ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน โรงเรียนบ้านควนหนองหงส์ อำเภอชะอวด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวพรพรรณ คชเชนทร์
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ในการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านควนหนองหงส์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ครั้งนี้ ใช้รูปแบบ (CIPP MODEL) ครั้งนี้ผู้ประเมินจะเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยยึดตามวัตถุประสงค์ประกอบด้วย การประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) การประเมินด้านกระบวนการ (Process) และการประเมินด้านผลผลิต (Product) เพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านควนหนองหงส์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 8 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 32 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 32 คน รวมทั้งสิ้น 76 คน เนื่องจากสามารถให้ข้อมูลได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน
เครื่องมือและวิธีการสร้างเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ มี 4 ฉบับ ประกอบด้วยแบบประเมินโครงการ จำนวน 4 ฉบับ มีรายละเอียดดังนี้
ฉบับที่ 1 แบบประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านควนหนองหงส์ ด้านสภาพแวดล้อม เพื่อสอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษา แบ่งเป็น 3 ตอนประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านควนหนองหงส์ ด้านสภาพแวดล้อม มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 5 ข้อ และ ตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีต่อโครงการ
ฉบับที่ 2 แบบประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านควนหนองหงส์ ด้านปัจจัยนำเข้า เพื่อสอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษา แบ่งเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านควนหนองหงส์ ด้านปัจจัยนำเข้า มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ข้อ และ ตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ที่มีต่อโครงการ
ฉบับที่ 3 แบบประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านควนหนองหงส์ ด้านกระบวนการ เพื่อสอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษา แบ่งเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านควนหนองหงส์ ด้านกระบวนการ ลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 18 ข้อ และ ตอน ที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีต่อโครงการ
ฉบับที่ 4 แบบประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านควนหนองหงส์ ด้านผลผลิต เพื่อสอบถามครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา แบ่งเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านควนหนองหงส์ ด้านผลผลิต ลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 18 ขอ และตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีต่อโครงการ
อภิปรายผล
จากผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านควนหนองหงส์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 มีประเด็นที่จะนำมาสู่การอภิปราย ดังนี้
ด้านสภาพแวดล้อม (Context) จากผลการประเมินที่พบว่า โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เนื่องมาจากโรงเรียนบ้านควนหนองหงส์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โรงเรียนมีการจัดทำโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ มีการกำหนดนโยบายในการบริหารงานอย่างชัดเจนที่มุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพของนักเรียน โดยมีการจัดทำโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้กับ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนทราบ ทำให้เกิดเป็นความร่วมมือระหว่างโรงเรียนเละชุมชนอย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับ ฉวีวรรณ แซซี่ (2546, หน้า 98) กล่าวว่า นโยบายเป็นสิ่งแรกที่ทุกโรงเรียนจะต้องดำเนินการเพราะนโยบายถือว่าเป็นหลักและวิธีปฏิบัติ ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานไปสู่เป้าหมาย หากผลงานใดมีการกำหนดนโยบายไว้ชัดเจน จะทำให้ทุกคนตระหนักและให้ความสำคัญมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามนโยบายนั้น โรงเรียนบ้านควนหนองหงส์ จึงได้นำแนวทางในการดำเนินการดังกล่าวมาพัฒนาโรงเรียน โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA สอดคล้องกับ มีนา โอราวัฒน์ (2554, บทคัดย่อ) แนว ทางการบริหารโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยยึดหลักของวงจรคุณภาพ (Quality circle) เป็นแนวทางบริหารงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ 1) จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพร่วมกัน มีการกำหนดนโยบายการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนโดยการจัดทำแผนงานหรือโครงการและนำนโยบายสู่การปฏิบัติ 2) มีการปฏิบัติตามแผนงาน/โครงการที่กำหนด มีการประเมินตนเองโดยยึดหลักเกณฑ์ มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 3) มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการ ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 4) สรุปผลการตรวจสอบและนำผลไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขและ พัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพต่อไป
