ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ผู้ปกครอง
มีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย นางวิไล ชลุมฟ์
โรงเรียน โรงเรียนบ้านปราสาท ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัย 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัยและ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัย แบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) สร้างรูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 26 ครอบครัว ซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่ผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญถึงแนวทางการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย แบบประเมินนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของผู้ปกครองในการใช้รูปแบบ
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า เด็กมักเลียนแบบ พฤติกรรมบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดและ
เขาชื่นชอบ ประทับใจ การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัย จึงต้องคำนึงถึงบุคคลในครอบครัว ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของเด็ก โดยเน้น การแสดงออกถึงความรักสามัคคีของคนในครอบครัว การมีส่วนร่วมและมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน การร่วม กิจกรรมการอ่าน การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่ผู้ปกครองในด้านการรักการอ่าน การจัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างนิสัยรักการอ่าน การให้กระตุ้น เสริมแรงที่เหมาะสมและการดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อให้ลูกหลานมีนิสัยรักการอ่าน
รูปแบบที่สร้างขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญ
2) หลักการทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐาน 3) วัตถุประสงค์ 4) กระบวนการจัดกิจกรรม 5) บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง 6) การประเมินความสำเร็จ โดยกระบวนการจัดกิจกรรมตามรูปแบบที่กำหนดเป็น 3 ขั้นคือ ขั้นตอนที่ 1 ครอบครัวอุ่นรักสามัคคี ขั้นตอนที่ 2 มีบรรยากาศน่าสนใจ ขั้นตอนที่ 3 ปลูกปั้นนิสัย รักการอ่าน
ผลการศึกษาพฤติกรรมการมีนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยในสัปดาห์ที่ 1 X ̅=3.48,
S.D. = 2.19 สัปดาห์ที่ 4 X ̅=3.71, S.D. = 2.55 สัปดาห์ที่ 7 X ̅=4.55, S.D. = 0.70 และสัปดาห์ ที่ 10 X ̅=4.67, S.D.= 0.85 ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นทุกระยะ และเด็กแสดงพฤติกรรมการอ่านตามตัวบ่งชี้ การมีนิสัยรักการอ่านอยู่ในระดับเป็นประจำ ส่วนผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการใช้รูปแบบ โดยเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัย
รูปแบบส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
มีการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผุ้เชี่ยวชาญทั้งด้านการใช้ภาษาความคงที่ในการใช้คำการเพิ่มแหล่งข้อมูลอ้างอิงและปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน และการนำเสนอกิจกรรมให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม