การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ําวิ่ง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมด้านความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของ โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ําวิ่ง กับนโยบายของสํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 และ ของโรงเรียนชุมชนบ้านน้ําวิ่ง 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของปัจจัยที่ใช้ในการดําเนินการ โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ําวิ่ง 3) เพื่อประเมินความ เหมาะสมของกระบวนการ ในการดําเนินงานของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ําวิ่ง 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ําวิ่ง ตามประเด็นของโครงการ คือ 4.1) เพื่อประเมินผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ําวิ่ง 4.2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของบุคลากร และผู้ที่ เกี่ยวข้องกับโครงการที่มีผลต่อการดําเนินการตามโครงการ และ 5) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ําวิ่ง อําเภอตากฟ้า จังหวัด นครสวรรค์ ระหว่างก่อน และหลังดําเนินโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารโครงการ จํานวน 6 คน คณะกรรมการดําเนินโครงการ จํานวน 16 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 7 คน ครู จํานวน 9 คน นักเรียนที่กําลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จํานวน 101 คน และผู้ปกครองนักเรียนซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่กําลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 - 6 จํานวน 101 คน รวมทั้งสิ้น จํานวน 240 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ แบบ CIPP Model โดยแบบประเมิน มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ จํานวน 5 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความสอดคล้องของวัตถุประสงค์
โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน กับนโยบายของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 และของโรงเรียน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมหรือความเพียงพอของปัจจัยในการดําเนินงานตามโครงการ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามกระบวนการดําเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามขั้นตอน การดําเนินงานตามโครงการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามผลการดําเนินงานตามโครงการ และฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบการประเมินโครงการด้านผลผลิตผล ระหว่างก่อนและหลังดําเนินโครงการ โดยใช้t - test แบบ Dependent Sample test นําเสนอข้อมูล โดยใช้ตารางประกอบการอธิบายและพรรณนาวิเคราะห์
ผลการประเมินโครงการปรากฏ ดังนี้
1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ําวิ่ง ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโครงการ พบว่า ในภาพรวม มี ความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินปัจจัยของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ําวิ่ง ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดําเนินโครงการ พบว่า ในภาพรวมอยู่ ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินกระบวนการดําเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ําวิ่ง ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดําเนินโครงการ พบว่า ใน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลการดําเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ําวิ่ง ตามประเด็นของโครงการ ดังนี้
4.1 ผลการประเมินผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนชุมชน บ้านน้ําวิ่ง ตามความคิดเห็นของ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่มี ผลต่อการดําเนินการโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ําวิ่ง ตาม ความคิดเห็นของ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ใน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. การเปรียบเทียบผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ําวิ่ง อําเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างก่อนและหลังการดําเนินโครงการ ด้านผลผลิตผล พบว่า มีผลการประเมินโครงการหลังดําเนินการ สูงกว่าก่อนดําเนินการ อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะ 1) โครงการนี้เป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพควรได้รับการสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นโครงการที่สามารถส่งเสริมงานด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนในโรงเรียนได้อย่างแท้จริง 2) ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการจัดโอกาส ให้มีการประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการดําเนินงานของโรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีความยั่งยืนต่อไป 3) ควรประสานงานและร่วมกับ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดหา และสนับสนุนงบประมาณ ให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการดําเนินโครงการ 4) จัดทํานโยบายและ แผนกลยุทธ์เป็นนโยบายระดับชาติ โดยใช้กลยุทธ์ของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกําหนดแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้สอดคล้องกับแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ 5) นํานโยบายมากําหนดกรอบในการปฏิบัติงานระดับจังหวัด อําเภอ และท้องถิ่น โดยให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับร่วมกันสร้างความเข้าใจ กําหนดนโยบาย ให้สอดคล้องกับท้องถิ่น จึงจะนําไปสู่ความสําเร็จ และเกิดผลในระยะยาว ผู้รับผิดชอบทุกระดับ สามารถนําปัญหาและอุปสรรคที่ได้จากการวิจัย เพื่อปรับแผนงานหรือกลยุทธ์สู่ความสําเร็จ ในระยะยาว