การประเมินโครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหมากหัววัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินโครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหมากหัววัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP MODEL) ตามประเด็นการประเมินคือ การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจและสะท้อนคิด(แนวทางในการพัฒนา/สิ่งที่ได้เชิงวิชาการ) ของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินการตามโครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหมากหัววัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ประชากรจำนวน 279 คนประกอบด้วย บุคลากรในโรงเรียนบ้านหมากหัววัง จำนวน 11 คน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน นักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 131 คน ผู้ปกครองนักเรียน 85 คน ชาวบ้านในเขตพื้นที่บริการที่เป็นสมาชิกสหกรณ์โรงเรียนบ้านหมากหัววัง 45 คน กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาด้วยแบบสอบถาม จำนวน 112 คน ประกอบไปด้วย คณะครูและบุคลากรในโรงเรียน จำนวน 11 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน คณะกรรมการสหกรณ์โรงเรียนจำนวน 9 คน นักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 40 คน และชาวบ้านที่เป็นสมาชิกสหกรณ์โรงเรียน จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาโดยการสัมภาษณ์ เพื่อนำข้อมูลเชิงประจักษ์มาเสริมผลการประเมินให้ชัดเจนขึ้น จำนวน 33 คนประกอบไปด้วย คณะครูและบุคลากรในโรงเรียน จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 4 คน คณะกรรมการสหกรณ์โรงเรียนจำนวน 5 คน นักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 6 ห้องละ 2 คน จำนวน 6 คน ผู้ปกครองนักเรียน ห้องละ 1 คน จำนวน 7 คน และชาวบ้านที่เป็นสมาชิกสหกรณ์โรงเรียน หมู่บ้านละ 1 คน จำนวน 5 คน โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 3) กลุ่มตัวอย่างจากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 15 คน ประกอบไปด้วย คณะครูและบุคลากรในโรงเรียน จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 2 คน คณะกรรมการสหกรณ์โรงเรียนจำนวน 3 คน นักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 6 ห้องละ 1 คน จำนวน 3 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 2 คน และชาวบ้านที่เป็นสมาชิกสหกรณ์โรงเรียน จำนวน 2 คน โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาในการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ใน การประเมินโครงการการวิเคราะห์เอกสาร แบบประเมิน จำนวน 2 ฉบับ สอบถาม จำนวน 2 ฉบับ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 2 ฉบับ แบบสะท้อนคิดจำนวน 2 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการจัดกลุ่ม
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหมากหัววัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหมากหัววัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
1.1 ผลการประเมินด้านบริบท ของโครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหมากหัววัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ โครงการมีประโยชน์และสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะชีวิต สามารถทำงานกับคนได้ภายใต้อุดมการณ์สหกรณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กิจกรรมและการดำเนินงานของโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในระดับมาก และวัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับสภาพความต้องการของโรงเรียน อยู่ในระดับมาก ลำดับต่ำสุดได้แก่ การประเมินผลโครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในระดับมาก จากการสังเคราะห์เอกสารและจากการสัมภาษณ์ พบว่า โรงเรียนบ้านหมากหัววังใช้หลักการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม โดยให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ และร่วมชื่นชมยินดี และกระบวนการดำเนินโครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร เป็นการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA ฉะนั้นโครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร จึงเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วัตถุประสงค์ของโครงการมีมีความชัดเจน และความสอดคล้องกับสภาพความต้องการของโรงเรียน นอกจากนั้นการประเมินผลโครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการกิจกรรมในโครงการสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะชีวิต และนำไปใช้ชีวิตจริงได้ตรงตามความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับคำสัมภาษณ์ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.2. ผลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหมากหัววัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ กิจกรรมสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะชีวิต สามารถทำงานกับคนอื่นได้ภายใต้อุดมการณ์สหกรณ์ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนสามารถนำกิจกรรมตามโครงการไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับมาก และกิจกรรมมีความเหมาะสมกับบริบทโรงเรียน อยู่ในระดับมาก ลำดับต่ำสุดได้แก่ ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการสหกรณ์โรงเรียน อยู่ในระดับมาก จากการสังเคราะห์เอกสารและจากการสัมภาษณ์ พบว่า โครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร โรงเรียนบ้านหมากหัววัง ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะครูได้อย่างชัดเจน และได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนการทำกิจกรรมดังกล่าว จากองค์การบริหารส่วนตำบลบุญนาคพัฒนา โรงเรียนจึงมีงบประมาณในการจัดกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะชีวิตตามเป้าหมายของโครงการอย่างเพียงพอ แต่จากการศึกษารายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report : SAR) ในปีการผ่านมา พบว่าปัญหาในการจัดกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนคือ เรื่องสถานที่ของสหกรณ์ร้านค้า ทางโรงเรียนค่อนข้างมีพื้นที่จำกัดในการจัดกิจกรรม
1.3 ผลการประเมิน ด้านกระบวนการ ของโครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหมากหัววัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมในโครงการช่วยให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน บ้านหมากหัววัง อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ มีการดำเนินกิจกรรมตามโครงการทุกกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก และการดำเนินกิจกรรมส่งผลให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ อยู่ในระดับมาก ลำดับต่ำสุด คือการให้ความรู้ ประชุมชี้แจง สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจขั้นตอนและวิธีดำเนินการ อยู่ในระดับมาก จากการสังเคราะห์เอกสารและจากการสัมภาษณ์ พบว่า ขั้นตอนในการดำเนินงานโครงการสหกรณ์โรงเรียน มีความชัดเจน และได้ดำเนินกิจกรรมที่กำหนดไว้ในโครงการครบทุกกิจกรรม โดยได้กำหนดครูที่รับผิดชอบได้ถูกต้องตรงตามความถนัดของครู มีการนิเทศติดตามจากผู้อำนวยการโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดรูปแบบการวัดและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ในการดำเนินโครงการสหกรณ์โรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมคือ ได้นำผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตทางการเกษตรมาฝากขายที่สหกรณ์โรงเรียน ตลอดจนการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของนักเรียน และเห็นพัฒนาการของนักเรียนได้อย่างชัดเจน แต่บางกิจกรรมที่โรงเรียนได้จัดทำ มีผู้ปกครองได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมการผลิต ว่าควรคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียนจากเครื่องจักร
1.4 ผลการประเมิน ด้านผลผลิต ของโครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหมากหัววัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ เรียงลำดับสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ ผลการดำเนินกิจกรรมทำให้นักเรียนมีนักเรียนมีทักษะชีวิต อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ผลการดำเนินกิจกรรมทำให้นักเรียนมีนักเรียนมีทักษะชีวิต อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการดำเนินกิจกรรมทำให้นักเรียนมีนิสัยรักการประหยัด อดออมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับต่ำสุด คือผลการดำเนินกิจกรรมทำให้นักเรียนมีการวางแผนในการใช้จ่าย และการลงทุน อยู่ในระดับมากที่สุด จากการสังเคราะห์เอกสารและจากการสัมภาษณ์ พบว่า การดำเนินกิจกรรมทำให้นักเรียนความรู้พื้นฐานเรื่องสหกรณ์และฝึกให้นักเรียนได้ ปฏิบัติจริง ทำให้นักเรียนมีการวางแผนในการใช้จ่าย และการลงทุน ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีนิสัยรักการออม มีทักษะชีวิตสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างอาชีพและมีรายได้ในชีวิตประจำวันได้ ผลการดำเนินกิจกรรมทำให้มีแหล่งเรียนรู้สหกรณ์โรงเรียนครบวงจร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน ส่งผลให้ชุมชนและหน่วยงานทางการศึกษาอื่น ขอศึกษาดูงานสหกรณ์โรงเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหมากหัววัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
2.1 ความพึงพอใจต่อโครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหมากหัววัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ของคณะครูและบุคลากรในโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และชาวบ้านที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์โรงเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงลำดับสูงสุด 3 อันดับแรกได้คือ ด้านความสำเร็จของโครงการ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมออมทรัพย์ มีความพึงพอใจในระดับมาก และด้านกิจกรรมส่งเสริมการผลิตและอาชีพมีความพึงพอใจในระดับมาก ลำดับต่ำสุดคือ ด้านสวัสดิการมีความพึงพอใจในระดับมาก
เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านกิจกรรมออมทรัพย์ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับสูงสุดไปต่ำสุดได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูทุกคนให้ความสำคัญและสนับสนุนกิจกรรมสหกรณ์ด้านออมทรัพย์ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ การจัดกิจกรรมสหกรณ์ด้านการออมทรัพย์ ผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูเป็นผู้ดำเนินการ โดยสมาชิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก และบัญชีออมทรัพย์ ทางคณะครูเป็นผู้ดำเนินการและเก็บรวบรวมไว้ โดยแจ้งให้สมาชิกรับทราบอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
