เรื่องที่วิจัย การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน
อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
ผู้วิจัย นายจิรพนธ์ หีมยิ
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน อำเภอตะกั่วทุ่ง
จังหวัดพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้
โรงเรียนบ้านแหลมหิน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเศรษฐกิจ
พอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เพื่อประเมินกระบวนการ
ดำเนินงานของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัด
พังงา และเพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน
อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม
(Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ด้านกระบวนการดำเนินงาน
(Process evaluation) และด้านผลผลิต (Product evaluation) ตามรูปแบบการประเมิน CIPP
Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam, 1967)
กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู/บุคลากรและคณะกรรมการ
สถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านแหลมหิน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนรวม 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่
แบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด จำแนกตามกลุ่มของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
แบบสอบถามชุด ก. (สำหรับครู/บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษา) แบบสอบถามชุด ข.
(สำหรับนักเรียน) และแบบสอบถามชุด ค. (สำหรับผู้ปกครอง) การหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เกี่ยวกับโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้
จำนวน 5 ท่าน
ผลการวิจัย โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.83, SD = 0.77) เมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ
มากที่สุด (x̅ = 4.87, SD = 0.78) รองลงมาได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
(x̅ = 4.85, SD = 0.77) ด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.83, SD = 0.76) และ
ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.79, SD = 0.75) ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้อง
กับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายในการจัดการศึกษาของโรงเรียน และ
กิจกรรมและการดำเนินงานของโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการใน
ด้านทักษะพื้นฐานด้านการเกษตร การดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ สร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน มี
ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากันในสามอันดับแรก
เมื่อพิจารณาด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ครูหรือวิทยากรมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติ
กิจกรรมตามโครงการ สถานที่สำหรับใช้ปฏิบัติกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ
และเนื้อหาการบรรยายมีความเหมาะสมตรงกับความต้องการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากัน
ในสามอันดับแรก
เมื่อพิจารณาด้านกระบวนการดำเนินงาน พบว่า มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักเรียน
ได้ลงมือปฏิบัติจริง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
การบูรณาการตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และกิจกรรมใน
โครงการช่วยให้โรงเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนได้นำความรู้จากสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มี
ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ นักเรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ
มากที่สุด และนักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ที่สุด ตามลำดับ