บทสรุปของผู้บริหาร
การายงานผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนบ้านห้วยไร่ อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อรายงานผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนบ้านห้วยไร่ อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน และวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ เพื่อ 1) ศึกษาผลการสร้างและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) ศึกษาผลการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน 3) ศึกษาผลผลิตการใช้หลักสูตรสถานศึกษา และ 4) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น 33 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนบ้านห้วยไร่ อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน การสร้างและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนบ้านห้วยไร่ อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ผลการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ของครูผู้สอน และผู้เรียน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ผ่านเกณฑ์ที่ตั้ง
3. ผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนบ้านห้วยไร่ อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ผลผลิตของหลักสูตรสถานศึกษาของครูผู้สอนและผู้เรียน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาปีการศึกษา 2563 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ร้อยละของนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรายวิชาในระดับ 3 ขึ้นไป ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 คิดเป็นร้อยละ 79.81
5. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีขึ้นไป ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 คิดเป็นร้อยละ 100
6. ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรสถานศึกษา ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 100
7. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านแนวทางการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้
ความนำ ความเชื่อมโยงระหว่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกับหลักสูตรสถานศึกษา
ประเด็นปัญหา
- ครูขาดความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาทำให้ความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างเวลาเรียน คลาดเคลื่อนไปบ้าง
แนวทางแก้ไขปัญหา
- ควรมีการจัดอบรมทบทวนความรู้เรื่องการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาทุกปีการศึกษา เพื่อให้ครูผู้สอนมีความรู้ มีทักษะในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วิสัยทัศน์ มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสอดคล้องกับหลักสูตรท้องถิ่นมีความชัดเจนสามารถปฏิบัติได้
ประเด็นปัญหา
- วิสัยทัศน์ของโรงเรียนกำหนดเป้าหมายไว้แบบหลากหลายเป้าหมาย ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ครบทุกข้อ
แนวทางแก้ไขปัญหา
- ควรมีการปรับวิสัยทัศน์ของโรงเรียนให้สอดคล้องกับบริบท สภาพแวดล้อม ชุมชน ท้องถิ่น ของโรงเรียน ให้กระชับเข้าใจง่าย และทำได้จริง
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน มีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเด็นปัญหา
- สมรรถนะของผู้เรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความพร้อม นักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยไร่บางคนมีความพร้อมไม่ครบทุกข้อตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
แนวทางแก้ไขปัญหา
- ควรมีการกำหนดการวัดและประเมินผลการผ่านเกณฑ์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามบริบท สภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
ประเด็นปัญหา
- นักเรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคลการกำหนดเกณฑ์การผ่านคุณลักษณะอันพึงประสงค์แต่ละข้อใช้เกณฑ์เดียวกัน ทำให้ไม่เหมาะสมกับผู้เรียนบางคน
แนวทางแก้ไขปัญหา
- ควรมีการกำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลการผ่านเกณฑ์คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ให้เหมาะสมกับบริบท สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และผู้เรียน
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
โครงสร้างเวลาเรียน มีการระบุเวลาเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม แต่ละชั้นปีอย่างชัดเจน เวลาเรียนรวมของหลักสูตรสถานศึกษาสอดคล้องกับโครงสร้างเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ประเด็นปัญหา
- การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนในปีการศึกษา 2563 ไม่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้เวลาเรียนมีไม่ครบตามโครงสร้างที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา
แนวทางแก้ไขปัญหา
- ควรจัดประชุมเชิงวิชาการให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ชุมชน ท้องถิ่นของโรงเรียน
โครงสร้างหลักสูตรชั้นปี ระบุรายวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระบุเวลาเรียนและหน่วยกิต ระบุรายวิชาเพิ่มเติมที่สถานศึกษากำหนด ระบุเวลาเรียนและหน่วยกิต ระบุกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระบุเวลาเรียน
ประเด็นปัญหา
- ครูผู้สอนยังมีความเข้าใจไม่ชัดเจนเรื่องโครงสร้างหลักสูตรชั้นปี การระบุรายวิชาเพิ่มเติม ระบุรหัสวิชา มีความคลาดเคลื่อนไปบ้าง
แนวทางแก้ไขปัญหา
- ควรจัดประชุมเชิงวิชาการให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ชุมชน ท้องถิ่นของโรงเรียน
คำอธิบายรายวิชา ระบุรหัสวิชา ชื่อรายวิชา ชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ถูกต้องชัดเจน ระบุชั้นปีที่สอน จำนวนเวลาเรียน ถูกต้องชัดเจน จัดทำคำอธิบายรายวิชาพื้นฐานครอบคลุมตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเด็นปัญหา
- การเขียนคำอธิบายรายวิชาของครูผู้สอนยังยึดตามคำอธิบายรายวิชาเดิมๆ ที่ใช้สืบต่อกันมา ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เนื่องจากมีครูไม่ครบชั้นเรียนครูผู้สอนมีตารางสอนควบชั้นเรียนและรับผิดชอบภาระงานอื่นๆ จากผู้อำนวยการโรงเรียน ทำให้การเขียนคำอธิบายรายวิชาไม่คลอบคลุมตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แนวทางแก้ไขปัญหา
- ควรมีการประชุมชี้แจง อบรมศึกษาเพิ่มเติม เรื่องการยุบรวม การบูรณาการตัวชี้วัดที่มีความคล้ายคลึงกัน เข้าด้วยกันเพื่อลดเวลาการจัดทำแผนการสอน การวัดผลประเมินผล ให้เหมาะสมกับสภาพบริบทของโรงเรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จัดกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรมที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดเวลาทั้ง 3 กิจกรรมสอดคล้องกับโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีแนวทางการจัดกิจกรรมที่ชัดเจน มีแนวทางการประเมินกิจกรรมอย่างชัดเจน
ประเด็นปัญหา
- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไม่สอดคล้องโครงสร้างเวลาเรียนในหลักสูตรสถานศึกษา เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 2019 ทางโรงเรียนได้ปรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไปตามสถานการณ์ การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 และครูผู้สอนมีภาระงานมาก มีครูไม่ครบชั้น จึงทำให้การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา
แนวทางแก้ไขปัญหา
- ควรจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้ครบตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา และจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน
เกณฑ์การจบหลักสูตร ระบุเวลาเรียน/หน่วยกิต รายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมตามเกณฑ์การจบหลักสูตรของโรงเรียนไว้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรของโรงเรียน มีการระบุเกณฑ์การประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนไว้อย่างชัดเจน มีการระบุเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้อย่างชัดเจน มีการระบุเกณฑ์การผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้อย่างชัดเจน
ประเด็นปัญหา
- มีเกณฑ์การจบหลักสูตรสอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 อย่างชัดเจน
แนวทางแก้ไขปัญหา
- การกำหนดเกณฑ์การจบหลักสูตรให้ยึดตามหลักสูตรสถานศึกษา