|
|
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1)วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอน วรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2)พัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้ อริยสัจสี่ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในด้านผลสัมฤทธิ์ของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ประเมินผลรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน39 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดย ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความต้องการพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทย ท31102 2) แบบสัมภาษณ์ครูเพื่อรวบรวมแนวคิด ในการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ เพื่อส่งเสริมการอ่าน อย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 5)แบบสัมภาษณ์ 6) แบบประเมินการอ่านตามสภาพจริง 7) แบบสอบถามความพึงพอใจการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า โดยภาพรวมแล้ว นักเรียนมีความต้องการพัฒนาทักษะการอ่านได้แก่ เนื้อหาในหนังสือวรรณคดีวิจักษ์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาภาษาไทย ท31102 และเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักสูตรโรงเรียนพิบูลมังสาหาร ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้แก่ 1) หัวใจชายหนุ่ม 2) นิทานเวตาลเรื่องที่ 10 3) อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง 4)มหาเวสสันดรชาดก 5)ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม 6) เงาะป่า จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนภาษาไทย สรุปข้อมูลสอดคล้องกันว่า นักเรียนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนวรรณคดี ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการเรียนจนไม่สามารถพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ได้การจัดการสอนด้วยรูปแบบการสอน ASACE Model นี้ ช่วยส่งเสริม ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจสามารถอ่านอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ เพื่อส่งเสริม การอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีชื่อเรียกว่า รูปแบบการสอน ASACE Model มีองค์ประกอบ ดังนี้ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการกิจกรรม และสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน มีขั้นตอนการสอน 5 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นเร้าความสนใจ (Activating) 2) ขั้นใฝ่เรียนรู้(Studying) 3) ขั้นคิดวิเคราะห์(Analyzing) 4) ขั้นนำเสนอผลงาน (Concluding) 5) ขั้นประเมินผล (Evaluating) ซึ่งรูปแบบการสอนนี้ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ให้ความเห็นว่าอยู่ในระดับดี แสดงว่ารูปแบบการสอนมีความสอดคล้องกับหลักการของรูปแบบการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวรรณคดีโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสม มากที่สุดและ นำรูปแบบการสอนไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.76/81.47
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน ASACE Model ที่พัฒนาขึ้นส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 นักเรียนมีความสนใจ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ร่วมกันทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม อย่างตั้งใจ ให้ความร่วมมือ ในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี พบว่า ผลการเรียนรู้ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและ การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
4) ผลการประเมินรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริม การอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.61)
|
โพสต์โดย แก้ม : [21 มิ.ย. 2564 เวลา 19:58 น.] อ่าน [4502] ไอพี : 223.205.229.20
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 3,280 ครั้ง
| เปิดอ่าน 8,938 ครั้ง
| เปิดอ่าน 19,209 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,259 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,036 ครั้ง
| เปิดอ่าน 16,886 ครั้ง
| เปิดอ่าน 22,934 ครั้ง
| เปิดอ่าน 29,589 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,393 ครั้ง
| เปิดอ่าน 17,603 ครั้ง
| เปิดอ่าน 44,232 ครั้ง
| เปิดอ่าน 421,506 ครั้ง
| เปิดอ่าน 88,834 ครั้ง
| เปิดอ่าน 70,502 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,139 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 19,962 ครั้ง
| เปิดอ่าน 8,974 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,498 ครั้ง
| เปิดอ่าน 31,442 ครั้ง
| เปิดอ่าน 20,939 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|