1. ความสำคัญของผลงาน หรือ นวัตกรรมที่นำเสนอ
โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝังความรู้ เจตคติและพฤติกรรมทุกด้านแก่เด็ก ดังนั้น โรงเรียน จึงเป็นสถานที่ที่สำคัญมากต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค ทั้งนี้เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้าน สุขภาพที่ถูกต้องและมีสุขนิสัยที่ดีติดตัวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ (กรมอนามัย, 2553) ดังนั้นการบริหารจัดการโรงเรียน แก่นักเรียน ในโรงเรียนให้มีสุขภาพที่ดีหรือการมีสุขภาวะ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทุกฝ่ายต้อง บูรณาการความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมแม้ว่าปัจจุบัน ได้มีการริเริ่มโครงการต่างๆ มากมายเพื่อป้องกันและ แก้ปัญหาสุขภาวะแก่คนในประเทศ แต่ปัจจุบันยังคงพบปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้นในสังคมไทยตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนและเยาวชนไทย สุขภาวะจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อนักเรียน เนื่องจากสุขภาวะเป็นพื้นฐานสำหรับพื้นฐานทั้งมวล ดังนั้นหากนักเรียนขาดสุขภาวะที่ดี นักเรียนจะไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
องค์การอนามัยโลก ได้ให้ความหมายของคำว่า สุขภาวะหรือสุขภาพ คือ สภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต และทางสังคม มิได้หมายถึงเฉพาะการไม่พิการและไม่เป็นโรคเท่านั้น
เนื่องจากสภาพปัญหาของโรงเรียนบ้านตาลพร้าจากการสำรวจโดยการเยี่ยมบ้านนักเรียนพบว่านักเรียนส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย ส่งผลให้นักเรียนได้รับการดูแลเรื่องภาวะทางโภชนาการไม่ทั่วถึง และได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนตามอาหารหลัก ๕ หมู่ ที่เด็กควรจะได้รับตามวัย รวมถึงในยุคปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีมีการพัฒนาก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทำให้โทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟน สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ประกอบกับการที่นักเรียนไม่ได้รับการเอาใจใส่จากครอบครัว ทำให้นักเรียนติดโทรศัพท์มือถือ ใช้เวลากับโทรศัพท์มือถือเพิ่มมากขึ้น เมื่อนักเรียนถูกบังคับให้หยุดใช้โทรศัพท์มือถือ นักเรียนจะมีพฤติกรรมในเชิงต่อต้าน แสดงอาการหงุดหงิด มีภาวะทางอารณ์รุนแรง ไม่สนใจการเรียน ขาดความรับผิดชอบ ผลการเรียนลดลง แยกตัวจากสังคม ไม่เข้าร่วมกิจกรรมภายในครอบครัว และกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การออกกำลังกาย จึงส่งผลให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ เกิดภาวะ
ทุพโภชนาการ และด้วยความถี่คลื่นวิทยุที่ปลดปล่อยออกมาจากโทรศัพท์มือถือ อาจเป็นอันตรายต่อการพัฒนาสมองของนักเรียนอีกด้วย
จากปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านตาลพร้าได้คิดค้นนวัตกรรม BTP happy model
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสมอง
2.1.2 เพื่อจัดให้มีอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ เพียงพอ และมีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ ถูกต้องตามหลักโภชนาการในระบบ Thai School Lunch
2.1.3 เพื่อจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ
2.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1) ร้อยละ 80 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตาลพร้าได้รับการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสมอง
2) ร้อยละ 65 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตาลพร้ามีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ
3) ร้อยละ 80 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตาลพร้ามีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1) นักเรียนโรงเรียนบ้านตาลพร้าได้รับการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสมอง
2) นักเรียนโรงเรียนบ้านตาลพร้ามีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ
3) นักเรียนโรงเรียนบ้านตาลพร้ามีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี