การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน
นิชนันท์ ทิมทอง
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน 3) เพื่อเปรียบเทียบผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง เศษส่วน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือผสมผสาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.94/81.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
บทนำ
คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาความคิดของผู้เรียน มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือ สถานการณ์อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผนตัดสินใจแก้ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิต ประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น คณิตศาสตร์จึงเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนา คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 , หน้า 1) อีกทั้งคณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนาชีวิตมนุษย์ให้สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และอยู่รวมกับผู้อื่นได้อย่างมีคุณค่า (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2545 , หน้า 1)
สำหรับปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน จากประสบการณ์การสอนวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน อย่างหนึ่งคือ ขาดทักษะในการคิดวิเคราะห์ ไม่สามารถแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ เศษส่วน และทศนิยมที่มีความซับซ้อนได้ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานผลการทดสอบขั้นพื้นฐานแห่งชาติ (O-Net) ปีการศึกษา 2560 วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบแยกตามมาตรฐานการเรียนรู้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบระดับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และ ใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา ที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบค่อนข้างต่ำสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนต้อง ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความ เหมาะสม และมีความหลากหลาย ใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม ตลอดจนสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการ เรียนรู้ (กรมวิชาการ, 2545, หน้า 191) จากการจัดการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ เนื้อหาวิชา คณิตศาสตร์มีความยาก ต้องอาศัยการคิด วิเคราะห์ ฝึกฝน และสติปัญญาเป็นอย่างมาก ทำให้นักเรียน ขาดความสนใจกระตือรือร้น และไม่อยากเรียนคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาที่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน มีสาเหตุเกิดจากหลายประการ เช่น ด้านเนื้อหา เนื้อหาที่นักเรียนเข้าใจยากที่สุด คือ เรื่อง เศษส่วนและการประยุกต์ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นโจทย์ปัญหา เศษส่วน ทศนิยมและร้อยละ ต้องใช้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานผลการศึกษาในด้านคุณภาพผู้เรียนที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 ผู้เรียนยังขาดคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยเฉพาะด้านการคิดวิเคราะห์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ทั้งคุณลักษณะในด้านความรู้ ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2554 , หน้า 101 102)
การจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์มีวิธีการสอนมากมายแต่ครูผู้สอนต้องรู้จักเลือกใช้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหา เวลา เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายมากที่สุด การจัด การเรียนการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD : Student Teams-Achievement Divisions) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ ร่วมกันเป็นกลุ่ม เล็ก ๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ ความสามารถแตกต่างกัน โดยที่แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการเรียนรู้และในความสำเร็จของกลุ่ม ทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันทรัพยากรการเรียนรู้ รวมทั้งการเป็นกำลังใจแก่กันและกัน คนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือคนที่ อ่อนกว่า สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนของตนเองเท่านั้น หากแต่จะต้องร่วม รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ความสำเร็จแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD : Student Teams-Achievement Divisions) สามารถ นำมาใช้ได้กับการเรียนทุกวิชาและทุกระดับชั้นและจะมีประสิทธิผลยิ่งกับกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มุ่งพัฒนา ผู้เรียนในด้านการแก้ปัญหา การกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้การคิดแบบหลากหลาย การปฏิบัติ ภารกิจที่ซับซ้อน การเน้นคุณธรรมจริยธรรม การเสริมสร้างประชาธิปไตยในชั้นเรียน ทักษะทางสังคม การสร้างวินัยความรับผิดชอบร่วมกัน และความร่วมมือภายในกลุ่ม (วัฒนาพร ระงับทุกข์, 2542 , หน้า 34) ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL นั้นเป็นเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่พัฒนาจากเทคนิค KWL ของโอเกิล (Ogle, 1986) ที่ต้องอาศัยทักษะการอ่านเป็นพื้นฐาน คือ นักเรียน ต้องมีความสามารถทางการอ่านก่อนจึงจะสามารถพัฒนาทักษะการอ่านให้มีคุณภาพได้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 K :เรารู้อะไร (What we know) หรือโจทย์บอกอะไรเราบ้าง ขั้นที่ 2 W : เราต้องการอะไรต้องการทราบอะไร (What we want to know) โจทย์ให้อะไรหรือโจทย์บอกอะไรบ้าง ขั้นที่ 3 D : เราทำอะไรอย่างไร (What we do) และหาคำตอบหรือเรามีวิธีการอย่างไรบ้าง ขั้นที่ 4 L : เราเรียนรู้อะไรจากการดำเนินการ ขั้นที่ 3 (What we learned) ซึ่งคือค าตอบสาระความรู้และวิธีการศึกษาคำตอบ (วัชรา เล่าเรียนดี, 2554, หน้า 130) วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้นครูสามารถนำมาใช้จัด กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการใช้เทคนิค KWDL ที่ต้องอาศัยทักษะการอ่านเป็นพื้นฐาน ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านและพัฒนาทักษะการอ่านให้มีคุณภาพมากขึ้น ช่วยให้เกิดแนวคิดในการอ่านโดยเฉพาะการอ่านเชิงวิเคราะห์ หาคำตอบของคำถามสำคัญ ๆ ต่าง ๆ จากเรื่องนั้น ๆ และเมื่อนำKWDL ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีกระบวนการเรียนรู้ที่พึ่งพา และเกื้อกูลกัน มีการปรึกษาหารือและปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ทุกคนมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ สามารถตรวจสอบได้สมาชิกกลุ่มต้องใช้ทักษะ การทำงานกลุ่ม และการสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานหรือการเรียนรู้ร่วมกัน มีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการทำงานร่วมกัน ส่งผลดีต่อ การเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมาย เป็นผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงขึ้น และสามารถพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูให้มีประสิทธิภาพ (ทิศนา แขมมณี, 2554, หน้า 105 106)
จากสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้และความสำคัญในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยสนใจนำวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานโดยนำรูปแบบเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL มาแก้ปัญหาดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการ ปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนา ศักยภาพของตนเองและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาการจัดกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานขึ้น เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อประเมินความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน
2. เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง เศษส่วน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน
ขอบเขตของการวิจัย
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ได้กำหนดขอบเขตของการวิจัย ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบความต้องการและแนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีขอบเขต ดังนี้
ขอบเขตด้านเนื้อหา
1. วิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2. ศึกษาความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นปะถมศึกษาปีที่ 5
3. ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 294 คน
2. ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 ที่มีความรู้และประสบการณ์ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ได้แก่
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 294 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p.608) โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นชั้นในการสุ่ม
2. ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 ที่มีความรู้และประสบการณ์ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive)
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีขอบเขต ดังนี้
ขอบเขตด้านเนื้อหา
1. การตรวจสอบความเหมาะสมของวิธีการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ
2. การหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 294 คน จำนวน 8 ห้องเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 กลุ่ม ดังนี้
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัด
เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับสลาก เพื่อทำการทดลองแบบรายบุคคล
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัด
เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 9 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับสลาก เพื่อทำ การทดลองแบบกลุ่มเล็ก
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัด
เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับสลาก เพื่อทำ การทดลองแบบภาคสนาม
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานมีขอบเขต ดังนี้
ขอบเขตด้านเนื้อหา
1. ศึกษาผลการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือในการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดย ดำเนินการทดลองตามแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน
2. ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ได้แก่ ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 8 ห้องเรียน จำนวน 254 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จำแนกตามห้องเรียนแต่ละห้องเรียน นักเรียนมีผล การเรียนคละกัน
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีขอบเขตดังนี้
ขอบเขตด้านเนื้อหา
การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดย ดำเนินการทดลอง และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
เทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 8 ห้องเรียน จำนวน 294 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จำแนกตามห้องเรียนแต่ละห้องเรียน นักเรียนมีผล การเรียนคละกัน
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and development) 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบความต้องการและแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ มีรายละเอียด ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. วิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ
2. ศึกษาความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยสอบถามจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล แหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
3. ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยสัมภาษณ์ ครูที่สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้
1. การสังเคราะห์เอกสาร วิเคราะความต้องการและผลการสัมภาษณ์
2. ร่างรูปแบบและวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน