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) จากผลการประเมินโครงการพบว่า โรงเรียนมีการสรุปผลการสำรวจสิ่งแวดล้อมและร่วมวางแผนกับชุมชนในการหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้อาจเป็นผลสืบเนื่องจากการที่โรงเรียนได้กำหนดให้การส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น นโยบายหลักอย่างหนึ่งในการบริหารงานของโรงเรียน ส่งผลทำให้บุคลากรของโรงเรียน และชุมชนตระหนักถึงความสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับกรมอนามัย (2546, หน้า 10) โรงเรียนได้รับประโยชน์จากผู้ปกครอง องค์กรที่มีส่วนร่วมระดมความคิด ระดมทรัพยากร ร่วมปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนาโดยเฉพาะการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และกรมอนามัย (2548, หน้า 16) ได้กล่าวว่า การจัดการควบคุมดูแล ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมสุขภาพกาย จิต และสังคม รวมถึงการป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้น ทั้งต่อ นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน ซึ่งสอดคล้องกับ กรีน และครูเตอร์ (Green & Kurter, 1991, p.4) กล่าวว่า การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง ผลรวมของการสนับสนุนทางด้านการศึกษาและสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อให้เกิดผลต่อการปฏิบัติและสภาพการดำรงชีวิตที่นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีได้
ด้านกระบวนการ (Process) จากผลการประเมินโครงการ พบว่า โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการให้แก่นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และบุคลากรในโรงเรียนได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโรงเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคน หรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จำเป็นต้องคำนึงถึงสุขภาพอนามัยควบคู่กันไปกับการศึกษา ดังที่กรมอนามัย (2543 ) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของสุขภาพกับการศึกษา พบว่า การมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีแล้วทำให้สังคมเจริญเติบโต โดยเฉพาะเด็กพร้อมที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพดีในอนาคต มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ ได้ดีกว่าโดยเฉพาะความรับผิดชอบ กรณีไม่ขาดเรียน เป็นคนมีคุณภาพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ด้านผลผลิต (Product) จากการประเมินโครงการ พบว่า โรงเรียนปรับปรุง พัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้ตามมาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมจนเป็นที่ยอมรับของนักเรียนและชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และรองลงมา คือ โรงเรียนมีกิจกรรมกำจัดทำลายแหล่งลูกน้ำยุงลาย และจากการประเมินสุขภาพของนักเรียน ด้านความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า ด้านโรคและความผิดปกติของร่างกาย ด้านพฤติกรรมการบริโภคและสมรรถภาพทางกายของนักเรียนพบว่า มีสุขภาพปกติดีทุกคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการที่โรงเรียนมีนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนที่ชัดเจนและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมโดยดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 8 กิจกรรมได้แก่ 1) กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ 2) กิจกรรมพัฒนาอนามัยในโรงเรียน 3) การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียน 4) ส่งเสริมโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย 5) ส่งเสริมการออกกำลัง กาย 6) กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน 7) กิจกรรมส่งเสริมให้คำปรึกษานักเรียน 8) กิจกรรมผักสวนครัวปลอดสารพิษซึ่งครอบคลุมเกณฑ์การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพส่งผลให้นักเรียนเป็นผู้มีสุขภาพดี ทำให้เป็นคนมีคุณภาพ สอดกล้องกับกระทรวงศึกษาธิการ (2545, 3) ได้กล่าวถึงความสำคัญของสุขภาพไว้ว่า การมีสุขภาพที่เป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ประการแรกของคนไทย ที่รัฐบาลได้กำหนดไว้เป็นนโยบายและมาตรการในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถยืนหยัดอย่าง ไทยในประชาคมโลกทั้งปัจจุบัน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ด้านสภาพแวดล้อม โรงเรียนควรจัดโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า โรงเรียนควรสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
1.3 ด้านกระบวนการ โรงเรียนควรมีการจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย กีฬา และ นันทนาการให้แก่นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
1.4 ด้านผลผลิต โรงเรียนควรมีการตรวจสอบน้ำหนัก ส่วนสูง ของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมตามโครงการของสถานศึกษา