เรื่อง การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนบ้านนาไร่เดียว ปีการศึกษา 2562
ผู้ศึกษา นายนิกร เชยชมศรี
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนบ้านนาไร่เดียว ปีการศึกษา 2562 เป็นการศึกษาและพัฒนาด้วยการนำทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปสนับสนุนการพัฒนาครูตามทฤษฎีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและปฏิบัติงานที่เกิดจากการสังเคราะห์นวัตกรรมของผู้ศึกษา เรียกว่า NRD8H MODEL โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนบ้านนาไร่เดียว ปีการศึกษา 2562 เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงาน NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ
ประชากรอยู่ในบริบทพื้นที่บริการโรงเรียนบ้านนาไร่เดียว ตำบลนาทัน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 โดยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแยกเป็นกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ 1) ครู ปฏิบัติการ และครูอัตราจ้าง จำนวน 13 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3 จำนวน 64 คน และ 4) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3 จำนวน 64 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนบ้านนาไร่เดียว ปีการศึกษา 2562 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ
สรุปผลการศึกษา
1. การวิเคราะห์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนบ้านนาไร่เดียว ปีการศึกษา 2562 โดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พบว่า ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนบ้านนาไร่เดียว ปีการศึกษา 2562 โดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ( = 4.66 S.D. = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ มีค่าเฉลี่ย ( ) สูงสุดเท่ากับ 4.71 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.47 รองลงมา คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มีค่าเฉลี่ย ( ) สูงสุดเท่ากับ 4.67 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.47 ด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.66 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.43 ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มีค่าเฉลี่ย ( ) 4.65 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.42 ตามลำดับ เป็นไปตามสมติฐานข้อที่ 1
นั่นแสดงว่า ครู และกรรมการสถานศึกษามีการรับรู้ มีความรู้ ความเข้าใจ ถึงการบริหารโดยใช้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่นำมาขับเคลื่อนบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานของครู คือ ดำเนินการปฏิบัติงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนำนวัตกรรม NRD8H สู่โรงเรียนสุขภาวะได้อย่างเชิงประจักษ์
2. การปฏิบัติงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อโรงเรียนสุขภาวะ ในองค์ประกอบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) พบว่า องค์ประกอบทั้ง 6 ด้าน ทำให้เกิดการพัฒนาครูสู่ NRD8H ที่มีผลต่อโรงเรียนสุขภาวะ และมีผลต่อการปฏิบัติงานของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77 S.D. = 0.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยที่ด้านชุมชนกัลยาณมิตร และด้านการทำงานเป็นทีม มีค่าเฉลี่ย ( ) สูงสุด เท่ากับ 4.95 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.09 รองลงมา คือ ด้านภาวะผู้นำ มีค่าเฉลี่ย ( ) สูงสุด เท่ากับ 4.71 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.47 และ ด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ย ( ) สูงสุด เท่ากับ 4.70 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.46 ตามลำดับ
ดังนั้น แสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครู สู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะของผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทำให้ครูปฏิบัติงาน NRD8H ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะสูงขึ้นจริง เป็นไปตามสมติฐานข้อที่ 2
3. การเปรียบเทียบการปฏิบัติงาน NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะก่อนและหลังการศึกษา พบว่า ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติงาน NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียน สุขภาวะ ระหว่างก่อนและหลังการศึกษา พบว่า ก่อนการศึกษา มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.38 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.31 และหลังการศึกษา มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.65 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.40 นั่นแสดงว่า ตลอดช่วงปีการศึกษา 2562 ครูมีการปฏิบัติงาน NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะได้จริง ซึ่งจะเห็นได้จากครูมีระดับการปฏิบัติงาน NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ หลังการศึกษาสูงกว่าก่อนการศึกษา นั่นแสดงว่า ตลอดช่วงปีการศึกษา 2562 ครูมีการปฏิบัติงาน NRD8H ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะได้จริง ซึ่งจะเห็นได้จากครูมีระดับการปฏิบัติงาน NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะหลังการศึกษาสูงกว่าก่อนการศึกษา และเมื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้ t-test พบว่า การปฏิบัติงาน NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ หลังการศึกษาสูงกว่าก่อนการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3
4. ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากถึงมากที่สุดเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 4 และเมื่อพิจารณาความพึงพอใจจากประชากรกลุ่มเป้าหมาย แยกเป็นรายกลุ่ม เกิดผลดังนี้
4.1 ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.46 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.44 และเมื่อวิเคราะห์ผลความพึงพอใจเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด สะท้อนผลลัพธ์ (out come) ของความสำเร็จ 5 ด้าน เช่น ผู้เรียนเป็นผู้มีวินัย รู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบ ผู้บริหารเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งสู่โรงเรียนสุขภาวะโดยจัดการเรียนโดยใช้ชีวิต ชุมชน และสิ่งแวดล้อมเป็นตัวตั้ง มีหน่วยการเรียนที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนมีการออกแบบการเรียนรู้บูรณาการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาปัญหาภายในและภายนอกจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะ
ในศตวรรษที่ 21 อีกทั้งยังจัดบรรยากาศและสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นวิถี โรงเรียนเป็นเขตปลอดเหล้า-บุหรี่ การพนันและสิ่งเสพติด และครอบครัวมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การดูแลเอาใจใส่ด้านการเรียนและพฤติกรรมด้วยวิธีเชิงบวก และชุมชนและโรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ดังกล่าว
4.2 ความพึงพอใจของครู ที่มีผลต่อโรงเรียนสุขภาวะ ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจ มากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.57 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.46 และเมื่อวิเคราะห์ผล ความพึงพอใจเป็นรายข้อ พบว่า ครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด สะท้อนผลลัพธ์ (out come) ของความสำเร็จ 5 ด้าน เช่น ผู้เรียนเป็นผู้มีวินัย รู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบ ผู้เรียนมีจิตสาธารณะ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นให้ความสนใจในการเรียน หมั่นแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งสู่โรงเรียนสุขภาวะโดยจัดการเรียนโดยใช้ชีวิต ชุมชน และสิ่งแวดล้อมเป็นตัวตั้ง มีหน่วยการเรียนที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน การบริหารจัดการโดยสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นทีมเพื่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยผู้บริหารและครูได้พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอนในทุกสัปดาห์ ครูมีการออกแบบและจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบมีส่วนร่วมอย่างหลากหลาย ใช้จิตวิทยาเชิงบวกในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่ผู้เรียนและสร้างนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้สำหรับการวัดผล ประเมินผลตามสภาพจริง มีการออกแบบการเรียนรู้บูรณาการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนา แก้ปัญหาภายในและภายนอกจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 จัดบรรยากาศและสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นวิถี มีการสร้างบรรยากาศในโรงเรียนและห้องเรียนเอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนมีระบบป้องกันภัยและมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ครอบครัวรับฟังและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนในการป้องกันความเสี่ยงต่อพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาวะ ครอบครัวมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การดูแลเอาใจใส่ด้านการเรียนและพฤติกรรมด้วยวิธีเชิงบวก ครอบครัวเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะของโรงเรียน ซึ่งชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้เรียนและชุมชนและโรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ดังกล่าว
4.3 ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีผลต่อโรงเรียนสุขภาวะ ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.56 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.41 และเมื่อวิเคราะห์ผลความพึงพอใจเป็นรายข้อ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด สะท้อนผลลัพธ์ (out come) ของความสำเร็จ 5 ด้าน เช่น ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นให้ความสนใจในการเรียน หมั่นแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ ผู้บริหารเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งสู่โรงเรียนสุขภาวะ จัดการเรียนโดยใช้ชีวิต ชุมชน และสิ่งแวดล้อมเป็นตัวตั้ง มีหน่วยการเรียนที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน การบริหารจัดการโดยสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นทีมเพื่อให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยผู้บริหารและครูได้พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอนในทุกสัปดาห์ มีการบริหารองค์กรแบบมีส่วนร่วม โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ แผนพัฒนากลยุทธ์และแผนปฏิบัติการที่มุ่งไปสู่โรงเรียนสุขภาวะและร่วมรับผิดชอบต่อผลการบริหาร ออกแบบการเรียนรู้บูรณาการ มีส่วนร่วมเพื่อพัฒนา แก้ปัญหาภายในและภายนอกจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 รวมถึงจัดบรรยากาศและสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นวิถี มีการจัดบรรยากาศในโรงเรียนและห้องเรียนเอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนมีระบบป้องกันภัยและมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ โรงเรียนมีการจัดสภาพบริเวณโรงเรียนให้มีบรรยากาศร่มรื่นและส่งเสริมการเรียนรู้ ครอบครัวรับฟังและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนในการป้องกันความเสี่ยงต่อพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาวะ ครอบครัวและโรงเรียนมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านสุขภาวะ เพื่อร่วมพัฒนาสุขภาวะผู้เรียน ครอบครัวมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การดูแลเอาใจใส่ด้านการเรียนและพฤติกรรมด้วยวิธีเชิงบวก ชุมชนมีสถานที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้และใช้ประโยชน์เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้เรียน ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้เรียนและชุมชน และโรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ดังกล่าว
4.4 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีผลต่อโรงเรียนสุขภาวะ ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.45 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.43 และเมื่อวิเคราะห์ผล ความพึงพอใจเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด สะท้อนผลลัพธ์ (out come) ของความสำเร็จ 5 ด้าน เช่น ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นให้ความสนใจในการเรียน หมั่นแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ การบริหารจัดการโดยสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นทีมเพื่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยผู้บริหารและครูได้พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอนในทุกสัปดาห์ ครูมีการออกแบบและจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบมีส่วนร่วมอย่างหลากหลาย ใช้จิตวิทยาเชิงบวกในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่ผู้เรียนและสร้างนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้สำหรับการวัดผล ประเมินผลตามสภาพจริง โรงเรียนเป็นเขตปลอดเหล้า-บุหรี่ การพนันและสิ่งเสพติดโรงเรียนมีการคัดเลือกวัตถุดิบ เครื่องดื่มและอาหารว่างที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาวะของผู้เรียน มีการจัดบรรยากาศในโรงเรียนและห้องเรียนเอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนมีระบบป้องกันภัยและมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ โรงเรียนมีการจัดสภาพบริเวณโรงเรียนให้มีบรรยากาศร่มรื่นและส่งเสริมการเรียนรู้ครอบครัวรับฟังและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนในการป้องกันความเสี่ยงต่อพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาวะ ครอบครัวและโรงเรียนมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านสุขภาวะเพื่อร่วมพัฒนาสุขภาวะผู้เรียนครอบครัวมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การดูแลเอาใจใส่ด้านการเรียนและพฤติกรรมด้วยวิธีเชิงบวก ครอบครัวเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะของโรงเรียน ชุมชนมีสถานที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้และใช้ประโยชน์เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้เรียน เปิดโอกาสให้บุคคลในชุมชนได้แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับข้อมูลเชิงสุขภาวะของผู้เรียน ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้เรียนและชุมชน และโรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ดังกล่าว