3. การตรวจสอบความเหมาะสมและความถูกต้องของวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยผู้เชี่ยวชาญตรวจพิจารณา เพื่อประเมินความเหมาะสมของการจัดกิจกรรม โดยเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญตรวจพิจารณาตามข้อเสนอแนะ เพื่อให้ข้อเสนอแนะแล้วนำกลับมาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ต่อไป
4. สร้างและตรวจสอบความเหมาะสมและความถูกต้องของวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสม และปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญให้สมบูรณ์
5. นำแผนจัดการเรียนรู้ ไปทดลองใช้ (Try-out) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม จำนวน 42 คน
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ดำเนินการทดลองตามแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน
2. ทำการทดสอบก่อนเรียน โดยก่อนจัดการเรียนรู้ ดำเนินการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน เมื่อจัดการเรียนรู้แต่ละแผน ดำเนินการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแต่ละเรื่อง
3. ดำเนินการทดลองตามแผนจัดการเรียนรู้
4. เมื่อจัดการเรียนรู้ครบทุกแผนแล้ว ทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินกิจกรรมการเรียนรู้
1. ดำเนินการทดลองตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบ ก่อนหลัง (One Group Pretest Posttest Design) (มาเรียม นิลพันธุ์, 2553, หน้า 144)
2. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ได้จากการตอบของกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ ระดับความพึงพอใจ โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทียบกับเกณฑ์การประเมินต้องมีค่าเฉลี่ย ของคะแนนตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. วิเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปใน การสร้างวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการสร้างข้อสรุป
2. การหาคุณภาพของแบบสอบถาม โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ที่ต้องการวัด คัดข้อที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มากกว่า .50 เป็นเกณฑ์ ตัดสินว่าแบบสอบถามข้อนั้นมีความเหมาะสม/สอดคล้องสามารถนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม มีค่าเท่ากับ .89
3. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดย หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนจากแบบสอบถาม
4. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ โดยการนำคำตอบที่ได้รับจากการตอบของผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ละคน นำมาสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ ใช้หลักวิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulate) คือผู้วิจัยบันทึกข้อมูลสำคัญจากการสนทนาลงในแบบบันทึกข้อมูล พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์ข้อมูลไปพร้อมกับการเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือผู้วิจัยต้องวิเคราะห์ และตีความข้อมูลที่ได้ตลอดเวลา ขณะปฏิบัติภาคสนามมีการตรวจสอบความถูกต้องของการสนทนา โดยเมื่อ จบแต่ละประเด็นคำถาม ผู้วิจัยจะอ่านบทสรุป การสนทนาเพื่อให้ผู้ให้ข้อมูลยืนยันความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ผลการวิเคราะห์มีความน่าเชื่อถือ การวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่าจะดำเนินการ 3 ประการ คือ การจัดประเภทข้อมูล (Category) การตีความ (Interpretation) และการสรุปความ (Summary)
ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปการวิเคราะห์ข้อมูล โดยดำเนินการ ดังนี้
1. หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการหา ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียน หาความเหมาะสมและความถูกต้องของการจัดกิจกรรม การเรียน
2. การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา (Content Analysis)
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยการทดสอบค่าที (t-test)
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินกิจกรรมการเรียนรู้
1. ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน โดยวิเคราะห์จากผลการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ได้ จากการตอบของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจ โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน เทียบกับเกณฑ์การประเมินโดยควรมีค่าเฉลี่ยของคะแนนตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่เกิน 1.00 (มาเรียม นิลพันธุ์, 2553, หน้า 196)
2. ในการปรับปรุงและขยายผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน นั้น ผู้วิจัยนำแผนจัด การเรียนรู้ที่ผ่านการปรับปรุงสมบูรณ์แล้ว ไปเผยแพร่ให้กับครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อไป
สรุปผล
1. ความเหมาะสมและความถูกต้องของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.94/81.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
อภิปรายผล
จากการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีประเด็นที่ควรนำมาอภิปราย ดังนี้ 1. การศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการคิด วิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ความต้องการใน การพัฒนาการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก แนวทาง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นไปตามองค์ประกอบที่สร้างขึ้น ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาต่อไป ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากในการพัฒนาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตร สาระการเรียนรู้การศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำไปจัดทำเป็นแผนจัดการเรียนรู้ โดยได้ผ่านผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพมากขึ้น กระบวนการออกแบบการสอน อย่างเป็นระบบมีคุณภาพ สามารถช่วยให้ผู้วิจัยสร้างรูปแบบการสอนที่มีคุณภาพเพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้สอดคล้องกับบุญชม ศรีสะอาด (2553, หน้า 