บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองนกกะเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context evaluation) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองนกกะเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า(Input evaluation) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองนกกะเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process evaluation) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองนกกะเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 และ4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product evaluation) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองนกกะเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินประยุกต์แบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ครั้งนี้ 1) คณะครู จำนวน 15 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 101 คน และ 4. ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 101 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม และการเก็บรวบรวมเอกสารรายงานที่เกี่ยวข้อง ทำการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย (x̄) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for Window
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองนก-กะเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 สรุปได้ดังนี้
1. ด้านบริบท จากความคิดเห็นของคณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อผลการดำเนินการด้านบริบทของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.34) พบว่า โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองนกกะเรียนมีวัตถุประสงค์ชัดเจน เกิดจากความต้องการของบุคลากร ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการในปัจจุบัน โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ และวิธีการดำเนินงานของโครงการที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2. ด้านปัจจัยนำเข้า จากความคิดเห็นของคณะครู มีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มาก ( =4.20) พบว่า มีแผนการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน การจัดสรรงบประมาณสาหรับการส่งเสริมการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน มีความเหมาะสม และโรงเรียนมีความรู้ และประสบการณ์ ในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน จากความคิดเห็นของคณะครู ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ มีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.32) พบว่า มีการประเมินการดำเนินกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน อย่างต่อเนื่อง มีการประชุมชี้แจ้งให้นักเรียน ให้ทราบเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน และมีการแจ้งแผนการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
4. ด้านผลผลิต จากความคิดเห็นของคณะครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ด้านพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก ( x̄=4.27) พบว่านักเรียนดำเนินชีวิตอย่างมีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม และมีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด