เรื่อง การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน)
โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561
ผู้วิจัย นายนิกร เชยชมศรี
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 เพื่อศึกษาการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) ก่อนและหลังการวิจัย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย อยู่ในบริบทพื้นที่บริการโรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง โดยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแยกเป็นกลุ่มเป้าหมาย คือ 1) ครู จำนวน 5 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 จำนวน 25 คน และ4) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียน
สรุปผลการวิจัย
1. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65 S.D. = 0.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ข้อ 1 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการวางแผน และ ข้อ 2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ( = 4.68 S.D. = 0.11) รองลงมา คือ ข้อ 4 การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( = 4.64 S.D. = 0.43) และ ข้อ 3 การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ( = 4.60 S.D. = 0.32) ตามลำดับเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
2. การบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71 S.D. = 0.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ข้อ 4) ครูที่ปรึกษาปฏิบัติงานด้วยความสุขและยินดีให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบช่วยเหลือนักเรียน ข้อ 11) ครูมีการปฏิบัติงานจัด-ซื้อวัสดุอุปกรณ์สำนักงานอย่างพอเพียง ข้อ 16) ครูปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีโครงสร้างการทำงานอย่างเป็นระบบ ข้อ 18) ครูปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีการวางแผนปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ ดำเนินการงานตามแผนและติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และ ข้อ 20) ครูกลุ่มบริหารงานกิจกรรมนักเรียนปฏิบัติงานได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกเป็นอย่างดี เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ ( = 5.00 S.D. = 0.00) ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ 15) ครูมีการปฏิบัติงานการบันทึกข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Scan Tool 3 และข้อ 19 ครูที่ปรึกษาปฏิบัติงานให้ความร่วมมือในการจัดทำ SAR ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ ( = 4.40 S.D. = 0.55) ตามลำดับ เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
จะเห็นได้ว่า การบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) จะสะท้อนถึงการปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพจริง
3. การปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) ที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 พบว่า ก่อนการวิจัยการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.36 S.D. = 0.29) และหลังการวิจัย อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62 S.D. = 0.42) และเมื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้ t-test พบว่า หลังการวิจัยสูงกว่าก่อนการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3 นั่นแสดงว่า การปฏิบัติงานของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน ด้านโครงสร้างงาน และ ด้านผลผลิตและบริการที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 มีผลต่อการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ครูมีความภูมิใจ มีแรงบันดาลใจ เห็นคุณค่าผู้เรียนเป็นสำคัญว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าเพื่อความเจริญของชุมชน สังคม ประเทศชาติ เกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียนเห็นประโยชน์และคุณค่าของตนเอง นำตนเองสู่การมีความพร้อมในการดำเนินชีวิตสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
4. ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 พบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง ที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 4 นั่นแสดงว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพชีวิต เกิดผลสะท้อนเชิงคุณภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียนอย่างเชิงประจักษ์ คือ นักเรียนมีความพึงพอใจในด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และเมื่อพิจารณาความพึงพอใจจากประชากรกลุ่มเป้าหมายแยกเป็นรายกลุ่ม ดังนี้
4.1 ความพึงพอใจของผู้เรียน ที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียน ที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.82 S.D. = 0.18) และเมื่อวิเคราะห์แยกเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
4.2 ความพึงพอใจของครู ที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียน ที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.85 S.D. = 0.09) และเมื่อวิเคราะห์แยกเป็นรายด้าน พบว่า ครูมีความพึงพอใจในอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน นั่นแสดงว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพชีวิต เกิดผลสะท้อนเชิงคุณภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียนอย่างเชิงประจักษ์ คือ ครูมีความพึงพอใจในด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
4.3 ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียน ที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57 S.D. = 0.17) และเมื่อวิเคราะห์แยกเป็นรายด้าน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจในอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน นั่นแสดงว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพชีวิต เกิดผลสะท้อนเชิงคุณภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียนอย่างเชิงประจักษ์ คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจในด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
4.4 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียน ที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58 S.D. = 0.41) และเมื่อวิเคราะห์แยกเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน นั่นแสดงว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพชีวิต เกิดผลสะท้อนเชิงคุณภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียนอย่างเชิงประจักษ์ คือ ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้