ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การเลี้ยงปลาดุก
ผู้วิจัย นัทธพงศ์ มงคลปัญญากุล
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก โรงเรียนบ้านป่าหมาก ตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก
ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านป่าหมาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านป่าหมาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แม่ฮ่องสอนเขต 2 อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ปีการศึกษา 2563 จำนวน7 คน
คำสำคัญ: เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเกษตรต่างๆ เพื่อที่จะสามารถนามาใช้กับชีวิตประจาวันและสอดคล้องกับแนวพระราดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยคณะผู้จัดทาได้ออกศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต และศึกษาสัมภาษณ์จากชาวบ้าน จากชาวบ้านชุมชนใกล้เคียงที่มีการเพาะเลี้ยงปลาดุก คณะผู้จัดทาได้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกก็มีแนวความคิดจัดทำขึ้น เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกและเมื่อได้ความรู้แล้วก็สามารถที่จะนาไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจาวันได้ เมื่อนำไปประยุกต์ใช้ก็ทาให้เกิด ความพอเพียง พอมี พอกิน ในชีวิตประจำวันของตนเองจากการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย เรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. รูปแบบการวิจัย
3. การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม
4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
5. การเก็บรวบรวมข้อมูล
6. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย
2.รูปแบบการวิจัย การวิจัยเชิงทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนเรียน หลังเรียน(The one Group pretest / postest Design) เป็นการวิจัยที่ทำการทดสอบก่อนทดลองและหลังการทดลองจากกลุ่มที่ทำการทดลอง
T1 X T
T1 การวัดตัวแปรก่อนการทดลอง
X กลุ่มจัดกระทำ กลุ่มทดลอง
T2 การวัดตัวแปรหลังการทดลอง
3. การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม
3.1 รายละเอียดของนวัตกรรม
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเลี้ยงปลาดุกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึก
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ชุด
ชุดที่ 1 ชนิดของปลาดุก
ชุดที่ 2 อาหารปลาดุก
ชุดที่ 3 การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาดุก
ชุดที่ 4 การเตรียมพันธ์ปลาดุก
ชุดที่ 5 อาหารและการให้อาหารปลาดุก
แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก
สรุปผลได้ดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คือด้านเนื้อหา (ส่วนนำ,ส่วนเนื้อหา,ส่วนสรุป) และการออกแบบคุณสมบัติของชุดกิจกรรมการเรียนรู้สรุปโดยรวมอยู่ในระดับมาก ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.84/85.23 ซึ่งเป็นไปสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนโดยรวมมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด