ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาการประกันคุณภาพภายใน สู่มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งเอี้ยงสามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
ผู้ประเมิน นายจักรกฤษ กราบกราน ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะชำนาญการ
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาการประกันคุณภาพภายใน สู่มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งเอี้ยงสามัคคี ปีการศึกษา 2563 จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความสอดคล้องด้านบริบท (Context) 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) 4) เพื่อประเมินระดับการปฏิบัติด้านผลผลิต (Product) โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มประชากร ที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวน 53 คน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ครูผู้สอน จำนวน 4 คน เลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งเอี้ยงสามัคคี อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก และผู้ปกครองนักเรียน จำแนกเป็น นักเรียน จำนวน 21 คน และผู้ปกครอง จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีจำนวนทั้งหมด 4 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบประเมินความสอดคล้องโครงการด้านบริบท ฉบับที่ 2 แบบประเมินความเหมาะสมโครงการด้านปัจจัยเบี้ยงต้น ฉบับที่ 3 แบบประเมินประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินงาน และ ฉบับที่ 4 แบบประเมินความสอดคล้องโครงการด้านผลผลิต และการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบรายงานผลการประเมินกิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย ซึ่งผลการประเมินโครงการพัฒนาการประกันคุณภาพภายใน สู่มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งเอี้ยงสามัคคี ปีการศึกษา 2563 สรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการโครงการพัฒนาการประกันคุณภาพภายใน สู่มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งเอี้ยงสามัคคี สรุปได้ ดังนี้
1) ผลการประเมินด้านบริบท ในภาพรวม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน
2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมพบว่าผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน
3) ผลการประเมินด้านกระบวนการด้านกระบวนการ ในภาพรวม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินและ
4) ผลการประเมินด้านผลผลิตภาพรวม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน
จากผลการประเมินโครงการซึ่งพิจารณาโดยรวมแล้วถือว่าโครงการพัฒนาการประกันคุณภาพภายใน สู่มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งเอี้ยงสามัคคี ปีการศึกษา 2563 ผ่านเกณฑ์การประเมินตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
จากการประเมินโครงการพัฒนาการประกันคุณภาพภายใน สู่มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งเอี้ยงสามัคคี มีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ด้านบริบท โรงเรียนควรกำหนดโครงสร้างของโครงการให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและหลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องและมีความชัดเจนขึ้น เพื่อให้บุคลากรเข้าใจง่ายและปฏิบัติงานได้สะดวก รวดเร็ว ลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น โรงเรียนควรเพิ่มจำนวนบุคลากรเพียงพอในการปฏิบัติงานในแต่ละโครงการ โดยให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของโครงการอย่างทั่วถึงอย่างเหมาะสม ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญด้านการจัดสรรงบประมาณ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการดำเนินโครงการ เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงาน
3. ด้านกระบวนการ โรงเรียนควรกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงาน ให้มีความเหมาะสม ยืดหยุ่นได้หรือเร่งรัดได้แล้วแต่สถานการณ์ของโครงการเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นจาการเร่งรีบ รวมถึงโครงการแล้วเสร็จช้ากว่ากำหนด ซึ่งอาจส่งผลต่อการดำเนินงานเป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนดไว้ ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรใช้การมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม และการใช้แรงจูงในในการปฏิบัติงานเชิงบวก
4. ด้านผลผลิต นำผลการรายงานประเมินโครงการมาจัดการศึกษาภายในโรงเรียน ควรกำหนดให้บุคลากรทุกคนในสถานศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลและการายงานผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อให้ได้รับข้อมูลสารสนเทศที่ครบถ้วนจากทุกฝ่ายสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการปฏิบัติงานด้านต่างๆ และใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป.