ชื่อผลงาน รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนอนุบาลบ้านด่าน
ชื่อผู้ศึกษา สุนารี คงหาญ
หน่วยงานที่สังกัด โรงเรียนอนุบาลบ้านด่าน จังหวัดระนอง
ปีการศึกษา 2563
รายงานผลการใช้นวัตกรรม
รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สา หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ
การอ่านและการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและ
การเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มนักเรียนที่ใช้การศึกษาครั้งนี้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียน
อนุบาลบ้านด่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง ที่กำลังศึกษาอยู่ใน
ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2563 จำนวน 37 คน เนื่องจากโรงเรียนได้กำหนดนโยบายการจัดชั้นเรียน
แบบคละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรง
มาตราตัวสะกด แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ
ที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรง
มาตราตัวสะกดเป็นแบบทดสอบชนิดปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อและแบบประเมินความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด เป็นแบบ
มาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่หาประสิทธิภาพของแบบฝึก
ทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตรัวสะกด โดยใช้สถิติร้อยละของคะแนนเฉลี่ย
จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (E1/E2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
นักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด
โดยใช้ Paired -Samples t-test และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่าน
และการเขียนสะกดคำ ที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด โดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่น(Cronbachs coefficient of alpha)ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ที่ไม่ตรงมาตรา
ตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและ
การเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่
ไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ใน
ระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.60