ชื่อเรื่อง รายงานผลการบริหารการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) โรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก (โพธาภิรมย์) ชื่อผู้รายงาน นายสุวิทย์ โคตวงษ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ชำนาญการ ปีการศึกษา 2563
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานเรื่อง รายงานผลการบริหารการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Dis- tance Learning Television : DLTV) โรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก (โพธาภิรมย์) มีวัตถุประสงค์การศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) โรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก(โพธาภิรมย์) 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนโดย ช้การศึกษาทาง ไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) โรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก(โพธาภิรมย์) 3) เพื่อ ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Dis- tance Learning Television : DLTV) โรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก(โพธาภิรมย์) กลุ่มตัวอย่างใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก(โพธาภิรมย์) สภานักเรียน และเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก (โพธาภิรมย์) ใช้เทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มกลุ่ม ตัวอย่างแบบแบ่งประเภท (Stratified Random Sampling) ด้วยการเทียบสัดส่วนกลุ่มตัว อย่างจาก ประชากร 4 กลุ่ม จากประชากร 64 คน ผู้ศึกษาได้คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตาราง Krejcie และ Morgan กำหนด ให้สัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชากรเท่ากับ 0.5 ระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% และระดับความ เชื่อมั่น 95% ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แล้วจึงใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) คือ ครูและบุคลากร จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก(โพธาภิรมย์) จำนวน 8 คน สภา นักเรียน จำนวน 13 คน เครือข่ายผู้ปกครองจำนวน 26 คน จำนวน กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 56 คน
ผลการศึกษา พบว่า 1. การศึกษาการบริหารจัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) โรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก (โพธาภิรมย์) ได้ดำเนินงานตามแนวคิดวงจรคุณภาพ (PDCA) ซึ่ง โรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก(โพธาภิรมย์) เป็นโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต 2 ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตั่งแต่ระดับอนุบาลปีที่ 2 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน ชุมชนวัดบ้านเลือก (โพธาภิรมย์) จัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม(DLTV) เพื่อแก้ไขปัญ หาการขาดแคลนครูและครูที่สอนไม่ตรงวิชาเอก ผู้บริหาร คณะครู บุคลากร ผู้ปกครอง สภานักเรียนและคณะ กรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก (โพธาภิรมย์) ได้มีการประชุมวางแผนร่วมกันในการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียน มีคุณภาพ ประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยโรงเรียน ชุมชนวัดบ้านเลือก (โพธาภิรมย์) มีการกำหนดขั้นตอนวางแผนการดำเนินการจัดการเรียนการสอน โดยใช้การ ศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโดยนำรูปแบบของวงจรคุณภาพ (PDCA) มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ดังราย ละเอียดขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 การเตรียมการวางแผน ดำเนินการดังนี้ 1.1. แต่งตั้งครูผู้สอนแต่ละระดับชั้น เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ ตามขอบข่ายงาน 4 ฝ่ายของโรงเรียน 1.2. จัดสภาพห้องเรียนและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้การศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียม (DLTV) 1.3. ดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาว เทียมควบคู่กับวังไกลกังวลและของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 อย่างมีประสิทธิภาพ 1.4. คณะครูสรุป และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารโรงเรียน