเด็ก
5.1.1.4 Management นำหลักการบริหารจัดการ ด้านการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคน การสั่งการ การประสานความร่วมมือ การรายงาน และงบประมาณ มาควบคุมและกำกับดูแลการดำเนินงานภายในของโรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ โดยยึดแนวทางการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) หรือหลักธรรมาภิบาล ซึ่งประกอบไปด้วย หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า
5.1.๒. PROCESS (กระบวนการ) สถานศึกษาดำเนินงานตาม DC-READ Model ดังนี้
5.1.2.1 D : Dongbaakl team and network การทำงานเป็นทีมและสร้างเครือข่ายการจัดการศึกษา
D : Dongbaakl team and network เป็นการทำงานโดยผู้บริหารสถาน
ศึกษากระจายอำนาจ ให้ครู บุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงาน
มีบรรยากาศในการทำงานที่เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างทีมงานที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการ
มีคุณภาพและสมรรถนะสูง ส่งเสริมการเรียนรู้ของทีมงานเพื่อขับเคลื่อน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพ บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนี้
1) ร่วมใจ (Heart) หมายถึง ความรู้สึกของสมาชิกที่รักและศรัทธาในหัวหน้าทีม งานที่ทำ และเพื่อน ๆ ร่วมทีม มีความเอื้อเฟื้อห่วงใยซึ่งกันและกัน มีความเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน และเกิดความไว้วางใจต่อกัน
2) ร่วมคิด(Head) หมายถึง การใช้ความคิด เหตุผลให้เพื่อนร่วมงานเชื่อมั่นว่าทำแล้วดีมีประโยชน์ต่อตัวเอง ต่อองค์กร โดยช่วยกันระดมสมอง กำหนด เป้าหมาย วางแผน แบ่งงาน แบ่งหน้าที่
3) ร่วมทำ(Hand) หมายถึง การร่วมมือ ลงมือทำงานซึ่งได้มีการวางแผนไว้ ซึ่งทุกคนมีพันธะสัญญาที่จะต้องทำงานทุกคน เนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการคิดร่วมกัน
C : Creative education การจัดการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ โรงเรียนบ้าน
ดงบากโนนสวรรค์ได้ใช้แนวทางการจัดการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ โดยมี ๓ ปัจจัยหลัก ดังนี้
1) คนสร้างสรรค์ หมายถึงมนุษย์ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการศึกษา เริ่มตั้งแต่พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ผู้บริหารการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ถือเป็นปัจจัยแรกที่กระทบต่อเด็ก
2) สื่อสร้างสรรค์ โรงเรียนให้ความสำคัญต่อการรับรู้ของเด็กในสังคมออนไลน์ ซึ่งมีทั้งสื่อที่ดี และสื่อที่ไม่ดี ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะออกแบบสื่อที่มีความสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็น เกม, Social Network, VDO on Demand บน You Tube, Google VDO ฯลฯ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกการบริโภคสื่อที่ดีให้กับเด็ก ตลอดจนเป็นการกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนสนใจต่อสื่อที่ดี ๆ มากขึ้น โดยนำเสนอในรูปแบบที่เด็กสามารถเข้าใจได้ง่าย สนุก และทันสมัย๓. สภาพแวดล้อมสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่คนสร้างสรรค์ และสื่อสร้างสรรค์ โดยสภาพแวดล้อมในตัวมันเองนั้น ไม่สามารถจัดการตัวเองได้ ขึ้นอยู่กับคนที่จัดสรรเป็นหลัก ดังนั้น หากเริ่มต้นที่ คนสร้างสรรค์ ผลิต สื่อสร้างสรรค์ ในท้ายที่สุด สภาพแวดล้อมก็จะสร้างสรรค์ ซึ่งเมื่อสภาพแวดล้อมสร้างสรรค์ จะเอื้อผลที่ดีให้กับคนที่สร้างสรรค์ และสื่อที่สร้างสรรค์ได้ในที่สุด
R : Research การวิจัย โรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ได้ใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก โดยจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ครูได้มีความรู้ในการทำงานวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้วิธีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในโรงเรียน
E : Evaluation การประเมิน สรุปและรายงานผล ในการดำเนินงานโครงการ กิจกรรมมีการประเมิน สรุปและรายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
A : Activities การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย โรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ได้วางแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก ที่สนองตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย โดยจัดประสบการณ์เล่นและเรียนรู้อย่างหลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและตามสภาพแวดล้อมของสังคมที่เด็กอยู่อาศัย จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก โรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ได้เน้นการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ (Integrate Teaching) จัดประสบการณ์แบบโครงงาน จัดประสบการณ์การสอนแบบโครงการ (Project Approach) และการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)
D : Direct Experience โรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์เน้นประสบการณ์โดยตรง โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก จัดการประเมินพัฒนาการ
ให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ พร้อมทั้งนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง และพ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก โดยในส่วนของการจัดประสบการณ์ เพื่อให้เด็กมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจและสติปัญญา โรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ได้เน้นการจัดประสบการณ์ตรงให้กับเด็กปฐมวัย
ทั้งนี้ในการพัฒนาความพร้อมด้านการใช้ภาษาทั้งการฟังและการพูด 2 ภาษา คือภาษาไทย และภาษาอังกฤษนั้น โรงเรียนได้ดำเนินการจัดประสบการณ์ในชั้นเรียนโดยใช้ 2 ภาษา มีครูชาวไทยและชาวต่างชาติร่วมจัดกิจกรรม มีการใช้ 2 ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันทั้งในโรงเรียน บ้านและในชุมชน
5.1.3. OUTPUT (ผลผลิต) Smart team, Smart teacher
5.1.3.1. บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษามีส่วนคิด ตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน และตกลงใจร่วมกันในการบริหารโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมาย (Smart team)
5.1.3.2. ครูผู้สอนมีความรู้ ทักษะและกระบวนการในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กระดับปฐมวัย และมีความรู้ในการทำงานวิจัยในชั้นเรียน (Smart teacher)
5.1.๔. OUTCOME = Smart student (2 Language)
5.1.๔.1 เด็กระดับปฐมวัยมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา และมีความพร้อมในการใช้ภาษา 2 ภาษา คือภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (Smart student)