19) ที่กล่าวว่า โครงสร้างที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ หรือตัวแปรต่าง ๆ ผู้วิจัยสามารถ ใช้รูปแบบอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ หรือตัวแปรต่าง ๆ ที่มีในปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือ ในระบบต่าง ๆ อธิบายลำดับขั้นตอนขององค์ประกอบหรือกิจกรรมในระบบ สอดคล้องกับจอยซ์และเวล (Joyce and Weil, 2009, p.43) ที่กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอน ประกอบไปด้วยเป้าหมายของรูปแบบ ข้อตกลงเบื้องต้นและหลักการสำคัญที่เป็นพื้นฐานของรูปแบบการสอน โครงสร้างของรูปแบบเป็นการอธิบาย ถึงการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติ โดยมีลำดับขั้นตอนของกิจกรรม ซึ่งแต่ละรูปแบบการสอนจะมีขั้นตอนการสอนที่แตกต่างกันไป และสอดคล้องกับงานวิจัยของชนาพร ทัพภูมี(2556) ที่ได้พัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดของกาเยและซิปปาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนตามแนวคิดของ กาเยและซิปปาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 1) ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบ และ 4) ผลที่ผู้เรียนได้รับจากกระบวนการ เรียนการสอนตามรูปแบบ
2. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.94/81.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากในการสร้างแผนจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตร สาระสำคัญและสาระการเรียนรู้ได้ ศึกษาความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งจากการสอบถามและสัมภาษณ์กับครูและนักเรียน ศึกษาวิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกแบบให้ตรงตามหลักวิชาการ แล้วนำไปจัดทำเป็นแผนจัด การเรียนรู้เพื่อให้ครอบคลุมรายละเอียด โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข ให้ถูกต้อง จึงทำให้ได้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้นำวิธีจัดการเรียนรู้ไปทดลองใช้ 3 กลุ่ม แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เป็นไป ตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้สอดคล้องกับครูส (Kruse, 2007, p.1) ที่กล่าวว่า การออกแบบระบบการเรียนการ สอนให้มีประสิทธิผล ประกอบด้วย ขั้นตอน การวิเคราะห์ (Analysis) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหรือแก้ปัญหาการออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implementation) ในสถานการณ์จริง และขั้นการประเมิน (Evaluation) สอดคล้องกับจอยซ์และเวล (Joyce and Weil, 2009, p.43) ที่กล่าวว่า การนำรูปแบบไปใช้ (Application) เป็นการนำเสนอคำแนะนำ และข้อสังเกตต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การสอนตามรูปแบบมีประสิทธิภาพ เช่น ประเภทของเนื้อหาวิชาที่เหมาะสมกับการสอนแต่ละรูปแบบ ระดับชั้นและอายุผู้เรียน สถานที่หรือสภาพแวดล้อมที่จะต้องจัดให้เอื้อต่อการใช้รูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบ สอดคล้องกับงานวิจัยของนิติยา ครอบบัวบาน (2556) ได้ทำการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยซิปปากับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยซิปปา (CIPPA) และแผนการ จัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เรื่องความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.64/81.58 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. ผลการทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้อาจ อาจเนื่องมาจากกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ เป็นกระบวนการจัดการให้ สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มมีบทบาทหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนงานของกลุ่มที่ส่งผลให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ ผ่านการคิดร่วมกันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่ง Johnson และ Johnson (Hall and others. 2014 ,p 293 ; citing Johnson and Johnson. 1990) ได้ให้ ความสำคัญในการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือว่า ทักษะการเรียนรู้ต้องใช้การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างมี ประสิทธิภาพผ่านการจัดการเรียนรู้ที่เป็นระบบ เพื่อต้องการให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จตาม วัตถุประสงค์การเรียน โดยมีโอกาสเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนและใช้ทักษะการร่วมมือของกลุ่ม ดังนั้นการ เรียนด้วยกลุ่มร่วมมือจึงเป็นการเรียนรู้ของกลุ่มย่อยที่สนับสนุนให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน เพื่อให้งานของ กลุ่มประสบผลสำเร็จสูงสุด ขณะที่ผู้เรียนแต่ละคนเกิดการเรียนรู้เท่าเทียมกัน และ Slavin (Hall and others. 2014 , p 394 ; citing Slavin. 1993) ได้อธิบายการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือว่า เป็นการจัดโครงสร้างกลุ่มผู้เรียนเพื่อการทำกิจกรรมแก้ปัญหาให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยจัดกิจกรรม ให้เหมาะกับความรู้ความสามารถของกลุ่ม และให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมด้านบวก ตัวอย่างกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมกันเรียนรู้ (Learning Together) ตามแนวคิดของ Johnson และ Johnson (Hall and others. 2014 ,p 396 ; citing Johnson and Johnson. 1999) ที่ประกอบด้วยขั้นตอนของกิจกรรมดังนี้ (1) ครูกำหนดหรือเสนองานให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเป็น การเฉพาะ (2) ผู้เรียนในกลุ่มสร้างความเข้าใจโดยใช้ทักษะทางสังคมสนับสนุนความพยายามของ สมาชิกแต่ละคนเพื่อช่วยให้งานสำเร็จ (3) ครูตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ของ งานและทักษะทางสังคมที่น ามาใช้ (4) กลุ่มปฏิบัติงานร่วมกันที่แสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ทางภาษาใน ระดับสูง และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องด้านบวก (5) ครูประเมินตรวจสอบความรับผิดชอบของผู้เรียน แต่ละบุคคลเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานการเรียน และการสร้างสรรค์ประเด็นการอภิปรายงานของกลุ่มในชั้นเรียน จากเงื่อนไขและปัจจัยดังกล่าวจึงส่งผลให้นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นในระดับค่อนข้างสูง
4. การประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากในการจัดการเรียนการสอนครูคอยตั้งคำถามให้นักเรียนได้คิด เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้คิดต่อ มีการจัดสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้ นักเรียนเกิดความสนใจ คอยแนะนำและให้คำปรึกษา เมื่อนักเรียนเกิดปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ กิจกรรมที่ทำมีความสนุกสนาน ยั่วยุให้นักเรียนอยากเรียน ครูมีการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้เกิดความไว้วางใจ ความกระตือรือร้น การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ให้การเสริมแรงทางบวก เมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมได้สำเร็จเป็นไปตามจุดประสงค์อย่าง ต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการจัดเรียงเนื้อหาสาระการเรียนรู้จากง่ายไปหายาก และเนื้อหากิจกรรมไม่ยากจนเกินไปมีกิจกรรมที่หลากหลายน่าสนใจ เชิญชวนให้นักเรียนอยากลงมือปฏิบัติกิจกรรม ทำให้เข้าใจ บทเรียนได้ดีและไม่เบื่อหน่าย ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ การสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับสำลี ทองธิว (2555, หน้า 5) ที่กล่าวว่า ความพึงพอใจของมนุษย์ เป็นการแสดงออก ทางพฤติกรรมที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปร่างได้ การที่เราจะทราบว่า บุคคลมีความพึงพอใจ หรือไม่ สามารถสังเกตโดยการแสดงออกที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน และต้องมีสิ่งที่ตรงต่อความต้องการของบุคคล จึงจะทำให้บุคคลเกิดความพึงพอใจ ดังนั้นการสร้างสิ่งเร้าจึงเป็นแรงจูงใจของบุคคลนั้นให้เกิดความพึงพอใจใน งานนั้น สอดคล้องกับงานวิจัยของนิภา พิศลืม (2556) ได้ทำการเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ความสามารถใน การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ LT กับการเรียนรู้แบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ LT มี ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับงานวิจัยของบุณยาพร สารมะโน (2559) ได้พัฒนารูปแบบการประเมินตามสภาพจริงที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ใช้รูปแบบมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
จากผลการวิจัยในครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จึงเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับครูผู้สอนที่จะนำไป พิจารณาเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาอื่น ๆ หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ต่อไป
2. การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องจัดกิจกรรมที่หลากหลายมีการเฉลยกิจกรรมและให้นักเรียน สามารถค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เพื่อให้นักเรียนเกิดภาคภูมิใจที่ได้เรียนรู้และค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
3. ผู้ที่จะพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ต้องศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอน เรียงลำดับเนื้อหา เพื่อกำหนดกิจกรรม ขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และตอบสนองในการเรียนตลอดเวลา และเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน ต้องมีการออกแบบและพัฒนาอย่างเป็นระบบ ก่อนที่จะนำไปใช้จริง
4. ผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีนโยบายให้ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มีการนำวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิค การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่น ๆ และระดับชั้นอื่น ๆ
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป
1. ควรมีการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นอื่น ๆ
2. ควรมีการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมความสามารถในการคิดแบบมีวิจารณญาณ
3. ควรทำการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานกับวิธีการสอนรูปแบบอื่น ๆ ด้วย
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ชนาพร ทัพภูมี. (2556). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดของกานเยและซิปปาเพื่อพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
นิติยา ครอบบัวบาน. (2556).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิเคราะห์และความฉลาด
ทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยซิปปากับการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ . วิทยานิพนธ์
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิภา พิศลืม. (2556). การเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น กลุ่ม
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบร่วมมือ LT กับการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและ
ประเมินผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553).การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น
บุณยาพร สารมะโน. (2559). การพัฒนารูปแบบการประเมินตามสภาพจริงที่มีผลต่อความสามารถใน
การคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,
สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มาเรียม นิลพันธ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542 ก). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545).คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ คณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา
ในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำลี ทองธิว. (2555). กลวิธีการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับผู้บริหารและครูก้าวหน้า.
กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Joyce, B. R. and Weil, M. (2009). Model of Teaching. (8ed ed). New York : Allyn & Bacon.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.