บทสรุปของผู้บริหาร
ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน
โรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษา รหัส 1170100010 ที่ตั้ง เลขที่ 253 หมู่ 10 ตำบลดอนตะโก อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โทรศัพท์ 0-3232-3347 โทรสาร 0-3232-3346 Website: www.darunawitaed.ac.th ได้รับอนุญาตจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2540 เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียน 930 คน จำนวนบุคลากรของโรงเรียน 110 คน
ตอนที่ 2 การนำเสนอผลการประเมินตนเอง
ระดับปฐมวัย
1) มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
2) หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเองตามระดับคุณภาพ
2.1 ผลการประเมินพัฒนาการเด็ก 4 ด้าน ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ได้แก่ ด้านร่างกาย ร้อยละ 94.13 ด้านอารมณ์ จิตใจ ร้อยละ 94.16 ด้านสังคม ร้อยละ 94.23 ด้านสติปัญญา ร้อยละ 94.16
2.2 ผลการประเมินด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
2.3 ผลการประเมินการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
3) โรงเรียนมีแผนจะพัฒนาตนเองต่อไปอย่างไรให้ได้ระดับคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม 1 ระดับ
3.1 แผนปฏิบัติงานที่ 1 จัดหาวิทยากร /ส่งบุคลากรครูไปร่วมอบรม สัมมนา เกี่ยวกับกระบวนการจัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
3.2 แผนปฏิบัติงานที่ 2 สำรวจชุมชน เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กมากขึ้น ทั้งให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
3.3 แผนปฏิบัติงานที่ 3 จัดหาวิทยากร/ส่งครูไปอบรม/สัมมนา งานประกันคุณภาพการศึกษา หรือที่ปรึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้คำแนะนำครูและบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
4) นวัตกรรม/แบบอย่างที่ดี
4.1 แรงบันดาลใจแห่งบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
4.2 การพัฒนาคุณภาพระดับทักษะทางภาษาอังกฤษของครูผู้สอน (CEFR: Common European Framework of Reference for Languages)
5) ความโดดเด่นของสถานศึกษา
5.1 เด็กร่าเริงแจ่มใส กล้าพูดและสามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ชัดเจน คล่องแคล่วเหมาะสมตามวัย
5.2 ผู้บริหารเข้าใจปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย เน้นการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยนำอุปกรณ์/สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาจัดการเรียนการสอน มีการใช้ระบบหลักสูตรการเรียนการสอนแบบสองภาษาและส่งเสริมการเรียนรู้นวัตกรรม รวมทั้งมีการนำ PDCA เข้ามาใช้ในการจัดการบริหารอย่างเป็นระบบครอบคลุมทั้ง 5 ฝ่าย รวมถึงการวางขั้นตอนการบริหารจัดการทางวิชาการเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายของโรงเรียนไว้ 5 ขั้น ซึ่งเรียกโมเดลนี้ว่า บันได 5 ขั้น
5.3 ครูมีการพัฒนาตนเองสม่ำเสมอทั้งด้านวิชาชีพ เทคโนโลยี และภาษาอังกฤษโดยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานได้ มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนตามรูปแบบโมเดลการพัฒนาผู้เรียน DRWS
6) โรงเรียนได้ดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2564
6.1 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ : 1) การจัดเพื่อคุณวุฒิ (1) จัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท โดยใช้หลักสูตรสมรรถนะรวมทั้งแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ (2) ส่งเสริมการพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาตามความต้องการจำเป็นของกลุ่มเป้าหมายและแตกต่างหลากหลายตามบริบทของพื้นที่ (3) พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากประสบการณ์จริงหรือจากสถานการณ์จำลองผ่านการลงมือปฏิบัติ ตลอดจนจัดการเรียนการสอนในเชิงแสดงความคิดเห็นเพื่อเปิดโลกทัศน์มุมมองร่วมกันของผู้เรียนและครูมากขึ้น (4) พัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้และทักษะชีวิต เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตและสร้างอาชีพ อาทิ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สุขภาวะและทัศนคติ ที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ 2) จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (1) จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย เน้นส่งเสริมและยกระดับทักษะภาษาอังกฤษ (English for All) (2) พัฒนาครูให้มีทักษะ ความรู้ และความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผลเป็นขั้นตอน
6.2 การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคง: 1) เฝ้าระวังภัยทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู และสถานศึกษา โดยเฉพาะภัยจากยาเสพติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ 2) ส่งเสริมให้ใช้ภาษาถิ่นร่วมกับภาษาไทยเป็นสื่อการจัดการเรียนการสอนในพื้นที่ที่ใช้พื้นที่อย่างหลากหลาย เพื่อวางรากฐานให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งมีทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษาที่สามในการต่อยอดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรมและเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
6.3 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
6.4 การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ: ปฏิรูปองค์การเพื่อลดความทับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพของหน่วยงานที่มีภารกิจใกล้เคียงกัน
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1) มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
2) หลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเองตามระดับคุณภาพ
2.1 ผลการประเมินพัฒนาการผู้เรียน ระดับคุณภาพ ดีเลิศ คิดเป็นร้อยละ 89.89 ซึ่งเป็นผลรวมการประเมินที่ได้จาก 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน เช่น ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ คิดเป็นร้อยละ 78.80 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 100 ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 97.00 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร คิดเป็นร้อยละ 89.58 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา คิดเป็นร้อยละ 75.93 ความรู้ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 98.04
2) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน เช่น การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด คิดเป็นร้อยละ 99.61 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย คิดเป็นร้อยละ 98.51 การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย คิดเป็นร้อยละ 96.86 และสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมคิดเป็นร้อยละ 96.94
2.2 ผลการประเมินด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
2.3 ผลการประเมินการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
3) โรงเรียนมีแผนจะพัฒนาตนเองต่อไปอย่างไรให้ได้ระดับคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม 1 ระดับ
3.1 แผนปฏิบัติงานที่ 1 จัดหาวิทยากร /ส่งบุคลากรครูไปร่วมอบรม สัมมนา เกี่ยวกับกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.2 แผนปฏิบัติงานที่ 2 จัดหาวิทยากร/ส่งครูไปอบรม/สัมมนา งานประกันคุณภาพการศึกษา หรือที่ปรึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้คำแนะนำครูและบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
3.3 แผนปฏิบัติงานที่ 3 การพัฒนาตนเองของครูอย่างสม่ำเสมอ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลของครูผู้สอน
4) นวัตกรรม/แบบอย่างที่ดี
4.1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับและพัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ
4.2 เปี่ยมใจ เปี่ยมธรรม
4.3 พัฒนาการและความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพครูผู้สอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
4.4 การพัฒนาคุณภาพระดับทักษะทางภาษาอังกฤษของครูผู้สอน (CEFR: Common European
Framework of Reference for Languages)
5) ความโดดเด่นของสถานศึกษา
5.1 ผู้เรียนทักษะการพูด ฟัง อ่านและเขียนเพื่อการสื่อสารตามระดับชั้นของตนเองได้อย่างเหมาะสมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความสุภาพอ่อนน้อม อยู่ในวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่ร่วมสมัยยอมรับความคิดเห็นของทุกวัยด้วยเหตุผล รวมถึงการมีจิตสาธารณะจิตสาธารณะและรู้จักแบ่งปัน สามารถเรียนรู้และอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้
5.2 ผู้บริหารเข้าใจปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำและความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนานักเรียนโดยนำอุปกรณ์/สื่อและเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพื้นฐานวิศวกรรมและพลังงาน
ทดแทน ที่ทันสมัยเข้ามาเพื่อจัดการเรียนรู้
5.3 ครูมีการพัฒนาตนเองสม่ำเสมอทั้งด้านวิชาชีพ เทคโนโลยี และภาษาอังกฤษโดยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานได้ มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
6) โรงเรียนได้ดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ
6) โรงเรียนได้ดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2564
6.1 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ : 1) การจัดเพื่อคุณวุฒิ (1) จัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท โดยใช้หลักสูตรสมรรถนะรวมทั้งแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ (2) ส่งเสริมการพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาตามความต้องการจำเป็นของกลุ่มเป้าหมายและแตกต่างหลากหลายตามบริบทของพื้นที่ (3) พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากประสบการณ์จริงหรือจากสถานการณ์จำลองผ่านการลงมือปฏิบัติ ตลอดจนจัดการเรียนการสอนในเชิงแสดงความคิดเห็นเพื่อเปิดโลกทัศน์มุมมองร่วมกันของผู้เรียนและครุมากขึ้น (4) พัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้และทักษะชีวิต เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตและสร้างอาชีพ อาทิ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สุขภาวะและทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ 2) จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (1) จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย เน้นส่งเสริมและยกระดับทักษะภาษาอังกฤษ (English for All) (2) พัฒนาครูให้มีทักษะ ความรู้ และความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผลเป็นขั้นตอน
6.2 การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคง: 1) เฝ้าระวังภัยทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู และสถานศึกษา โดยเฉพาะภัยจากยาเสพติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ 2) ส่งเสริมให้ใช้ภาถิ่นร่วมกับภาไทยเป็นสื่อการจัดการเรียนการสอนในพื้นที่ที่ใช้พื้นที่อย่างหลากหลาย เพื่อวางรากฐานให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งมีทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษาที่สามในการต่อยอดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรมและเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
6.3 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
6.4 การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ: ปฏิรูปองค์การเพื่อลดความทับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพของหน่วยงานที่มีภารกิจใกล้เคียงกัน