และโรงเรียนรายงานการ ดำเนินงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ต่อไป 1.5. โรงเรียนวางแผนการวิเคราะห์การดำเนินงาน และการวางแผนการสรุปผลร่วมกันในทุก ๆ สิ้นภาคเรียน และสิ้นปีการศึกษาเพื่อหาแนวทางนำผลการดำเนินงานที่ได้ไปปรับปรุง พัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการการจัดการเรียนการสอนต่อไป 1.6. โรงเรียนได้ดำเนินการวางแนวทางประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียมให้คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนทราบร่วมกัน ขั้นที่ 2 การดำเนินการขับเคลื่อน โรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก(โพธาภิรมย์) ดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนด้วยการศึกษาทาง ไกลผ่านดาวเทียม โดยได้นำเอาแนวทางการดำเนินงานจัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ให้ได้มาตรฐานของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ และศูนย์พัฒนาคุณภาพ การศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นปัจจัยนำไปสู่ ความสำเร็จมาเป็นแนวทางใช้ในการดำเนินงานในโรงเรียน โรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก(โพธาภิรมย์) ได้ดำเนินงาน การจัดการเรียนการสอนด้วยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยเน้นความสำคัญที่ปัจจัย 3 ด้าน คือ 1) ปัจจัย ด้านพื้นฐาน 2) ปัจจัยด้านผู้บริหารจัดทำ และ 3) ปัจจัยด้านครูและบุคลากรนำไปปฏิบัติ ซึ่งรายระเอียดนำสู่การ ปฏิบัติดังนี้
ปัจจัยด้านพื้นฐาน
1. สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและภายในห้องเรียนต้องสะอาดและเป็นระเบียบ
2. โทรทัศน์ขนาดเหมาะสมกับห้องเรียนและจำนวนนักเรียนติดตั้งโทรทัศน์ให้มีความสูงเหมาะสม กับระดับสายตานักเรียน
3. บทบาทของครูต้องเอาใจใส่กำกับดูแลช่วยเหลือนักเรียนก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียน
ปัจจัยด้านผู้บริหารจัดทำ
1. ผู้บริหารโรงเรียนต้องวางแผนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบส่งเสริม สนับสนุนการจัดการ เรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมอย่างจริงจังและอำนวยความสะดวกให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
2. ผู้บริหารโรงเรียนต้องเป็นผู้นำด้วยความมุ่งมั่นและนำพาครูทุกคน ทุกฝ่ายตระหนักเห็นความ สำคัญและให้ความร่วมมือดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่อง
3. ผู้บริหารโรงเรียนต้องจัดหาเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมและโทรทัศน์ขนาดเหมาะสมกับห้อง เรียนและจำนวนนักเรียน ติดตั้งโทรทัศน์ให้มีความสูงเหมาะสมกับระดับสายตานักเรียน
4. ผู้บริหารโรงเรียนต้องจัดหาคู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
5. ผู้บริหารโรงเรียนต้องนิเทศและติดตามการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างสม่ำเสมอ ปัจจัยด้านครูและบุคลากรนำไปปฏิบัติ
1. ครูต้องจัดสภาพห้องเรียนให้เหมาะสม เอื้อต่อการปฏิบัติกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้
2. ครูต้องเตรียมการสอนล่วงหน้าทั้งสื่อ/วัสดุ/อุปกรณ์/ใบงาน/ใบความรู้และกิจกรรมเสริมตาม ที่คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมกำหนด รวมทั้งมอบหมายงานให้นักเรียนเตรียมพร้อมในการเรียนครั้งต่อไป
3. ครูต้องร่วมจัดการเรียนรู้ไปพร้อมกับครูโรงเรียนต้นทางและต้องเอาใจใส่ กำกับ ดูแล แนะนำ นักเรียนให้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนทุกครั้ง
4. ครูต้องสรุปสาระสำคัญร่วมกับนักเรียนหลังจากกิจกรรมการเรียนรู้สิ้นสุดลงและบันทึกผลการ จัดการเรียนรู้หลังสอนทุกครั้ง
5. ครูต้องวัดและประเมินผล เมื่อกิจกรรมการเรียนรู้สิ้นสุดในแต่ละครั้งแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ทำให้ทราบว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่เพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
