การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 สุรินทร์วิทยาคม สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2563 เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1) การวิจัย (research) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบริบทของการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
2) การพัฒนา (development) เป็นการสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) การวิจัย (research) ศึกษาผลการทดลองการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 4) การพัฒนา (development)เพื่อศึกษาความพึงพอใจสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 ของโรงเรียนเทศบาล 1 สุรินทร์วิทยาคม สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 26 คน แบบแผนในการวิจัย ใช้การทดลองแบบ pre experimental design โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นแผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 15 แผน 2) แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เป็นแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน อายุ 5-6 ปี ลักษณะข้อสอบเป็นสถานการณ์ประกอบรูปภาพ 4 ชุด จำนวน 20 ข้อ ประกอบด้วย ชุดที่ 1 ทักษะการสังเกต ชุดที่ 2 ทักษะการจำแนกประเภท ชุดที่ 3 ทักษะการวัด ชุดที่ 4 ทักษะการสื่อความหมาย 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจในการเรียน เป็นแบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 1 ชุด 10 ข้อการวิจัยครั้งนี้ มุ่งพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย โดยการศึกษาความคิดเห็นและข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ แล้วนำมาพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ มีเนื้อหา จำนวน 3 หน่วย 15 กิจกรรม คือ หน่วยที่ 1 หน่วย สัมผัสนิดคิดเรียนรู้ กิจกรรมที่ 1 ตาของฉันนั้นสดใส กิจกรรมที่ 2 จมูกมีไว้ใช้ดมกลิ่น กิจกรรมที่ 3 หูฟังเสียงให้ได้ยิน กิจกรรมที่ 4 ลิ้นชิมรสให้รู้ดี กิจกรรมที่ 5 มือไว้คลำทำให้รู้ หน่วยที่ 2 หน่วยคุณหนูรักต้นไม้ กิจกรรมที่ 6 ต้นไม้นี้เป็นที่รัก กิจกรรมที่ 7 ปลูกผักนะคุณหนู กิจกรรมที่ 8 รากดูดน้ำเลี้ยงต้นใบให้เชิดชู กิจกรรมที่ 9 มาเรียนรู้ใบไม้ใช้เป็นยา กิจกรรมที่ 10 สีสันสวยปลอดภัยใครช่างคิด หน่วยที่ 3 หน่วยน้ำแสนวิเศษ กิจกรรมที่ 11 ช่วยบอกนิดน้ำมาจากแห่งไหน กิจกรรมที่ 12 จมหรือลอยพิสูจน์หน่อยเป็นไร กิจกรรมที่ 13 น้ำเปลี่ยนไปตามรูปร่างช่างอัศจรรย์ กิจกรรมที่ 14 น้ำฟองสบู่ดูเพลินเกินเสกสรร กิจกรรมที่ 15 น้ำมีคุณต่อเรามากมายครัน ซึ่งในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยส่วนหน้า ได้แก่ คำนำ วัตถุประสงค์ การออกแบบการเรียนรู้ คำชี้แจงในการใช้คู่มือครู บทบาทของครู แผนการจัดประสบการณ์ คู่มือการประเมิน แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่าง ภาพสถานการณ์ประกอบคำถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณาความและตาราง
สรุปผลการวิจัย
จากการวิจัยครั้งนี้สามารถสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบริบทของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
1.1 ผลการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีความเหมาะสมที่จะนำไปจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี เพราะการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สามารถช่วยพัฒนาทักษะการเรียนได้และยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่ครู นอกจากนี้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ ยังสามารถประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
1.2 ผลการวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 พบว่า หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เป็นหลักสูตรที่พัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพภายใต้บริบทของสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้พัฒนาเด็กไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม นอกจากนี้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 6 ปี มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหวและรักการออกกำลังกาย ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและความเป็นไทย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้ ผลการศึกษาความคิดเห็นและความต้องการของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 กิจกรรมการวัดผลและประเมินผล พบว่า ผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นว่า การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มีตัวอย่าง ลักษณะของกิจกรรมที่ชัดเจน รูปภาพสวยสีสันเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย นอกจากเนื้อหาในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 แล้วควรเพิ่มเติมหรือแทรกเนื้อหาให้สอดคล้องกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันในทุกกิจกรรมทั้ง 15 กิจกรรม ด้านการนำการจัดประสบการณ์กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ โดยการจัดเป็นกลุ่ม 4-5 คน เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ เรียนรู้ด้วยตนเองเป็นรายบุคคล เรียนรู้แบบกลุ่มย่อย 2 คน มีการวัดผลและประเมินผลครอบคลุมด้านความรู้ ทักษะกระบวนการและเจตคติ โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เช่น หน่วยสัมผัสนิดคิดเรียนรู้ เรื่องที่ 1 การมองเห็น กิจกรรมตาของฉันนั้นสดใส เครื่องมือที่ใช้ เพลงตา เครื่องเคาะจังหวะ ปริศนาคำทาย ไม้บล็อก กระจก กล่อง ไฟฉาย เทปกาว กระดาษ A4 สีน้ำ พู่กัน นอกจากนี้การจัดกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมก็จะใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ที่สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมในแต่ละชุด
2. ผลการพัฒนา (development) การสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า
2.1 ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.97 / 82.79 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2.2 การเปรียบเทียบการประเมินทักษะก่อนการพัฒนาและหลังการประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีค่า t เท่ากับ 10.83*
3. ผลการทดลองพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 สุรินทร์วิทยาคม สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสุรินทร์ จำนวน 26 คน ซึ่งใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ จำนวน 15 ชั่วโมง ไม่รวมประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ผลการทดลองใช้ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ มีความสนใจ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ มีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความสุข สนุกกับการเรียน มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการที่นำมาทดลองใช้ นำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาประกอบการเรียนรู้
4. ผลการประเมินความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.52 , S.D.= 0.69) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69 แสดงว่า นักเรียนมีความพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อนักเรียนมีความพึงพอใจมาก จำนวน 6 ข้อ พึงพอใจปานกลาง จำนวน 4 ข้อ