บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียน บ้านห้วยทรายขาว ปีการศึกษา 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPPเModel) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบท ประกอบด้วยความต้องการ ความจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วยความพร้อมของสถานศึกษาความเพียงพอและความเหมาะสมของบุคลากร งบประมาณของกิจกรรมของโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการ ความเหมาะสมของการปฏิบัติงานโครงการด้านการวางแผน การดำเนินการ การนิเทศติดตามประเมินผล และการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนา 4) เพื่อประเมินผลผลิต เกี่ยวกับประเด็นความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว ของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 191 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ มี 4 กลุ่ม จำนวน 158 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก (x̄ =4.58 ,S.D.=0.50) ด้านที่มีค่าประเมินมากที่สุด ได้แก่ ด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.58 ,S.D. = 0.05) และด้านที่มีค่าประเมินน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก (x̄ =4.16 ,S.D.=0.81)
2. ผลการประเมินด้านบริบทในภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.58 , S.D.=0.50) ตัวชี้วัดที่มีค่าประเมินมากที่สุด ได้แก่ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.67, S.D.=0.48) ตัวชี้วัดที่มีค่าประเมินต่ำสุด ได้แก่ ความเป็นไปได้ของโครงการ อยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.48 , S.D.=0.50)
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.50, S.D.=0.54) ตัวชี้วัดที่มีค่าประเมินมากที่สุด ได้แก่ ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.58, S.D.=0.56) ตัวชี้วัดที่มีค่าประเมินต่ำสุด ได้แก่ ด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.40, S.D.=0.54)
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.16, S.D.=0.81) ตัวชี้วัดที่มีค่าประเมินมากที่สุด ได้แก่ การดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.22, S.D.= 0.78) และตัวชี้วัดที่มีค่าประเมินต่ำสุด ได้แก่ การวางแผน อยู่ในระดับมาก (x̄ =4.12,S.D.= 0.79)
5. ผลการประเมินด้านผลผลิตในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x̄=4.24, S.D.= 0.92) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดที่มีค่าประเมินมากที่สุด ได้แก่ โรงเรียนมีการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์นักเรียนด้านความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง ผ่านกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพนักเรียน กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.40, S.D.= 0.74) และตัวชี้วัดที่มีค่าประเมินต่ำสุด ได้แก่ ครู วิทยากรให้คำแนะนำ คำปรึกษา และดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างใกล้ชิด อยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.09, S.D.= 1.05)