6. ครูต้องจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริมนอกตารางออกอากาศเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ไม่บรรลุจุด ประสงค์การเรียนรู้หรือให้ความรู้เพิ่มเติมแก่นักเรียน ขั้นที่ 3 การตรวจสอบและประเมิน 1. โรงเรียนมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน ดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์นักเรียนกลางปี/ปลายปีในระดับโรงเรียน ประเมินในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและ ระดับชาติ 2. โรงเรียนนำผลการประเมินผลสัมฤทธิ์นักเรียนในระดับต่าง ๆ มาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน พัฒนาต่อไป 3. โรงเรียนใช้เครื่องมือและวิธีการตรวจสอบประเมินผลการเรียนรู้ที่เหมาะสม และมีการปรับ ปรุงและพัฒนาเครื่องมือในการประเมินทุกปีการศึกษา 4. ส่งเสริมให้ครูสอนเสริมรายบุคคลให้กับนักเรียนที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมในแต่ละรายวิชา 5. นิเทศการการจัดการเรียนการสอนของครูภาคเรียนละ 1 ครั้ง ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ และบันทึกหลังสอนของครูเพื่อนำข้อมูลมาเป็นแนวทางช่วยเหลือและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ขั้นที่ 4 การพัฒนา ทบทวนและปรับปรุง 1. โรงเรียนดำเนินการวิเคราะห์ผลจากรายงานประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูที่สอนโดยใช้ DLTV เพื่อพัฒนาให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น 2. ผู้บริหารคอยให้คำปรึกษา แก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนแก่คณะครูในการจัดการศึกษา ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) 3. โรงเรียนส่งเสริมใช้สื่อเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน
4. โรงเรียนสร้างเครือข่ายในการนิเทศการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาว เทียม (DLTV) 5. สนับสนุนให้ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัด การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของโรงเรียน 2. การวิเคราะห์ข้อมูลผลการบริหารการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Dis tance Learning Television : DLTV) โรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก(โพธาภิรมย์) โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับดีมาก พิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ด้านการพัฒนาทบทวน และปรับปรุงอยู่ในระดับดี มาก (x ̅=4.76) รองลงมา คือ ด้านการเตรียมการวางแผน ซึ่งเท่ากับด้านการดำเนินการขับเคลื่อนอยู่ในระดับ ดีมาก (x ̅=4.68) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการตรวจสอบ และประเมินอยู่ในระดับดีมาก (x ̅=4.64) ผลการศึกษาเป็นรายด้านมีดังนี้ 2.1) ด้านการเตรียมการวางแผน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีคะแนนเฉลี่ย 3 ลำดับ คือ โรงเรียนมีการแต่งตั้งครูผู้สอน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้าน ต่างๆ อย่าง เป็นระบบอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.78) รองลงมา คือ โรงเรียนจัดสภาพห้องเรียนและบรรยากาศ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) อยู่ในระดับมากที่สุด ((x ) ̅= 4.75) และโรงเรียนมีการประชุมวางแผนหาแนวทางสรุปและการดำเนินการรายงานผลอย่างเป็นระบบอยู่ในระดับมากที่ สุด (x ̅=4.70) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนเตรียมแผนการวิเคราะห์ เตรียมเครื่องมือการวัด การประ เมินและการสรุปผลให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพื่อใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนต่อไปในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.55) 2.2) ด้านการดำเนินการขับเคลื่อนโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีคะแนนเฉลี่ย 3 ลำดับแรก คือ ผู้บริหารโรงเรียนได้จัดหาคู่มือการจัดการเรียนการ สอนทางไกลผ่านดาวเทียมให้กับครูครบทุกชั้นเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.90) รองลงมา คือ โรงเรียนมีโทร ทัศน์ขนาดเหมาะสมกับห้องเรียนและจำนวนนักเรียน มีการติดตั้งโทรทัศน์มีความสูงเหมาะสมกับระดับสายตาของ นักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.83) และผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำด้วยความมุ่งมั่นและนำพาครูทุกคนทุกฝ่าย ตระหนักเห็นความสำคัญ และให้ความร่วมมือดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่องอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.82) เท่า กันกับข้อที่ครูทุกคนเอาใจใส่ กำกับ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนอยู่ในระดับ มากที่สุด (x ̅= 4.82) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ครูร่วมจัดการเรียนรู้ไปพร้อมกับครูโรงเรียนต้นทางและเอา ใจใส่ กำกับ ดูแล และคอยแนะนำนักเรียนให้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนอย่างใกล้ชิดในระดับมากที่สุด (x ̅=4.46) 2.3) ด้านการตรวจสอบและประเมิน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีคะแนนเฉลี่ย 3 ลำดับแรก คือ โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการวัดผลประเมินผลการจัดการ เรียนการสอนและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้วัดผลและประเมินผลอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.70) รองลงมา คือ โรงเรียนวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามเครื่องมือที่โรงเรียนสร้างขึ้นและวัดผล ประเมินผลตาม เครื่องมือของเขตพื้นที่และระดับชาติอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.67) เท่ากับโรงเรียนปรับเกณฑ์การวัดผล และ ประเมินผลให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2029 ในปัจจุบันอยู่ในระดับมากที่สุด ((x ) ̅= 4.67) และผู้บริหารตรวจสอบการปฏิบติงานของครูจากบันทึกการสอน เพื่อเป็นแนวทางช่วยเหลือและเสนอ แนะการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไปอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.66) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียน สร้างเครื่องมือที่มีคุณภาพในการวัดผลประเมินผลและมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมืออยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.55) 2.4) ด้านการพัฒนา ทบทวนและปรับปรุง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีคะแนนเฉลี่ย 3 ลำดับแรก คือ ผู้บริหารคอยให้คำปรึกษาแก้ปัญหาการจัดการ เรียนการสอนให้กับคณะครูในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) อยู่ในระดับมากที่สุด ((x ) ̅= 4.83) รองลงมา คือ โรงเรียนมีเครือข่ายในการนิเทศการจัดการเรียนการสอน โดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.80) และผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา การจัดการ ศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.76) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ย ต่ำสุด คือ โรงเรียนใช้สื่อเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูล และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.71) 3. สภาพปัญหา และข้อเสนอแนะการบริหารการจัดการเรียนการสอน โดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาว เทียม (Distance Learning Television : DLTV) โรงเรียนชุมชนวัดบ้านเลือก (โพธาภิรมย์) ในแต่ละด้านสรุปได้ ดังนี้ 3.1) ด้านการเตรียมการวางแผน คือ ควรมีการวางแผนจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงสภาพ ปัญหาการสอนระหว่างโรงเรียนต้นทางและโรงเรียนปลายทาง นอกจากนั้นควรมีการวางแผนพัฒนาครูและบุคลา กรเพื่อแก้ปัญหาการใช้สื่อการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม(DLTV) ในโรงเรียนและควรมีการ วางแผนการจัดกิจกรรมสอนเสริมนอกตารางเรียน 3.2) ด้านการดำเนินการขับเคลื่อน คือ ควรมีการดูแลติดตามให้ครูจัดเตรียมเอกสารใบงานตาม คู่มือครูพระราชทานอย่างชัดเจนและเป็นระบบเพื่อความมีประสิทธิภาพ ร่วมทั้งควรมีการกำกับ ติดตามให้คำแนะ นำการ ใช้ DLTV จากทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนควรจัดให้มีรายละเอียดข้อมูลของนักเรียนที่ ต้องพัฒนาและสอนซ่อมเสริมเพิ่มเติม 3.3) ด้านการตรวจสอบและประเมิน คือ ควรมีการติดตามการวัดและประเมินผลโดยใช้ DLTV เพื่อประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างชัดเจนและเป็นระบบนอกจากนั้นควรสนบัสนุนให้ครูดำเนินการพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคลโดยใช้ฐานข้อมูลจากการทดสอบระดับชาติ และควรติดตามการซ่อมเสริมให้นักเรียนที่ไม่ ผ่านการ ประเมินเป็นรายบุคคล 3.4) ด้านการพัฒนา ทบทวนและปรับปรุง คือ ควรมีระบบกากับติดตามและการสะท้อนผลที่มี ประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ ควรนิเทศการใช้เครื่องมือและวิธ๊ประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ DLTV ของครูเป็นราย บุคคลและควรสนับสนุนให้ครูสร้างนวัตกรรมที่มุ่งพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ DLTV