บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ประเมิน ปิฐินนท์ จันทร์รัตน์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่
ปีที่ศึกษา 2564
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ ใน 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต และประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่
ประชากร/แหล่งข้อมูล คือ ผู้บริหาร จำนวน 3 คน ครู จำนวน 16 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และนักเรียน จำนวน 164 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น ฉบับที่ 1 แบบสอบถามการประเมินโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.91 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.83 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.78 และฉบับที่ 5 แบบประเมินทักษะภาษามือไทยครูที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
1. การประเมินโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียน โสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวม 4 ด้านพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดและด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากัน 2 ด้าน คือด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input : I) และด้านกระบวนการ (Process) รองลงมา คือด้านสภาพแวดล้อม (Context : C) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านผลผลิต (Product : P)
1.1 การประเมินโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ ด้านสภาพแวดล้อม(Context : C) ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีผลการประเมินอยู่ระดับในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกได้แก่ การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูเป็นงานที่จำเป็นของโรงเรียน หลักการของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบาย วิสัยทัศน์ การจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด โครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน ข้อที่มีผลการประเมินต่ำที่สุด คือ การกำหนดเป้าหมาย วิธีการดำเนินการ และระยะเวลาดำเนินการมีความเหมาะสมและปฏิบัติจริงได้
1.2 การประเมินโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input : I) ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีผลการประเมินอยู่ระดับในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 ลำดับแรก ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ มีระบบการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง และมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 3 ลำดับ คือ มีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และผู้เชี่ยวชาญ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากชุมชน บุคลากร หรือหน่วยงานเอกชน ข้อที่มีผลการประเมินต่ำที่สุด คือ มีบุคลากรเหมาะสม เพียงพอต่อการร่วมดำเนินการโครงการ
1.3 การประเมินโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ ด้านกระบวนการ (Process : P) กระบวนการ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินอยู่ระดับในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียง 3 ลำดับแรกได้แก่ มีการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนา มีการประเมินผลการดำเนินโครงการ มีการดำเนินกิจกรรมที่กำหนดในโครงการตามขั้นตอนทุกกิจกรรม ข้อที่มีผลการประเมินต่ำที่สุด คือ มีการจัดทำกรอบแนวคิดและกำหนดจุดพัฒนาตามสภาพปัญหาและความต้องการ
1.4 การประเมินโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ (Product : P) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินอยู่ระดับในระดับมาก ถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เรียง 3 ลำดับแรกได้แก่ บุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ภาษามืออเมริกัน บุคลากรมีความเข้าใจวัฒนธรรมคนหูหนวก บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาภาษามือไทยด้วยกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ( PLC) ข้อที่มีผลการประเมินต่ำที่สุด คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
2. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินอยู่ระดับในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน 2 อันดับ ได้แก่ นักเรียนได้รับคำปรึกษา ดูแล ช่วยเหลือด้านการเรียนและเรื่องอื่นๆ นักเรียนและครูมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน ข้อที่มีผลการประเมินต่ำที่สุด เท่ากัน 2 อันดับ ได้แก่ นักเรียนสามารถสื่อสารกับครูโดยใช้ภาษามือไทย นักเรียนเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่ครูสอน
3. การประเมินความพึงพอใจของครูต่อการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่
กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของคนที่บกพร่องทางการได้ยินต่างประเทศและประวัติศาสตร์ภาษามืออเมริกัน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินอยู่ระดับในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน 2 ลำดับแรกได้แก่ วิทยากรเตรียมเนื้อหาการเรียนรู้สอดคล้องกับความต้องการ ความพร้อมของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ ข้อที่มีผลการประเมินต่ำที่สุด คือระยะเวลาในการอบรม
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การจัดการเรียนการสอนสำหรับคนที่บกพร่องทางการได้ยินในประเทศไทยและภาษามือไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินอยู่ระดับในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เรียง 3 ลำดับแรกได้แก่ เตรียมเนื้อหาการเรียนรู้สอดคล้องกับความต้องการ สถานที่สะอาดและมีความเหมาะสม ความพร้อมของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ ข้อที่มีผลการประเมินต่ำที่สุด เท่ากัน 2 ลำดับ คือสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการ ปฏิบัติงานได้ สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ / ถ่ายทอดแก่บุคคลอื่นได้
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมคนที่บกพร่องทางการได้ยิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินอยู่ระดับในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เรียง 3 ลำดับแรกได้แก่ เตรียมเนื้อหาการเรียนรู้สอดคล้องกับความต้องการ ความพร้อมของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ มีทักษะการสอนคล่องแคล่วสามารถอธิบายเนื้อหาได้ถูกต้องและชัดเจน ข้อที่มีผลการประเมินต่ำที่สุด คือระยะเวลาในการอบรม
กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการภาษามือไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินอยู่ระดับในระดับน้อยถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เรียง 3 ลำดับแรกได้แก่ วิทยากรเตรียมเนื้อหาการเรียนรู้สอดคล้องกับความต้องการ สถานที่สะอาดและมีความเหมาะสม ความพร้อมของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ ข้อที่มีผลการประเมินต่ำที่สุด คือทักษะภาษามือไทยก่อนการเข้าร่วมโครงการ
กิจกรรมที่ 5 เสวนาวิชาการ การศึกษาวิจัยภาษามือไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินอยู่ระดับในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เรียง2 ลำดับแรกได้แก่ วิทยากรเตรียมเนื้อหาการเรียนรู้สอดคล้องกับความต้องการ ความพร้อมของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ ข้อที่มีผลการประเมินต่ำที่สุด คือระยะเวลาในการเสวนา
กิจกรรมที่ 6 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาทักษะภาษามือไทยด้วยกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ( PLC) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินอยู่ระดับในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เรียง 2 ลำดับแรกได้แก่ การให้คำปรึกษาแนะนำเป็นรายบุคคลระหว่างครูและผู้เชี่ยวชาญ ระยะเวลาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาภาษามือไทยด้วยกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ข้อที่มีผลการประเมินต่ำที่สุด เท่ากัน 2 ลำดับ คือสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการ ปฏิบัติงานได้ สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดแก่บุคคลอื่นได้
4. การประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษา อนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินอยู่ระดับในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียง 3 ลำดับแรกได้แก่ วิทยากรมีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ครูที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการพัฒนาทักษะภาษามือไทย ครูที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถให้คำปรึกษา ดูแล ช่วยเหลือด้านการเรียนและเรื่องอื่นๆ ข้อที่มีผลการประเมินต่ำที่สุด คือระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสม
5. การประเมินทักษะภาษามือไทยของครูที่มีการได้ยินที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะภาษามือไทยสำหรับครูที่มีการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อก่อนรับการอบรมพบว่า ผลการประเมินอยู่ระดับน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน 2 อันดับ ได้แก่ ความเข้าใจภาษามือไทยด้านเนื้อหา การแสดงภาษามือไทยถูกต้องด้านเนื้อหา ข้อที่มีผลการประเมินต่ำที่สุด คือ การแสดงภาษามือไทยถูกต้องด้านองค์ประกอบของภาษามือ (ใช้ท่ามือ ตำแหน่ง การเคลื่อนไหว การพลิกหันฝ่ามือ และสีหน้าท่าทางได้ถูกต้องชัดเจน) หลังรับการอบรมพบว่า ผลการประเมินอยู่ระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความเข้าใจภาษามือไทยด้านเนื้อหา ข้อที่มีผลการประเมินต่ำที่สุด คือการแสดงภาษามือไทยถูกต้องด้านองค์ประกอบของภาษามือ (ใช้ท่ามือ ตำแหน่ง การเคลื่อนไหว การพลิกหันฝ่ามือ และสีหน้าท่าทางได้ถูกต้องชัดเจน)