การประเมินโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วงโดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วงโดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วงโดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วงโดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วงโดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน 3 ประเด็นคือ 4.1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อน และหลังการดำเนินโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วง โดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4.2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่เกิดจากโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วงโดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ 4.3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วงโดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 5) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วงโดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านหนองมะม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ในปีการศึกษา 2562 ทุกคน จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ข้าราชาการครู และครูอัตราจ้าง นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 จนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองมะม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2562 ทุกคน จำนวน 95 คน ผู้ปกครองนักเรียนนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 จนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองมะม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ในปีการศึกษา 2562 ทุกคน จำนวน 92 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านหนองมะม่วงที่ปฏิบัติหน้าที่ ในปีการศึกษา 2562 ทุกคน จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ค่า t - test แบบ Dependent ผลการประเมินปรากฏ ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วง โดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายกลยุทธ์ของหน่วยงานต้นสังกัดและความต้องการของโรงเรียนและชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วงโดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ความเหมาะสม ความเพียงพอของทรัพยากรการบริหารของโครงการและความรู้ เรื่อง แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วง โดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วง โดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง พบว่า
4.1 คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ เรื่อง แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วงโดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ เรื่อง แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนหลังเข้าร่วมโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วง โดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ
4.2 การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เกิดกับนักเรียนทั้ง 8 กิจกรรม ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองพบว่านักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์จากการดำเนินกิจกรรมในโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกิจกรรม
4.3 การประเมินความพึงพอใจต่อโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วง โดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองพบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินผลกระทบของโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วงโดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุปโครงการสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองมะม่วงโดยประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นโครงการที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทั้งในด้านการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมา แนวคิด หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสร้างกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียน และนักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือ มีคุณธรรม นำความรู้ ดำรงชีวิตอยู่ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ยังสร้างความพึงพอใจต่อผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียนจึงสมควรให้ดำเนินโครงการนี้ต่อไป