ชื่อเรื่อง โครงการพัฒนาครูแนะแนวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41
ชื่อผู้ประเมิน นายประจิม เมืองแก้ว ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเททศชำนาญการ
ชื่อหน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41
ปีที่ประเมิน ปีงบประมาณ 2562
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาครูแนะแนวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 ของศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 โดยมีวัตถุประสงค์
ใช้กรอบการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบริบท (Context) 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input)
3) ด้านกระบวนการ (Process) และ 4) ด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการประเมินโครงการ ได้แก่ คณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ผู้บริหาร และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม
เรื่องโครงการพัฒนาครูแนะแนวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 สำหรับคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติราชการประเมินก่อนดำเนินโครงการในด้านบริบท (Context) และด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ฉบับที่ 2 สำหรับ คณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติราชการประเมินระหว่างดำเนินโครงการในด้าน กระบวนการ (Process) และฉบับที่ 3 สำหรับ ผู้บริหาร และครู ประเมินหลังดำเนินโครงการในด้านผลผลิต (Product) โดยใช้สถิติค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินด้านบริบท (Context) ของโครงการพัฒนาครูแนะแนว
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 พบว่า สอดคล้องโดยภาพรวม
อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.52, S.D. = .24) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีความพร้อมในการดำเนินการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = .49) รองลงมา คือ โครงการสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = .50) รวมทั้งหลักการวัตถุประสงค์และเดป้าหมายของโครงการมีความชัดเจนเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = .50) ของโครงการสามารถตอบสนองปัญหาและความตค้องการจำเป็นได้อย่างแท้จริง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = .50)
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมิน ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ของโครงการพัฒนา
ครูแนะแนวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 พบว่า เหมาะสมโดยภาพรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = .24) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีความเหมะสมสูงที่สุด มีสองประเด็น คือ การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนมีความเพียงพอต่อการดำเนินโครงการ มีค่าเท่ากับ
( = 4.64, S.D. = .49) และการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องระดับเขตพื้นที่หรือหน่วยงานอื่น ๆ มีค่าเท่ากับ ( = 4.64, S.D. = .49) รองลงมา คือ เทคโนโลยี สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกเหมาะสม
สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคล อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62 , S.D. = .58) และบุคลากรได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะในการดำเนินการบริหารจัดการโครงการ รวมทั้ง การนิเทศติดตามผลการดำเนินงานมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = .50) เท่ากันและมี 4 ประเด็น ที่มีความเหมาะสมในระดับมาก คือ บุคลากรมีความเหมาะสมและเพียงพอต่อการดำเนินโครงการ ความคุ้มค่าและเหมาะสมของงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการ เทคโนโลยี สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกสอดคล้องกับแผนและเทคโนโลยี สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกมีความเหมาะสมในการดำเนินโครงการ
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมิน ด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนา
ครูแนะแนวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 พบว่า เหมาะสมโดยภาพรวม
อยู่ในระดับ มาก ( = 4.38 , S.D. = .19) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความเหมาะสมในระดับมากที่สุดในประเด็นหัวข้อคณะทำงานมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารการจัดกิจกรรมอย่างทั่วถึง มีค่า
( = 4.83 , S.D. = .38) และคณะทำงานมีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
มีค่า ( = 4.52, S.D. = .55) รองลงมาอีก 10 ประเด็น คือ มีความเหมาะสมในระดับมาก เช่น ประเด็นหัวข้อการวางแผนจัดกิจกรรมมีความชัดเจนและครอบคลุมคณะทำงานมีการสร้างความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม การมอบหมายงานมีความเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของ
แต่ละบุคคล คณะทำงานมีการดำเนินการจัดกิจกรรมตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ การดำเนินการแต่ละขั้นตอนเป็นไปตามกำหนดการ/ระยะเวลาที่กำหนดไว้ และอีกมีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่า
( = 4.43 , S.D. = .67)
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการพัฒนาครู
แนะแนว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 พบว่า ผ่านเกณฑ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.45, S.D. = .19) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ครูและผู้บริหารมีการพัฒนาความรู้ความสามารถตามศักยภาพเพิ่มมากขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่า ( = 4.80 , S.D. = .40)
รองลงมา คือ การสร้างเครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้ชุมชน องค์กรเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่า ( = 4.69, S.D. = .46) และ การนิเทศ ติดตามและประเมินผล
การจัดการศึกษาได้รับการยอมรับจากผู้บริหารและครูผู้สอน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่า
( = 4.68 , S.D. = .52) ส่วนข้อที่มีผลคะแนนต่ำที่สุด คือ นักเรียนได้รับประโยชน์จากการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการศึกษาต่อและการมีงานทำตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) อยู่ในระดับมาก มีค่าเท่ากับ
( = 4.06 , S.D. = .50)