ด้านกิจกรรมส่งเสริมการผลิตและอาชีพ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ สมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสหกรณ์ด้านการส่งเสริมการผลิตและอาชีพ โดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้แนะนำ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด รองลงมามีระดับความพึงพอใจมากเท่ากัน ได้แก่ โรงเรียนเปิดโอกาสให้สมาชิกยืมเงินจากกิจกรรมสวัสดิการมาใช้เป็นต้นทุนการผลิตสินค้า อยู่ในระดับคุณภาพมาก และสมาชิกสามารถนำผลผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาฝากขายกับสหกรณ์ร้านค้าได้ มีความพึงพอใจในระดับมาก และลำดับต่ำสุด ได้แก่การสหกรณ์ให้ความรู้ด้านการนำวัสดุในท้องถิ่นมาประดิษฐ์งานฝีมือแล้วนำมาจำหน่ายที่สหกรณ์ร้านค้าได้ อยู่ในระดับคุณภาพมาก
ด้านกิจกรรมร้านค้า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สมาชิกมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการในกิจกรรมสหกรณ์โดยยึดหลักประชาธิปไตย มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด รองลงมาคือ สมาชิกมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการบริหารกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด และ โรงเรียนเปิดรับสมาชิกสหกรณ์ในระยะเวลาที่จำกัด (ปีละครั้ง) มีความพึงพอใจระดับมาก และลำดับต่ำสุด ได้แก่ ทำเลและที่ตั้งอยู่ในสภาพที่สามารถปฏิบัติงานของสหกรณ์ร้านค้าได้ดีที่สุด มีความพึงพอใจระดับมาก
ด้านสวัสดิการ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ มีการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของการดำเนินงานสหกรณ์โรงเรียนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมภายในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก , และมี การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของการดำเนินงานสหกรณ์โรงเรียนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ด้านความสำเร็จของโครงการ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สหกรณ์โรงเรียนสามารถพัฒนาคุณภาพนักเรียนได้ ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ สหกรณ์โรงเรียนมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสาต่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และ สหกรณ์โรงเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาโรงเรียน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ลำดับต่ำสุด ได้แก่ ลักษณะสภาพแวดล้อมและทำเลที่ตั้งของโรงเรียนเอื้อต่อการจัดกิจกรรมสหกรณ์ มีความพึงพอใจในระดับมาก
2.2 ความพึงพอใจต่อโครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหมากหัววัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สำหรับนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือด้านกิจกรรมออมทรัพย์ รองลงมาคือ ด้านความสำเร็จของโครงการมีความพึงพอใจในระดับมาก และด้านกิจกรรมส่งเสริมการผลิตและอาชีพมีความพึงพอใจในระดับมาก ตามลำดับ ด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านสวัสดิการมีความพึงพอใจในระดับมาก
เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านกิจกรรมออมทรัพย์ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่การจัดกิจกรรมออมทรัพย์ทำให้นักเรียนรู้จักประหยัดและเก็บออม อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาเป็น ผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูทุกคนให้ความสำคัญและสนับสนุนกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนด้านออมทรัพย์ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และบัญชีออมทรัพย์ ทางคณะครูเป็นผู้ดำเนินการและเก็บรวบรวมไว้ โดยแจ้งให้สมาชิกรับทราบอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
ด้านกิจกรรมส่งเสริมการผลิตและอาชีพ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนสามารถนำผลผลิตที่มีอยู่ในบ้านมาฝากขายกับสหกรณ์ร้านค้าโรงเรียนได้ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด รองลงมาคือ โรงเรียนเปิดโอกาสให้สมาชิกยืมเงินจากด้านสวัสดิการมาใช้เป็นต้นทุนการผลิตสินค้า อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการผลิตและอาชีพทำให้นักเรียนมีนิสัยรักการทำงาน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และลำดับต่ำสุด ได้แก่การจัดกิจกรรมส่งเสริมการผลิตและอาชีพทำให้นักเรียนมีทักษะชีวิต อยู่ในระดับคุณภาพมาก
ด้านกิจกรรมร้านค้า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การจัดกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าทำให้นักเรียนรู้จักประหยัดอดออมและใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การจัดกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าทำให้นักเรียนมีการทำงานแบบร่วมมือร่วมใจกัน มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด และนักเรียนมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการในกิจกรรมสหกรณ์โดยยึดหลักประชาธิปไตย มีความพึงพอใจระดับมากและลำดับต่ำสุด ได้แก่ ทำเลและที่ตั้งอยู่ในสภาพที่สามารถปฏิบัติงานของสหกรณ์ร้านค้าได้ดีที่สุด มีความพึงพอใจระดับมาก
ด้านสวัสดิการ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ มีการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของการดำเนินงานสหกรณ์โรงเรียนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมภายในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมี การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของการดำเนินงานสหกรณ์โรงเรียนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ด้านความสำเร็จของโครงการ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนมีความสุขในการทำกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การจัดกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของนักเรียน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และ นักเรียนได้เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงในกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ลำดับต่ำสุด ได้แก่ ระบบการบริหารกิจกรรมสหกรณ์ เช่น การให้บริการที่รวดเร็ว บุคลากรผู้รับผิดชอบมีความรู้ และซื่อสัตย์สุจริต มีความพึงพอใจในระดับมาก
3.ผลการสะท้อนคิด(แนวทางการพัฒนา/สิ่งที่ได้เชิงวิชาการ) ของผู้ที่เกี่ยวข้องที่
มีต่อการดำเนินการตาม โครงการสหกรณ์โรงเรียนแบบครบวงจร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านหมากหัววัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปางสรุปได้ 3 ประเด็นดังนี้
3.1 ด้านการบริหารจัดการของโรงเรียน
3.1.1 โรงเรียนควรมีการวางแผนและการบริหารจัดการสหกรณ์โรงเรียนอย่างเป็นระบบ โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วม และสร้างความเชื่อมโยงกิจกรรมสหกรณ์ทั้ง 4 กิจกรรมเข้าด้วยกันเป็นวงจรที่สมบูรณ์
3.1.2 โรงเรียนควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมของบุคลากรสหกรณ์ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะกิจการของสหกรณ์ต้องเกิดจากความร่วมมือ ร่วมใจ ความสามัคคี การทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาของกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน ร่วมกันคิด ตัดสินใจ ร่วมลงมือปฏิบัติ ตลอดจนร่วมประเมินผลตามแผนที่วางไว้ เพราะทุกฝ่ายมีบทบาทและความสำคัญที่เป็นเหมือนแรงขับเคลื่อนซึ่งกันและกัน และควรมีโครงสร้างของคณะดำเนินงานแต่ละฝ่ายที่เข้ามาทำหน้าที่ในสหกรณ์จากทุกระดับชั้น
3.1.3 โรงเรียนควรสนับสนุนให้บุคลากรในโรงเรียน สนใจและสมัครใจเป็นสมาชิกสหกรณ์ด้วยความเต็มใจ เพื่อทุกคนจะได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและพัฒนางานสหกรณ์ไปด้วยกัน
3.1.4 โรงเรียนควรส่งเสริมให้ความรู้ โดยจัดการเรียนรู้สหกรณ์ในแต่ละระดับชั้น ตามความเหมาะสมเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน การทำงานร่วมกัน เรียนรู้จาก การปฏิบัติจริงให้สอดคล้องกับบริบทและชีวิตประจำวันรอบ ๆ ตัวของนักเรียน เพิ่มทักษะทางด้านการปฏิบัติงาน และบูรณาการได้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3.1.5 โรงเรียนควรมีแนวทางบริหารเงินทุนที่มีประสิทธิภาพ เกิดสภาพคล่อง สามารถหมุนเวียนเงินทุนสนับสนุนกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนทุกประเภทเชื่อมโยงเข้าหากันได้
3.1.6 โรงเรียนควรมีการพัฒนาบุคลากร โดยการศึกษาดูงานจากสถานอื่นที่ประสบความสำเร็จทางด้านจัดกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและชุมชนต่อไป
3.1.7 โรงเรียนควรจัดหาสถานที่อย่างเหมาะสม และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ของแต่ละฝ่ายของสหกรณ์ พัฒนารูปแบบให้ทันสมัยที่จะดึงดูดสมาชิกมาใช้บริการ
3.1.8 โรงเรียนควรมีการจำลองระบบการทำงานของธนาคารจริง ๆ ให้นักเรียน โดยอาจมีการประสานเจ้าหน้าที่ธนาคารมาให้ความรู้ และมาจัดระบบให้กับโรงเรียน
3.2 ด้านคุณภาพผู้เรียน
3.2.1 กิจกรรมร้านค้า ควรส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกความใส่ใจในสินค้าและบริการ และควรฝึกให้นักเรียนสวมบทบาทเป็นอาชีพของผู้ประกอบการทางด้านการขายอย่างครบวงจร
3.2.2 ในการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน นักเรียนจะได้รับบทบาทหน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน โดยแต่ละฝ่ายจะมีภาระที่แตกต่างกันออกไป ควรฝึกฝนนักเรียนได้คิดเอง ทำเอง โดยมีครูเป็นพี่เลี้ยง เพื่อให้นักเรียนจะเกิดทักษะการคิดต่อยอดเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้ในอนาคต
3. ด้านการมีส่วนร่วม
3.3.1 ควรดึงชุมชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนเพราะความร่วมมือระหว่างชุมชนและโรงเรียนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการร่วมกันพัฒนา ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
3.3.2 ควรมีการส่งเสริมที่สินค้าภายในชุมชนมาวางขายในสหกรณ์โรงเรียน เป็นการกระจายรายได้ให้เกิดขึ้นในชุมชน
3.3.3 ควรนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้กับนักเรียนเพื่อที่นักเรียนจะนำไปประยุกต์ใช้กับสินค้าและบริการสหกรณ์ ซึ่งสามารถปลูกฝังให้นักเรียนเกิดความรักและหวงแหนภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมที่จะสืบทอดมรดกของชุมชนให้เป็นที่รู้จักและก้าวหน้าต่อไป